สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE การจดทะเบียนรับรองบุตร ขณะที่บุตรไม่อาจให้ความยินยอมได้เองต้องมีคำพิพากษาของศาล คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ข้อ ๑. ผู้ร้องเป็นบิดาของเด็กชายอาทิตย์ ซึ่งเกิดกับ นางสาวลำดวน ภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กล่าวคือ ผู้ร้องได้สมรสกับ นางสาวลำดวน เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จึงเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อสายตาของสาธารณชนทั่วไป ว่าเป็นสามีภริยากัน ในระหว่างอยู่กินด้วยกันนั้นได้มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือ เด็กชายอาทิตย์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๘ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑ ปัจจุบันผู้ร้องอยู่กินร่วมบ้านเรือนเดียวกับนางสาวลำดวน และร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์ตลอดมา โดยผู้ร้องยอมให้ระบุในสูติบัตรว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เยาว์ ให้เรียกพ่อ แสดงออกเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าผู้ร้องและเด็กชายอาทิตย์ เป็นบิดาและบุตรของกันและกัน ข้อ ๒. ผู้ร้องมีความประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตรรับเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องและให้ผู้เยาว์ใช้นามสกุลของผู้ร้อง โดยที่นางสาวลำดวน ให้ความยินยอมและเห็นชอบด้วย ผู้ร้องและนางสาวลำดวน ได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่จัดการให้ไม่ได้ โดยแจ้งว่าผู้เยาว์มีอายุน้อยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ความยินยอมได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งศาลอนุญาตให้จดทะเบียนได้ไปแสดงเสียก่อนจึงจะจัดการให้ได้ ด้วยเหตุผลดังได้กราบเรียนมาข้าต้น จึงขอความกรุณาต่อศาลขอได้โปรดไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อไปด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ลงชื่อ........นายทองดี........ผู้ร้อง ลงชื่อ.........ลีนนท์...... ผู้เรียงและพิมพ์
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบิดาของเด็กชายเจริญวุฒิ ..... อันเกิดจากนางฉวีวรรณ ..... ภริยาโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กชายเจริญวุฒิเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2513 และในวันเดียวกันนั้นนางฉวีวรรณได้ถึงแก่กรรม ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2515 โจทก์ได้ขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายเจริญวุฒิ เป็นบุตร และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่นายทะเบียนได้จดทะเบียนการรับรองบุตรดังกล่าวให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 เป็นน้องสาวของนางฉวีวรรณ เป็นน้าของเด็กชายเจริญวุฒิและเป็นผู้อุปการะเลี้ยงเด็กชายเจริญวุฒิมาตั้งแต่เกิด และวินิจฉัยว่าโดยสายโลหิตแล้ว โจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กชายเจริญวุฒิ และโจทก์ยังได้จดทะเบียนรับรองว่าเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรของตนอีกชั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายเจริญวุฒินับแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 และเป็นผู้ปกครองเด็กชายเจริญวุฒิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตรคือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรมาให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4) ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิ เป็นบุตรโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ทั้งเจ้าหน้าที่ก็มิได้แจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็ก การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรของโจทก์จึงขัดต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าขณะโจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรนั้น นางฉวีวรรณมารดาเด็กชายเจริญวุฒิได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว และขณะนั้นเด็กชายเจริญวุฒิก็มีอายุเพียง 1 ปีเศษ นางฉวีวรรณและเด็กชายเจริญวุฒิจึงไม่อาจคัดค้านหรือให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนนั้นได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 จึงฟังได้ว่าการจดทะเบียนรับรองบุตรของโจทก์สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(3) การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการที่จะต้องทำเอง เฉพาะตัวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมยแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 23 ดังนั้น แม้บิดาเด็กจะยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดาเด็กก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมของตนเองก่อนเช่นเดียวกับกรณีมารดาเด็กที่จะให้ความยินยอมต่อนายทะเบียนก็เป็นการที่ต้องทำเองเฉพาะตัวด้วยเช่นกัน มารดาเด็กแม้จะเป็นผู้เยาว์ก็ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใดอีก (4) การนำคดีมาสู่ศาลนั้น อาจฟ้องเด็กเป็นจำเลยได้ ในกรณีที่เด็กยังไม่รู้เดียงสาที่จะให้ความยินยอมได้ ก็ทำเป็นคำร้องขอต่อศาลก็ได้ เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตน และแม้บิดาเด็กจะยังเป็นผู้เยาว์อยู่ก็สามารถฟ้องคดีหรือร้องขอต่อศาลได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาของตนด้วย
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2521 ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า "บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาอาจคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ใช่บิดา ในกรณีเช่นนั้นการจดทะเบียนว่าเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" วรรคสองบัญญัติว่า "เมื่อเจ้าหน้าที่ได้แจ้งความการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาถ้าไม่คัดค้านภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรู้หรือควรรู้แจ้งความนั้น ให้ถือว่าเด็กและมารดายินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายกำหนดเวลานั้นเป็นหกเดือน" และตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 19 ได้บัญญัติวิธีการที่นายทะเบียนจะจดทะเบียนในกรณีที่บิดาร้องขอรับรองบุตรไว้ว่า ในกรณีที่บุตรหรือมารดาคัดค้านการขอรับรองบุตร ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียน เว้นแต่ศาลมีคำสั่ง กับกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 ได้กำหนดให้ที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอเป็นสำนักทะเบียน ให้นายอำเภอเป็นนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอฯ ตามกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิดก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อสำนักทะเบียน เมื่อเด็กและมารดาเด็กยินยอม นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให้ แต่ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะมีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลยขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน ให้เด็กและมารดาเด็กไปให้ความยินยอมในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อนายทะเบียนเสียก่อนและถูกเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านแล้ว บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาล คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าโจทก์ประสงค์จะจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และใช้อำนาจปกครอง แต่จำเลยไม่ยินยอม ทั้งการนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสต่อนายทะเบียนแล้วและเด็กชายโอภาสหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียน ดังนั้น ข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาขึ้นเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และเมื่อโจทก์จำเลยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเด็กชายโอภาสจึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและอำนาจปกครองตกอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดา จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์มอบเด็กชายโอภาสคืนแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับแล้ว และขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น โจทก์ที่ 3 มีอายุประมาณ 5 เดือน คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามว่า การให้ความยินยอมของโจทก์ที่ 2 ที่จะเป็นผลให้โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 3 จะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรกบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 มาตรา 32 โดยข้อความเดิมได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมว่าการที่บิดาจะจดทะเบียนบุตรนอกกฎหมายให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย จะกระทำได้ต่อเมื่อทั้งเด็กและมารดาเด็กให้ความยินยอมมิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาดังบัญญัติไว้เดิม นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ไว้ในวรรคสามและวรรคสี่โดยวรรคสามว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" และวรรคสี่ว่า "เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้" อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่า ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1548 วรรคแรก ประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว จึงได้บัญญัติทางแก้ไขในกรณีเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าวมาแล้ว ที่โจทก์ทั้งสามฎีกาอ้างว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 2 จึงให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ได้นั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่ 2 ทำการแทนโจทก์ที่ 3 ในกรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น กรณีที่โจทก์ที่ 3 ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรกเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสามฟังไม่ขึ้น" แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540 การที่ผู้ร้องประสงค์จะจดทะเบียนรับเด็กชาย ว. อายุ 3 ปี เป็นบุตรของผู้ร้อง แต่เด็กชาย ว. ยังไร้เดียงสา ไม่สามารถให้ความยินยอมได้นั้น ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับเด็กชาย ว. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องได้ ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า มาตรา 1549 เมื่อนายทะเบียนได้แจ้งการขอจดทะเบียนขอรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไปยังเด็กและมารดาเด็กตามมาตรา 1548 แล้ว ไม่ว่าเด็กหรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1548 หรือไม่ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งการขอจดทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งให้นายทะเบียนจดบันทึกไว้ได้ว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด สำหรับกรณีที่บิดาเด็กไปขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตน แต่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่า ไม่ใช่บิดา บิดาผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำคดีมาสู่ศาลโดยฟ้องเด็กหรือมารดาเด็กเป็นจำเลย ในกรณีนี้เด็กหรือมารดาเด็กอาจขอให้ศาลพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นก็ได้ว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแม้จะเป็นบิดาของเด็ก ก็เป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2499 ศาลฎีกาได้นั่งฟังคำแถลงการณ์ของทนายฝ่ายจำเลย และได้ประชุมปรึกษาคดีนี้แล้ว ปัญหาที่ว่าโจทก์หรือจำเลยสมควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชายประกอบเกียรติ์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าตามธรรมดาแล้วอำนาจปกครองอยู่แก่บิดา แต่ในบางกรณีศาลอาจสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) ตามธรรมดามารดาผู้ให้กำเนิดแก่บุตร ย่อมจะมีความรักในบุตรของตนยิ่งกว่าผู้อื่น หากจะให้เด็กชายประกอบเกียรติ์อยู่กับจำเลย ๆ ก็ต้องเอาไปให้บิดามารดาจำเลยหรือพี่สาวจำเลยเลี้ยงดู ซึ่งอย่างไรก็ไม่อบอุ่นเท่ากับอยู่กับมารดาเอง พิเคราะห์ถึงฐานะโจทก์จำเลยก็ไม่ผิดอะไรกัน และไม่มีเหตุผลอะไรที่จะให้เห็นว่าถ้าอยู่กับจำเลยแล้วเด็กจะได้รับการอบรมดีกว่าอยู่กับโจทก์ดังที่จำเลยอ้างเมื่อพิเคราะห์ถึงความผาสุขอันจะมีแก่เด็กทั้งในปัจจุบันและอนาคตประกอบด้วยแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าควรให้อำนาจปกครองอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจะดีกว่า ส่วนข้อที่ว่าจำเลยควรจะจ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กสักเท่าใดนั้นศาลฎีกาเห็นว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นกะให้เป็นรายปีนั้น เมื่อถัวเฉลี่ยเป็นรายเดือนแล้ว เดือนหนึ่งก็ตกไม่เท่าไร ไม่เกินกว่าที่จำเลยจะอุปการะได้ ศาลฎีกาจึงเห็นว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นจำนวนสมควรแล้ว คดีฟ้องขอให้รับรองว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย, 1. กรณีเด็กมีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถฟ้องคดีแทนเด็กได้ รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม ด้วย ในกรณีที่มารดาของเด็กไม่อาจทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนได้เช่นกัน ปัจจุบันมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1557 เป็นว่า เมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรของชายแล้ว เด็กจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิด เพียงแต่จะนำมาอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาที่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรไม่ได้ ผลดังกล่าวทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายคือ คดีฟ้องศาลขอให้บุตรนอกกฎหมายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น ไม่ต้องแยกเป็นคดีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรคดีหนึ่ง เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงมาฟ้องเป็นคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ โดยโจทก์สามารถฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมมาในคดีเดียวกันโดยถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน สามารถฟ้องรวมมาเป็นคดีเดียวกันได้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งมีอายุความ 5 ปี การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงย้อนหลังไปถึงวันที่บุตรเกิดนั้น จะย้อนหลังจากวันฟ้องคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้เพียง 5 ปี เท่านั้น จดทะเบียนรับรองบุตร ทำไมต้องจดทะเบียนรับรองบุตร ในเมื่อในสูติบัตรของบุตรก็แสดงโดยแจ้งชัดระบุชื่อบิดาแล้วว่าเป็นพ่อในเอกสารราชการ ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สำนักงานทนายความ โดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับฟ้องคดีครอบครัว เช่น ฟ้องหย่าโดยความยินยอม ฟ้องหย่าตามบันทึกข้อตกลง ฟ้องหย่าให้โจทก์แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ฟ้องหย่าให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องหย่าเรียกคืนของหมั้น ฟ้องหย่าแบ่งสินสมรส ฟ้องหย่าอ้างเหตุอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น ฟ้องหย่าอ้างเหตุเป็นชู้หรือมีชู้ ฟ้องหย่าอ้างเหตุร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ บริการของ สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ รายชื่อสำนักงานทนายความ,และ ทนายความ สำนักงานกฎหมายและบัญชี อินเตอร์ คอนซัลแตนท์ บริษัท กฎหมายเมืองทอง จำกัด บริษัท ศักยภาพกฎหมายและธุรกิจ จำกัด บริการทวงถามจัดเก็บหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ - ฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย ฯลฯ สำนักงานกฎหมาย อัมรา สามนกฤษณะ ทนายความ ที่อยู่ - 135/27 หมู่ 12 หมู่บ้านลิขิต 7 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540 บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ดนัยและเพื่อน สนง ทนายความ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักงานสหนนท์กฎหมายและธุรกิจ |
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |