

ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 193/9 ถึง มาตรา 193/29
ลักษณะ 6 อายุความ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป TITLE VI PRESCRIPTION CHAPTER I GENERAL PROVISIONS
มาตรา 193/9 สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ Section 193/9. A claim is barred by prescription if it has not been enforced within the period of time fixed by law. มาตรา 193/10 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ Section 193/10. After the lapse of the period of prescription for claims, the debtor is entitled to refuse performance. มาตรา 193/11 อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นคู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้ Section 193/11. The periods for prescription fixed by law cannot be extended or reduced. มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการ อย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น Section 193/12. Prescription begins and run from the moment when the claim can be enforced. If the claim is to a forbearance, prescription begins to run from the moment when the right is fist infringed.
มาตรา 193/13 สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาแรกที่อาจทวงถามได้เป็นต้นไปแต่ถ้าลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาหนึ่งจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่ได้ทวงถามนั้นให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลานั้นสิ้นสุดไปแล้ว
Section 193/13. If the creditor may not demand performance until he has given notice to the debtor, prescription begins to run from the moment when notice can be first given. If the debtor is not bound to perform until a given period has elapsed since the notice, prescription begins to run from the expiration of this period. มาตรา 193/14 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ยให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง (2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ (3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย (4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา (5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี Section 193/14. Prescription is interrupted if:
(1) The debtor has acknowledged the claim towards the creditor by written acknowledgement, by part payment, payment of interest, giving security, or by any unequivocal act which implies the acknowledgment of the claim.
(2) The creditor enters an action for the establishment of the claim or for requiring performance.
(3) The creditor applies for receiving a debt to arbitration.
(4) The creditor submits the dispute to arbitration.
(5) The creditor does any act which brings an effect equivalent to entering an action.
มาตรา 193/15 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น Section 193/15. When prescription is interrupted , the period of time which has elapsed before interruption does not count for prescription.
A fresh period of prescription begins to run from the time when the interruption ceases.
มาตรา 193/16 หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนอายุความครบบริบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐาน ว่าอายุความสะดุดหยุดลง Section 193/16. The creditor of an obligation for the payment of money periodically is entitled to require from the debtor, at any time before the completion of the period of prescription, a written acknowledgment of the obligation in order to obtain evidence of the interruption of prescription. มาตรา 193/17 ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา 193/14(2) หากคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำฟ้องหรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้องให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลหรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาหรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นถึงที่สุด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540) Section 193/17. In the case where prescription is interrupted due to the case under Section 193/ 14 (2), if the Court has passed a final judgment to dismiss the action, or the action has terminated and has been disposed of on the ground of being withdrawn or abandoned, the prescription shall be deemed to have never been interrupted.
In the case where the Court refuses to accept, return or dismisses the action on the ground of want of jurisdiction, or the action is dismissed with the right to re-enter the action in Court and the period of prescription expired pending proceedings, or would have expired within sixty days from the date of final judgment or order, the creditor shall be entitled to enter an action in Court for establishing his claim or for requiring performance of the obligation within sixty days from the date of final judgment or order.
มาตรา 193/18 ให้นำมาตรา 193/17 มาใช้บังคับแก่กรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตาม มาตรา 193/14 (3) (4) และ (5) โดยอนุโลม Section 193/18. The provisions of Section 193/17 shall apply, mutatis mutandis, to interruption of prescription due to the case under Section 193/14 (3), (4) and (5). มาตรา 193/19 ในขณะที่อายุความจะครบกำหนดนั้น ถ้ามีเหตุ สุดวิสัยมาขัดขวางมิให้เจ้าหนี้กระทำการตามมาตรา 193/14 ให้อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่เหตุสุดวิสัยนั้นได้สิ้นสุดลง Section 193/19. If at any time when the prescription would end, the creditor is prevented by force majeure from effecting a interruption, the prescription is not completed until thirty days after the time when such force majeure has ceased to exist. มาตรา 193/20 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลอายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว Section 193/20. If prescription of claim of a minor, or a person of unsound mind whether adjudged incompetent or not, would have expired while the said person does not acquire full capacity, or within one year from the day when the said person is without a legal representative or a guardian, if is not completed until the expiration of one year after he has acquired full capacity or has a legal representative or guardian, as the case may be. If the period of prescription of the claim is shorter than one year, the shorter period of time shall apply in place of the said period of one year. มาตรา 193/21 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของคนไร้ความสามารถหรือของคนเสมือนไร้ความสามารถที่จะฟ้องร้องผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของตนนั้น ถ้าจะครบ กำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว Section 193/21. If prescription of claim of a minor, an incompetent or a quasi-incompetent against his legal representative, guardian or curator would have expired while the said person does not acquire full capacity, or within one year from the day when the said person is without legal representative, guardian or curator, if is not completed until the expiration of one year after he has acquired full capacity or has a legal representative, guardian or curator, as the case may be. If the period of prescription of the claim is shorter than one year, the shorter period of time shall apply in place of the said period of one year. มาตรา 193/22 อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา ถ้าจะครบกำหนดก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงอายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง Section 193/22. If prescription of claims between spouses would have expired before within one year after dissolution of marriage, it is not completed until the expiration of one year after dissolution of marriage. มาตรา 193/23 อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันตาย Section 193/23. If prescription of a claim existing in favour of or against a deceased would have expired within one year after the date of the death, the period of prescription is not completed until the expiration of one year after death. มาตรา 193/24 เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ลูกหนี้จะสละ ประโยชน์แห่งอายุความนั้นเสียก็ได้ แต่การสละประโยชน์เช่นว่านี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกหรือผู้ค้ำประกัน Section 193/24. The benefit of prescription can be waived only after it has been completed, but such waiver does not prejudice the right of third persons, or the surety. มาตรา 193/25 เมื่ออายุความครบกำหนดแล้วให้มีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่เริ่มนับอายุความ Section 193/25. When prescription is completed, its effect relates back to the day when it began to run. มาตรา 193/26 เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความให้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่ครบกำหนดก็ตาม Section 193/26. With the principal claim the claims for accessory acts of performance dependent upon it are also barred by prescription, even if the particular prescription applying to the accessory claim is not yet complete. มาตรา 193/27 ผู้รับจำนองผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมะสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำหรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตามแต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ Section 193/27. The barring of the principal claim by prescription does not prevent a mortgagee, a pledge, holder of a right of retention or a creditor who has preferential right on property of the debtor detained by him, to enforce his right out of the mortgaged, pledged or detained property. But in exercising the right the creditor cannot obtain more than five years for arrears of interest. มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความ รับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วยแต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้ Section 193/28. If any act of performance is done in satisfaction of a claim barred by prescription, the value of such performance may not be demanded back, even if the performance has been effected in ignorance of the prescription. The provisions of paragraph one shall apply to a contractual acknowledgment of liability in writing and to the giving of security by the debtor, but it cannot be referred against the former surety. มาตรา 193/29 เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ Section 193/29. When prescription has not been set up as a defense, the Court cannot dismiss the claim on the ground of prescription.
|