

ติดต่อเรา โทร. 085-9604258
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าระหว่างคู่หย่าในเรื่องแบ่งสินสมรสระบุว่าให้คู่หย่าฝ่ายชายดำเนินการกับสินสมรสและภาระหนี้สินให้เรียบร้อยหากมีเงินเหลือให้ยกให้แก่บุตร ต่อมาคู่หย่าฝ่ายชายทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเก็บค่าเช่ากับจำเลยที่ 2 ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิในการเก็บค่าเช่าห้องพักซึ่งเป็นสินสมรสของคู่หย่าทั้งสอง โดยคู่หย่าฝ่ายหญิงไม่ทราบเรื่องและไม่ได้ให้ความยินยอม สัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันคู่หย่าฝ่ายหญิงและบุตร (ฎีกาที่ 1140-2559)
โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางบุญมีซึ่งเกิดกับจำเลยที่ 1(เป็นบิดา) โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางบุญมีตามคำสั่งศาล ระหว่างสมรสกับนางบุญมีจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 5 ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและสิทธิในการรับมรดกของโจทก์หรือทายาทโดยธรรมอื่นของนางบุญมี โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ และมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการจัดการสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ทำไปโดยปราศจากความยินยอมของนางบุญมีมารดาของโจทก์ได้ (ฎีกาที่ 8799 - 8801/2559)
เมื่อจำเลยที่ 1 (สามี)ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงด้วยความตาย ก่อนที่การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลบังคับ ประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป ทำให้การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและประเด็นการแบ่งสินสมรสเมื่อมีการหย่าไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป สำหรับประเด็นเรื่องสินสมรสก็จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยมรดกต่อไป (ฎีกาที่ 4977/2565)
|
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |