ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น

ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ  ขอเปิดทางจำเป็น

ที่ดินตาบอดมีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ที่ดินตาบอดจะติดคลองสาธารณะแต่จากที่ดินตาบอดถึงคลองมีความกว้าง 7 เมตร โดยส่วนที่ติดคลองมีทางเดินความกว้าง 1 เมตรแต่ตลอดแนวส่วนที่ติดกับที่ดินตาบอดมีบ้านของประชาชนปลูกอยู่จึงไม่สามารถใช้เป็นทางไปสู่ทางสาธารณะได้ การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยย่อมเหมาะที่สุด กรณีดังกล่าวถือได้ว่าที่ดินตาบอดดังกล่าวมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้ การที่ขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นความกว้าง 6 เมตรนั้นจึงเกินความจำเป็นดังนั้นทางจำเป็นมีความกว้าง 3.5 เมตรจึงเหมาะสมแล้ว ให้จ่ายค่าใช้ทางแก่จำเลย 300,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2549

ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงที่ถูกปิดล้อมทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินของจำเลย และมีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยดังกล่าวย่อมเหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแต่ทุบรั่วคอนกรีตออกเท่านั้น ก็จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกที่สุด หากจะเปิดทางจำเป็นด้านที่ติดที่ดินของ ส. ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากหนังสือข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างจำเลยและ น. กับ ส. กำหนดไว้ว่า ทางภาระจำยอมที่จำเลยและ น. ยินยอมให้ ส. ใช้ผ่านนั้นให้ใช้เป็นทางผ่านเข้าที่ดินของ ส. เท่านั้น ด้านทิศตะวันออกที่ติดคลองเปรมประชากร มีชาวบ้านชุมชนแออัดปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของกรมชลประทานตามแนวคลองติดรั้วคอนกรีตของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะตามแนวคลองได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้

ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ศาลฎีกาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร

ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียน จำเลยจะฟ้องแย้งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษี กับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็นหาได้ไม่

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้านไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงด้านทิศเหนือ มีลักษณะเป็นถนนมีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จำเป็นต้องผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางในที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้างแปลงละประมาณ 8 เมตร ยาวตลอดไปถึงถนนสาธารณะ โดยโจทก์ยินยอมจ่ายค่าผ่านทางให้จำเลยเป็นเงิน 100,000 บาท

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เดิมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 2068 และ 2095 เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินที่ติดกับที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกโฉนดเลขที่ 113160 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร โจทก์ต้องฟ้องขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกออกไป ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงด้านทิศตะวันออกติดคลองสาธารณะ ซึ่งโจทก์สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หากโจทก์ต้องการให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยยาวตลอดไปถึงถนนสาธารณะ โจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินให้จำเลยตารางวาละ 10,000 บาท ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีเนื้อที่ประมาณ 405 ตารางวา โจทก์จึงต้องใช้ค่าที่ดิน 4,050,000 บาท ก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยแจ้งให้จำเลยเปิดทางตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง และขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยในกรณีที่ต้องเปิดทางจำเป็นเป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษีกับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็น หากโจทก์ไม่ชดใช้ค่าที่ดินดังกล่าวให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในการเปิดทางสูงเกินความจริง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดความกว้าง 6 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์ โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลบาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้านละ 3 เมตร ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 300,000 บาท กับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

 จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท

     จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี นิมิตรกุล สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยผ่านที่ดินของจำเลยที่เป็นภารยทรัพย์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ที่ได้แบ่งแยกและโอนกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 และที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกติดคลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะตามกฎหมาย จึงไม่ใช่กรณีที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เพียงแต่โจทก์ใช้คลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่สะดวกเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้นั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนายสุปรีดีเบิกความเป็นพยานว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หากจะอาศัยคลองชลประทานเป็นทางสัญจรไปมาก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว และถ้าโจทก์จะต้องออกไปสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยที่ดินของจำเลย เห็นว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่ดินพิพาทโดยมีคู่ความทั้งสองฝ่ายนำชี้ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย มีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว ทิศตะวันตกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี มีรั้วสังกะสีสูงประมาณ 2 เมตร กั้นเป็นแนว ทิศใต้ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 2642 และ 2641 ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนว ทางทิศตะวันออกติดคลองเปรมประชากร แต่ระหว่างที่ดินของโจทก์และคลองเปรมประชากรมีบ้านพักอาศัยเป็นชุมชนปลูกสร้างบนที่ดินของกรมชลประทานตลอดแนว มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนวความกว้างระหว่างรั้วคอนกรีตของโจทก์ถึงคลองเปรมประชากรประมาณ 7 เมตร มีทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร ตลอดแนวคลอง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าวใช้เป็นทางเดินและทางรถจักรยานยนต์ ส่วนรถยนต์ไม่สามารถแล่นผ่านเข้าออกได้ จากที่ดินโจทก์ไม่สามารถเดินออกไปยังทางเท้าดังกล่าวได้เนื่องจากตลอดแนวรั้วมีบ้านปลูกอยู่ และทิศใต้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักน่ารับฟังมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงดังกล่าวมีที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงที่ถูกปิดล้อมทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย และมีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยดังกล่าวย่อมเหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแต่ทุบรั้วคอนกรีตออกเท่านั้น ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงก็จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกที่สุด หากจะเปิดทางจำเป็นด้านที่ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดีตามที่จำเลยฎีกานั้นก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากหนังสือข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างจำเลยและนายสิน ผลช่วย กับนายสุปรีดี เอกสารหมาย จ.7 กำหนดไว้ว่า ทางภาระจำยอมที่จำเลยและนายสินยินยอมให้นายสุปรีดีใช้ผ่านนั้นให้ใช้เป็นทางผ่านเข้าที่ดินของนายสุปรีดีเท่านั้น โจทก์จึงไม่สามารถผ่านทางภาระจำยอมดังกล่าวได้ ส่วนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกที่ติดคลองเปรมประชากรนั้น ปรากฏจากการเผชิญสืบที่ดินพิพาทขององค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่ามีชาวบ้านชุมชนแออัดปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของกรมชลประทานตามแนวคลองติดรั้วคอนกรีตของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะตามแนวคลองได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร เกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้และทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอเปิดทางเพื่อทำประตูตั้วจากที่ดินของโจทก์ออกถนนของหมู่บ้านซึ่งเป็นของจำเลย ที่จัดไว้สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านความกว้าง 6 เมตร เกือบเท่าความกว้างของถนนภายในหมู่บ้าน เมื่อเอาสภาพความเป็นอยู่และที่ตั้งแห่งทรัพย์แล้วเกินความจำเป็นแก่การใช้ ประตูรั้วบ้านไม่จำต้องให้รถสามารถสวนทางกันได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ถือว่าขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การขอเปิดทางจำเป็นของโจทก์จะต้องทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด จำเลยเห็นว่า ควรเปิดทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลง กว้างแปลงละ 1.75 เมตร รวมกันไม่เกิน 3.50 เมตรนั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ในเสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์ควรจ่ายค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทางจำเป็นเพิ่มขึ้นจากที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์ได้ทางจำเป็นจะทำให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงราคาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 750,000 บาท ปัจจุบันราคาประเมินตารางวาละ 50,000 บาท ทั้งที่ยังไม่มีทางออก เมื่อเปิดทางโจทก์ยังสามารถใช้ถนนเข้าออกภายในหมู่บ้านไม่ต้องลงทุนก่อสร้างถนนไปสู่ทางสาธารณะอีก จำเลยลงทุนทำถนนเป็นเงินหลายสิบล้านบาท ใช้ประโยชน์สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านของจำเลยเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขที่จำเลยทำไว้แก่นายปรีดีตามเอกสารหมาย จ.7 แล้ว การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจำนวน 1,000,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายเพียง 300,000 บาท นับว่าน้อยมาก ขอให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นอีก 70,000 บาท (ที่ถูกน่าจะเป็น 700,000 บาท) นั้น เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยให้เหตุผลไว้อย่างละเอียดและชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยซ้ำอีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นด้วยนั้น ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียนและไม่ต้องบังคับตามคำขอบังคับในฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้าง 3.50 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร กว้างด้านละ 1.75 เมตร คำขอของจำเลยที่ให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง สาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ ทางสาธารณะได้

(วรรคสอง)ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเลหรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรค ต้นบังคับ

(วรรคสาม)ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะ ผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้

(วรรคสี่)ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อความ เสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหาย เพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปี ก็ได้

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต article
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา article
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี article
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ