ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นบิดาโจทก์ โจทก์จึงต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องจำเลยเพราะเป็นคดีอุทลุม -แม้โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วก็ตามแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกันโจทก์จึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้นเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่า ห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

มาตรา 1562  ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้นโจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์สมรสกันภายหลังหรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547เมื่อไม่มีการดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง20 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยดำเนินการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1321เนื้อที่ 3 ไร่ 2 ตารางวา จำนวนครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ หากแบ่งทรัพย์ไม่ได้ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นบิดาโจทก์ โจทก์จึงต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องจำเลยเพราะเป็นคดีอุทลุม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ดินตามโฉนดดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลยซึ่งได้มาโดยรับมรดกจากนางสำรวย ประมวลรัตน์ มารดาจำเลยเพียงผู้เดียวโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง การที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยเนื่องจากโจทก์ออกอุบายหลอกลวงสัญญาว่าจะเลี้ยงดูจำเลยและส่งเสียน้องให้เล่าเรียน จำเลยหลงเชื่อยอมให้โจทก์ลงชื่อร่วมในโฉนด แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ ฟ้องโจทก์ไม่ระบุชัดเจนว่าโจทก์ครอบครองส่วนใดของที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยไม่สามารถเข้าใจคำฟ้องโจทก์ได้ โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองหรือทำมาหากินบนที่ดินแปลงดังกล่าว ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบุตรจำเลย จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกันจำเลยให้โจทก์ใช้นามสกุลจำเลย และบุคคลทั่วไปทราบว่าโจทก์เป็นบุตรจำเลย มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วก็ตามแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกันโจทก์จึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เพราะโจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์ได้สมรสกันในภายหลัง หรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547 บัญญัติไว้เท่านั้น ซึ่งไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้นเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่า ห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น

อนึ่ง คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์"

พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ผู้เยาว์อายุ 15 ปีบริบูรณ์ฟ้องให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้เองไม่เป็นคดีอุทลุม

โจทก์ผู้มีอายุ 16 ปีเศษ ซึ่งฟ้องขอให้ผู้เป็นบิดารับรองโจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันนี้ได้ เพราะตามป.แพ่ง มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กที่มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ อีกทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุม การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตรโจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาในคดีเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2268/2533

          โจทก์ผู้มีอายุ 16 ปีเศษ ซึ่งฟ้องขอให้จำเลยผู้เป็นบิดารับรองโจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันนี้ได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กที่มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ อีกทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุม ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 และการฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตรนั่นเอง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย 

          การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน 30 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบเพราะตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว เพื่อให้บันทึกในทะเบียนเท่านั้น ประกอบกับโจทก์มิได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก 

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยจำเลยและมารดาโจทก์ได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งมารดาโจทก์อาจตั้งครรภ์ได้ และมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าโจทก์จะบรรละนิติภาวะ

          จำเลยให้การว่า โจทก์มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินควร ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์เป็นบุตรของจำเลย ให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายในกำหนด ๓๐ วัน ถ้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท จนกว่าโจทก์จะบรรลุนิติภาวะ

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ข้อพิจารณาต่อไปมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยได้หรือไม่เพียงใด ในประการแรกที่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบิดาหรือไม่นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๖ วรรคสอง ได้บัญญัติไว้แล้วว่า "เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม" แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจเด็กฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ อีกทั้งขณะยื่นฟ้อง โจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุม ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ และดังนั้น ฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้วและเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตรนั่นเอง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีในประการหลังด้วย และศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูว่า ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท จนกว่าโจทก์จะบรรลุนิติภาวะนั้น นับว่าเหมาะสมแล้วแต่ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายในกำหนด ๓๐ วัน ถ้าไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นไม่ชอบ เพราะตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ มาตรา ๒๐ บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว เพื่อให้บันทึกในทะเบียนเท่านั้น ประกอบกับโจทก์มิได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นกรณีที่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ วรรคแรก

          พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นให้ยกเสีย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

มาตรา 1556  การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้

เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ

ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความในวรรคหนึ่ง และวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม 

การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตร

และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1998/2519

ป.พ.พ. มาตรา 1526, 1529(3), 1529(5), 1530(3), 1534, 1536, 1594

ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1547, 1555(3), 1555(7), 1557(1), 1562, 1564, 1565, 1566, 1598/38

          การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499)

          โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม

          โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ด้วยว่าเมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)

          การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้นต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชายอนุชิต สุวรรณจูฑะ จำเลยแจ้งการเกิดว่าจำเลยเป็นบิดา เป็นคนตั้งชื่อบุตรให้บุตรใช้นามสกุลของจำเลย ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา แสดงให้รู้กันทั่วไปว่าเด็กชายอนุชิตเป็นบุตรของจำเลยต่อมาจำเลยงดให้ความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา และมีพฤติการณ์ไม่ยอมรับเด็กชายอนุชิตเป็นบุตร ขอให้พิพากษาว่าเด็กชายอนุชิตเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยไปจดทะเบียนว่าเป็นบุตรและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 500 บาท นับแต่วันฟ้องจนสำเร็จชั้นประถมศึกษาและเดือนละ 1,000 บาท ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาจนบรรลุนิติภาวะ

          จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายอนุชิต จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์มิได้ดำเนินการให้จำเลยรับรองเด็กชายอนุชิตเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้โจทก์จะฟ้องให้รับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันไม่ได้ จำเลยไม่เคยหลอกลวงร่วมประเวณีกับโจทก์ เด็กชายอนุชิตไม่ใช่บุตรจำเลย จำเลยไม่เคยไปแจ้งการเกิดในทะเบียนว่าจำเลยเป็นบิดาไม่เคยตั้งชื่อและให้เด็กชายอนุชิตใช้นามสุกลของจำเลย ไม่เคยให้ความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเด็กชายอนุชิตเป็นบุตรจำเลย ให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ถ้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาแทนจึงให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 500 บาท นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไป จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา และเดือนละ 800 บาท ตั้งแต่เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตลอดไปจนกว่าบรรลุนิติภาวะ โดยไม่ตัดสิทธิที่จะเพิกถอน ลด เพิ่มเมื่อพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยฎีกาว่าโจทก์จะฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาในฟ้องขอให้รับรองบุตรไม่ได้ และการที่โจทก์ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนผู้เยาว์เป็นคดีอุทลุมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลังตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499 ระหว่างนางวรินทร์ เศวตกนิษฐ์ มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงตุ๋มบุตรผู้เยาว์ โจทก์ นายสนิท รตจินดา จำเลยและการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลย ก็ไม่เป็นคดีอุทลุมเพราะฟ้องในฐานะที่เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนวจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์

          จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้เสียกับจำเลยเพราะความสมัครใจรักใคร่กัน ซึ่งต่างกับที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่จริง เพราะการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงที่เป็นมารดาของเด็ก จะฟังเป็นความจริงได้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งของบิดาทำไว้ให้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) นั้น เห็นว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์แต่อย่างเดียว แต่บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อโจทก์คลอดเด็กชายอนุชิตแล้ว จำเลยได้แสดงให้รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเด็กชายอนุชิตเป็นบุตรของจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5) ด้วย

          จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายอนุชิตมากเกินกว่าเหตุ และที่ให้จ่ายนับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้น ไม่ถูก เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้จำเลยจ่ายแก่เด็กชายอนุชิตนั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในเรื่องกำหนดจำนวนเงิน แต่ที่ให้จ่ายตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1530 บัญญัติว่า การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผล (3) ถ้ามีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร ให้มีผลนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเพราะฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยและเด็กชายอนุชิตผู้เป็นบุตรโดยคำพิพากษาของศาลจึงเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายอนุชิต  เดือนละ 500 บาท นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

หมายเหตุ- ปัจจุบันมาตรา 1557  ได้มีการแก้ไขใหม่แล้วโดยให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด

มาตรา 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตใน ระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม-กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ

โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลยจนจบการศึกษา แต่ยังหางานที่อื่นทำไม่ได้ ต่อมาโจทก์ตั้งครรภ์ จำเลยได้พาโจทก์ไปทำแท้งที่คลีนิก ต่อมาโจทก์ตั้งครรภ์อีกครั้งและคลอดบุตรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2528 ชื่อเด็กหญิงธิ โดยมิได้มีการสมรสกับชายขณะยื่นฟ้องเด็กหญิงธิ อายุได้ 11 เดือนเศษ ตาม ป.พ.พ. ให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดา ในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ซึ่งขณะโจทก์ยื่นฟ้องผู้เยาว์อายุได้11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร จึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีนี้ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุมเพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงธิ ผู้เยาว์ ซึ่งเกิดจากจำเลยเมื่อวันที่ 12ตุลาคม 2528 ทั้งนี้โดยจำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์ในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้ กล่าวคือเมื่อประมาณเดือนมกราคม 2525จำเลยซึ่งมีฐานะเป็นอาจารย์ของโจทก์ได้ข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนสำเร็จความใคร่และจำเลยได้อาศัยตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยข่มขู่หลอกลวงโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นลูกศิษย์จนโจทก์ต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราอีกในเวลาต่อมาหลายครั้ง จนถึงระยะเวลาที่โจทก์ตั้งครรภ์ และได้คลอดเด็กหญิงธิ โจทก์ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับชายอื่นนอกจากจำเลย เด็กหญิงธิ จึงเป็นบุตรของจำเลย จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทำคลอดและค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ทั้งได้จ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เด็กหญิงธิ เป็นจำนวน 10,000 บาท ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยผัดผ่อนและหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงธิ อีกขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตรของจำเลยหากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงธิ นับแต่คลอดจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาเป็นเวลา25 ปี ในอัตราเดือนละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,500,000 บาท

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นอาจารย์ของโจทก์ จำเลยไม่เคยข่มขืนกระทำชำเราหรือร่วมประเวณีกับโจทก์ เด็กหญิงธิ ผู้เยาว์เป็นบุตรของโจทก์ที่เกิดจากชายอื่น มิใช่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตรและชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงธิ ให้แก่โจทก์ ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่โจทก์เรียกร้องมากเกินไปสมควรได้รับเพียงไม่เกินเดือนละ 750 บาทจนกว่าเด็กหญิงธิ จะบรรลุนิติภาวะเท่านั้น

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า เด็กหญิงธิ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ  เป็นบุตรจำเลย หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ในอัตราเดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันที่ผู้เยาว์คลอด (วันที่ 12 ตุลาคม 2528) จนกว่าผู้เยาว์จะมีอายุครบ 5 ปี อัตราเดือนละ 2,000 บาท นับแต่ผู้เยาว์อายุ 5 ปีขึ้นไปจนกว่าจะอายุครบ 10 ปี อัตราเดือนละ 2,500 บาท นับแต่ผู้เยาว์มีอายุ 10 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 15 ปีบริบูรณ์และอัตราเดือนละ3,000 บาท นับแต่ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อปี 2520 โจทก์เข้าศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำเลยเป็นอาจารย์ประจำสาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ให้บริการปรึกษาแก่นักศึกษา เมื่อต้นปี 2524 โจทก์มีปัญหาเรื่องการศึกษาเนื่องจากสอบได้ไม่ครบตามหลักสูตรยังขาดอยู่อีก 1 วิชา และโจทก์ไม่มีเงินจะศึกษาต่อ จึงขอคำปรึกษาจากคณบดี คณบดีแนะนำให้โจทก์ไปพบจำเลยโจทก์จึงไปพบจำเลยที่ห้องทำงาน ผลที่สุดจำเลยรับจะช่วยเหลือให้โจทก์ทำงานอยู่ที่ห้องทำงานของจำเลยโดยช่วยจัดห้องทำงาน จัดเอกสารเข้าแฟ้ม ช่วยรับโทรศัพท์แต่ไม่ได้ทำทุกวัน จำเลยจ่ายค่าตอบแทนให้ครั้งละ 100 บาท ถึง 200 บาท โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลยจนจบการศึกษา แต่ยังหางานที่อื่นทำไม่ได้ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2525 หรือ2526 โจทก์ตั้งครรภ์ จำเลยได้พาโจทก์ไปทำแท้งที่คลีนิกแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ครั้นต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2528โจทก์ตั้งครรภ์อีกครั้งและคลอดบุตรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2528 ชื่อเด็กหญิงธิ ปรากฏตามสูติบัตรเอกสารหมาย จ.1 โดยมิได้มีการสมรสกับชายและเด็กหญิงธิ มิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ขณะยื่นฟ้องเด็กหญิงธิ อายุได้ 11 เดือนเศษ มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จำเลยฎีกาอ้างว่าตามคำฟ้อง จำเลยไม่อาจรู้ได้ว่าโจทก์ฟ้องหรือผู้เยาว์เป็นผู้ฟ้อง ถ้าผู้เยาว์ฟ้องก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ฟ้องบิดา เป็นคดีอุทลุม ผู้เยาว์ไม่มีอำนาจฟ้อง หากโจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์มิได้ฟ้องแทนผู้เยาว์ โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายและยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรและมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้องเด็กหญิงธิ ผู้เยาว์อายุได้11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร จึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีนี้ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุมเพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ

สำหรับปัญหาสุดท้าย ผู้เยาว์ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเพียงใด จำเลยฎีกาว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดสูงเกินไป ไม่ควรเกินเดือนละ 1,000 บาทนั้น เห็นว่า จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนเห็นพ้องด้วย เว้นแต่ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอด (วันที่ 12 ตุลาคม2528) นั้น ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องเพราะการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้น มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดสำหรับคดีนี้ให้เริ่มแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตร หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้นเนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) จึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา และให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธิ เป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร