ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ

การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ

ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกอ้างว่าจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้องเป็นธรรม จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก อายุความที่มิให้ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงนั้น เมื่อปรากฏว่ายังมีทรัพย์มรดกหลายรายการที่ผู้จัดการมรดกจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่อาจเริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อทายาทในลักษณะตัวการตัวแทน การที่ผู้จัดการมรดกครอบครองที่ดินสองแปลง ซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท ตัวผู้จัดการมรดกจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4116/2550

  โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง เมื่อยังมีทรัพย์มรดกที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่เริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่

    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรของนายบุญเลี้ยง รัชบุตร กับนางคำ รัชบุตร ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เมื่อนางคำถึงถึงแก่ความตาย นายบุญเลี้ยงสมรสใหม่กับจำเลยเมื่อปี 2517 และมีบุตรด้วยกัน 2 คน วันที่ 24 กันยนยน 2541 นายบุญเลี้ยงถึงแก่ความตาย ศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2542 ต่อมาจำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกส่งให้โจทก์ทั้งสี่พร้อมแจ้งว่าจัดแบ่งทรัพย์มรดกเรียบร้อยแล้ว โดยโจทก์ทั้งสี่ได้รับส่วนแบ่งคนละ 10,059.32 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังมีทรัพย์มรดกอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก คือที่ดินโฉนดเลขที่ 13809 และ 13804 ที่ดินปลูกบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รถไถนาชนิดเดินตาม และทรัพย์สินที่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกแล้วแต่ยังไม่ได้แบ่ง คือรถยนต์ยี่ห้อดัทสัน 1 คัน ปืน 2 กระบอก และรถจักรยานยนต์ 1 คัน รวมราคาประมาณ 2,650,250 บาท ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเป็นสินสมรสของนายบุญเลี้ยงกับจำเลย จึงเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งราคาประมาณ 1,325,125 บาท ซึ่งต้องแบ่งให้แก่ทายาท 7 คน โจทก์ทั้งสี่จะได้รับส่วนแบ่งคนละ 189,303 บาท รวมเป็นเงิน 754,214 บาท (ที่ถูก 357,212 บาท) ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของนายบุญเลี้ยงแก่โจทก์ทั้งสี่คนละส่วนหรือแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นเงิน 754,214 บาท หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้นำทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละส่วน

    จำเลยให้การว่า จำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกถูกต้องแล้ว ที่ดินโฉนดเลขที่ 13809 และ 13804 และรถไถนาชนิดเดินตามมิใช่ทรัพย์มรดก แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนที่ดินปลูกบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินที่นายบุญเลี้ยงยกให้จำเลยก่อนตาย จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวมา 10 ปี และครอบครองรถไถนาชนิดเดินตามมา 3 ปี โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของนายบุญเลี้ยง  คือที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู รถไถนาชนิดเดินตาม รถยนต์ยี่ห้อดัทสัน 1 คัน ปืน 2 กระบอก และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้นำทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสี่ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 8,000 บาท แทนโจทก์ทั้งสี่

  จำเลยฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดฎีกาโดยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นเห็นว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความไม่ถูกต้องและสั่งให้จำเลยทำฎีกามาใหม่ จำเลยยื่นฎีกาฉบับใหม่โดยมีประเด็นอื่นเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะแต่ข้อที่เกี่ยวกับอายุความ ส่วนฎีกาข้ออื่นถือว่ายื่นล่วงพ้นกำหนดฎีกาจึงไม่รับ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขอแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ขาดอายุความหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายบุญเลี้ยง รัชบุตร กับนางคำ รัชบุตร เมื่อนางคำถึงแก่ความตาย นายบุญเลี้ยงสมรสกับจำเลยและอยู่กินฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมานายบุญเลี้ยงถึงแก่ความตาย จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงตามคำสั่งศาล ที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 เป็นสินสมรสของนายบุญเลี้ยงกับจำเลย ทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งตกเป็นมรดกของนายบุญเลี้ยงที่จำเลยฎีกา นายบุญเลี้ยงมิได้ทำพินัยกรรม มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของนายบุญเลี้ยงหมายถึงแต่เฉพาะทรัพย์สินที่ระบุไว้ในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกิน 1 ปี จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อปรากฏว่ายังมีทรัพย์มรดกหลายรายการที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่อาจเริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสี่ไม่ขาดอายุความ จึงชอบแล้ว”

   พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 5,000 บาท แทนโจทก์ทั้งสี่

 มาตรา 1754  ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

 มาตรา 1733  การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง

 มาตรา 1720  ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819, 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว