ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

นายรุสดีทำสัญญายืมเงินในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 (สมาคม) โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วย นายรุสดีจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว เมื่อนายรุสดีไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา ทายาทของนายรุสดีจึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากนายรุสดีผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อนี้ทายาทของนายรุสดีบางคนแม้จะไม่ได้ฎีกา แต่การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ทายาทที่ไม่ได้ฎีกาด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174 เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อ ร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 5 ทายาทของ ร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจาก ร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นทายาทของ ร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่ 5 ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2513 จำเลยที่ 1 โดยนายรุสดี ผลเจริญ ประธานกรรมการบริหารของสมาคมจำเลยที่ 1 กับนายรุสดี ผลเจริญ ในฐานะส่วนตัว และนายกมล วีระวัธน์ ได้ร่วมกันทำสัญญายืมเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรจากโจทก์ เพื่อนำเงินที่ยืมได้ไปใช้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการเป็นจำนวนเงิน 85,740 บาท โดยสัญญาว่าจะใช้เงินคืนโจทก์ภายในวันที่1 มีนาคม 2516 การกู้ยืมเงินดังกล่าวมีจำเลยที่ 15 เป็นผู้ค้ำประกันเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยที่ 1 นายรุสดี นายกลมและจำเลยที่ 15 ไม่ชำระเงิน ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2520 จำเลยที่ 1โดยนายรุสดีและนายรุสดีในฐานะส่วนตัวร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ว่าจะชดใช้เงินตามสัญญาเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 85,740 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป จำเลยที่ 15 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นายรุสดี และนายกมล แต่เนื่องจากนายรุสดีได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2522 ส่วนนายกมลได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2524 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายรุสดี และจำเลยที่ 9 ถึงที่ 14 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายกลมจะต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย จำเลยทั้งสิบห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้เงินยืมจำนวน 85,740 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2516 จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 17 ปี คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 109,318 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 194,788 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้าชำระเงินจำนวน 194,788 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 85,740 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลย ที่ 5 ขาดนัด ยื่นคำให้การ

จำเลยที่ 9 ถึงจำเลยที่ 147 ให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล โดยมีนายกมล วีระวัธน์ ผู้ตายเป็นเลขานุการของจำเลยที่ 1 แต่ไม่มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้นายกมลผู้ตายไม่เคยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะไม่เคยลงลายมือชื่อไว้ผู้ตายไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะส่วนตัว ผู้ตายจึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวเป็นการส่วนตัว อีกทั้งจำเลยที่ 9 เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยที่ 9 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว และผู้ตายได้ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 กันยายน2524 โจทก์ได้นำคดีมาฟ้องเกิน 1 ปี คดีของโจทก์ขาดอายุความ และฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมเพราะสัญญากู้เป็นเพียงสำเนาภาพถ่าย สำหรับสัญญากู้ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน โจทก์ไม่เคยทวงถาม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 9 ถึงจำเลยที่ 14 เพราะยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 15 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจำเลยที่ 15ไม่เคยลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 15 ไม่ได้ให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 15 หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 194,788 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 85,740 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (18 พฤษภาคม 2533) จนกว่าจะชำระเสร็จ ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 15

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 8 ในฐานะทายาทของนายรุสดี ผลเจริญ ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 194,788 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 85,740 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยที่ 5 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยที่ 5 ฎีกาในข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์เฉพาะในข้อกฎหมาย

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกมีว่า ฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนที่ได้ถอนฟ้องไปแล้ว ทำให้อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์สะดุดหยุดลงหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 เดิม ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท ได้บัญญัติว่า "การฟ้องคดี ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้น การที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่ เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า อายุความฟ้องคดีของโจทก์ไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 174 เดิม ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความแล้วนั้น จึงเป็นเพียงการยกบทกฎหมายปรับแก่คดีคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าว

ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายมีว่า จำเลยที่ 15 มีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ โดยผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 15 ไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้หรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของจำเลยที่ 15 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 15 ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 15ได้ให้การเป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยที่ 15 จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่ 15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้

ส่วนปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 5 ข้อแรกมีว่าจำเลยที่ 5 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืมเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและตามสัญญารับสภาพหนี้เอกสารหมายจ.5 ตามฟ้องหรือไม่ ข้อนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังได้ว่านายรุสดีทำสัญญายืมเงินตามเอกสารหมาย จ.6 และสัญญารับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วย นายรุสดีจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว เมื่อนายรุสดีไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 5 ทายาทของนายรุสดีจึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากนายรุสดีผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อนี้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นทายาทของนายรุสดีแม้จะไม่ได้ฎีกา แต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 5 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การจะยกเอาอายุความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยเป็นยุติแล้วว่าฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 14 ขาดอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกฟ้องได้หรือไม่ต่อไป

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 8 เสียด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?