
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
-ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1
-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE

สัญญาหมั้นระหว่างชายและหญิงที่ทำขึ้นหากมีการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสจะมีผลอย่างไรบ้าง? จะมีผลทำให้การหมั้นนั้นเป็นโมฆะหรือไม่?
(ก) การหมั้นที่เกิดโดยชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์
การหมั้นระหว่างชายและหญิงที่อายุยังไม่ครบ 17 ปีนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1435 บัญญัติให้เป็นโมฆะ ฉะนั้นความเป็นโมฆะ เช่นว่านี้แม้ว่าต่อมาคู่หมั้นฝ่ายที่บกพร่องในเรื่องอายุจะมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วก็ตามก็ไม่ทำให้การหมั้นนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้
(ข) การหมั้นระหว่างชายและหญิงที่ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลวิกลจริต
การสมรสระหว่างชายและหญิงที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริต อาจมีผลทำให้เกิดการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 การการสมรสดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 150
(ค) การหมั้นระหว่างชายและหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ทำการหมั้นกัน สัญญาหมั้นจึงอาจนำไปสู่การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1450 และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นโมฆะตาม มาตรา 150
(ง) การหมั้นระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมโดยไม่มีการจดทะเบียนให้เลิกรับบุตรบุญธรรม
การหมั้นระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้การสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผลให้การรับบุตรบุญธรรมที่มีต่อกันเป็นอันยกเลิกตาม มาตรา 1598/32 ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(จ) การหมั้นที่ทำขึ้นระหว่าง ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสแล้ว ไปทำสัญญาหมั้น สัญญาหมั้นดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตาม มาตรา 150 มีวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากทำให้ครอบครัวเดิมแตกแยก
(ฉ) การหมั้นระหว่างชายกับหญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงไม่ถึง 310 วัน
การหมั้นที่ฝ่ายหญิงเคยสมรสและการสมรสสิ้นสุดลงไม่ถึง 310 วัน การหมั้นสมบูรณ์ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาระหว่างสมรส............
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
เรียกคืนของหมั้นและสินสอด.
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน...
บิดามารดามีสิทธิฟ้องคดีเรียกสินสอดของหมั้นคืน |