ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก

 

 ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดกทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดก

การฟ้องคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกันต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี แต่มีข้อยกเว้นกรณีที่ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนที่ครอบครองทรัพย์มรดกมีสิทธิฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้ว่าจะเกินกำหนด 10 ปีแล้ว ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 เดิมมีการฟ้องคดีต่อกันและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งระหว่างทายาท คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท โจทก์คดีนี้เป็นทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้จะเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2566

ป.พ.พ. มาตรา 1754 การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวด้วยทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกัน มีอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เว้นแต่กรณีตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง ที่ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งระหว่างทายาท คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ที่ 4 และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 เป็นทรัพย์มรดกของ ผ. ที่ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาท โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะเกิน 10 ปี นับแต่ ผ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทั้งมีผลถึงโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นคู่ความร่วม โจทก์ทั้งห้าจึงสามารถฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ แม้จะเกิน 10 ปี นับแต่ ผ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ทั้งห้าสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 จึงไม่ขาดอายุความ

ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 245037 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 2 เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองที่ดินพิพาทแปลงดังกล่าวด้วย ซึ่งจะทำให้โจทก์ทั้งห้าสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ผ. ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน จึงต้องดำเนินคดีภายใน 1 ปี หรือ 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เมื่อ ผ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเกินกว่า 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ทั้งห้าสำหรับการฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 245037 จึงขาดอายุความ ทั้งกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าว่า มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ผ. แล้วหรือไม่ เนื่องจากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งห้ามีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผ. 2 ใน 3 ส่วน ซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ทั้งห้าขอมาเพียงกึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือไม่ แม้ประเด็นดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นควรวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอีก เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลย แม้จะอ้างว่าทรัพย์มรดกมีเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ทรัพย์มรดกมีจำนวน 2 ใน 3 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทรัพย์มรดกมี 2 ใน 3 ส่วน แล้วแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทตามสิทธิที่มีอยู่นั้น จึงหาเกินคำขอไม่

โจทก์ทั้งห้าฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าลงในโฉนดที่ดินเลขที่ 2508 และโฉนดที่ดินเลขที่ 245037 ให้โจทก์ทั้งห้ากับจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คนละเท่ากัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากโจทก์ทั้งห้าและจำเลยตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งห้าจำนวน 5 ใน 6 ส่วนของเงินที่ได้รับ หากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้ราคาทรัพย์สินแทนเป็นเงิน 50,390,000 บาท

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าลงในที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 และโฉนดเลขที่ 245037 ให้แก่โจทก์ทั้งห้าคนละสองในยี่สิบเจ็ดส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 และโฉนดเลขที่ 245037 ดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งแก่โจทก์ทั้งห้าคนละ 2 ใน 27 ส่วน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งห้า โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ทั้งห้าร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความรวม 40,000 บาท

โจทก์ทั้งห้าฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้โดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า นายผิว กับนางหอม อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ มีบุตรด้วยกัน 8 คน คือ นายทองสุข โจทก์ที่ 2 นางพรพรรณ โจทก์ที่ 3 นายเกษม โจทก์ที่ 4 โจทก์ที่ 5 และจำเลย นายทองสุขถึงแก่ความตายแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2535 นายทองสุขจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2503 ครั้นวันที่ 23 กันยายน 2509 นางหอมซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 จากนายเยื้อนและนายสุวรรณ ต่อมานายผิวกับนางหอมปลูกสร้างบ้านพักอาศัยเลขที่ 4, 4/1 และ 4/2 ลงบนที่ดินแปลงนี้ โดยมีนายผิว นางหอม โจทก์ที่ 4 จำเลย และนายธัญญาพงษ์ ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 พักอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 4 โจทก์ที่ 2 พักอาศัยในบ้านเลขที่ 4/1 โจทก์ที่ 5 พักอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 4/2 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2536 นางหอมจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินในนามเดิมออกไป 2 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา เป็นโฉนดเลขที่ 237128 และขายที่ดินโฉนดแปลงนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท ร. คงเหลือเนื้อที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 จำนวน 1 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา อันเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2538 นางหอมจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นจำเลย ส่วนที่ดินแปลงที่ 2 โฉนดเลขที่ 6278 เนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา มีชื่อนายทองสุข โจทก์ที่ 2 และที่ 3 นางสาวรำพรรณ และนายเกษม รวม 5 คน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2503 นายผิวยื่นคำขอใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทำนิติกรรมแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ที่ 3 และนายเกษมออกมารวมจำนวนเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา ส่วนที่เหลือเนื้อที่ 8 ไร่ คงมีชื่อนายทองสุข โจทก์ที่ 2 และนางสาวรำพรรณถือกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาที่ดินในส่วนของโจทก์ที่ 3 และนายเกษม ในวันที่ 13 มกราคม 2504 นายผิวยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม เพราะนายผิวกำลังเดือดร้อนเรื่องการเงินเพื่อจะนำไปชำระหนี้สิน และวันที่ 12 พฤษภาคม 2504 นายผิวจัดการจดทะเบียนแบ่งขายที่ดินแทนโจทก์ที่ 3 และนายเกษมให้แก่ผู้อื่น และในวันดังกล่าวโจทก์ที่ 3 ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่นางศรีนวล คงเหลือเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา มีชื่อนายเกษมถือกรรมสิทธิ์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2518 นายเกษมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวในส่วนที่เหลือให้แก่นางหอม ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2540 นางหอมใส่ชื่อเด็กชายยุทธการและเด็กชายชาญรบ ซึ่งเป็นบุตรของนายเกษมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 นางหอมจดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 เฉพาะส่วนของนางหอมพร้อมตึกแถว 2 ชั้น เลขที่ 39/62, 39/63, 39/64, 39/65, 39/66 ให้แก่จำเลย หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ถูกเวนคืนบางส่วนโดยเด็กชายยุทธการและเด็กชายชาญรบได้รับเงินค่าเวนคืนที่ดินไปเรียบร้อยแล้ว และในวันดังกล่าวจำเลยดำเนินการขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 6278 แล้วออกโฉนดใหม่เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 245037 โดยจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ เนื้อที่ 2 ไร่ 28 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายผิวถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลวเนื่องจากชราภาพ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2538 นางหอมทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา ให้แก่จำเลย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 นางหอมถึงแก่ความตายด้วยโรคภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ วันที่ 1 เมษายน 2562 จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 4 และนายธัญญาพงษ์ ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านเลขที่ 4 ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ 784/2562 ของศาลชั้นต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 และเลขที่ 245037 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นสินสมรสระหว่างนายผิวกับนางหอม เมื่อนายผิวถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างนายผิวกับนางหอมย่อมสิ้นสุดลง การแบ่งสินสมรสของนายผิวกับนางหอมซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 โดยฝ่ายชายมีสิทธิในสินสมรสได้ 2 ใน 3 ส่วน ฝ่ายหญิงได้ 1 ใน 3 ส่วน ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 และเลขที่ 245037 จำนวน 2 ใน 3 ส่วน จึงเป็นทรัพย์มรดกของนายผิว ซึ่งต้องแบ่งปันกันระหว่างทายาทโดยธรรมซึ่งได้แก่ นายทองสุข โจทก์ที่ 2 นางพรพรรณ โจทก์ที่ 3 นายเกษม โจทก์ที่ 4 โจทก์ที่ 5 จำเลย และนางหอมคู่สมรสซึ่งมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ส่วนที่เหลือ 1 ใน 3 ส่วน เป็นกรรมสิทธิ์ของนางหอม และนางหอมมีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับมรดกของนายผิวและที่ดินในส่วนของตน 1 ใน 3 ส่วน ให้แก่จำเลย คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าว่า ฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวด้วยทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกัน มีอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เว้นแต่กรณีตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง ที่ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดท้ายฎีกาของโจทก์ทั้งห้า ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่า ในคดีแพ่งที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 4 กับพวกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งระหว่างทายาท คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ที่ 4 และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 เป็นทรัพย์มรดกของนายผิวที่ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาท โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะเกิน 10 ปี นับแต่นายผิวเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทั้งมีผลถึงโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นคู่ความร่วม โจทก์ทั้งห้าจึงสามารถฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ แม้จะเกิน 10 ปี นับแต่นายผิวเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ทั้งห้าสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของโจทก์ทั้งห้าในส่วนนี้ฟังขึ้น

ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 245037 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ 2 นั้น เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 นั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากที่นายทองสุข โจทก์ที่ 2 และที่ 3 นางสาวรำพรรณ และนายเกษมแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินกันแล้ว คงเหลือนายเกษมแต่ผู้เดียวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ส่วนเหลือ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2518 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่นายผิวเจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายนายเกษมได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ให้แก่นางหอม ซึ่งต่อมานางหอมได้ใส่ชื่อเด็กชายยุทธการและเด็กชายชาญรบถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน และเมื่อมีการเวนคืนที่ดินบางส่วนของที่ดินแปลงดังกล่าว เด็กชายยุทธการและเด็กชายชาญรบเป็นผู้รับเงินค่าเวนคืนที่ดินไป ที่ดินส่วนที่เหลือนางหอมยกให้จำเลย และจำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินใหม่เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 245037 โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองที่ดินพิพาทแปลงดังกล่าวด้วย ซึ่งจะทำให้โจทก์ทั้งห้าสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของนายผิวฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน จึงต้องดำเนินคดีภายใน 1 ปี หรือ 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เมื่อนายผิวเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเกินกว่า 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ทั้งห้าสำหรับการฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 245037 จึงขาดอายุความ ทั้งกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าว่า มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของนายผิวแล้วหรือไม่ เนื่องจากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ทั้งห้าในส่วนนี้ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ทั้งห้าในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น

สำหรับประเด็นตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งห้ามีสิทธิในทรัพย์มรดกของนายผิว 2 ใน 3 ส่วน ซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ทั้งห้าขอมาเพียงกึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือไม่ แม้ประเด็นดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นควรวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอีก เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลย แม้จะอ้างว่าทรัพย์มรดกมีเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ทรัพย์มรดกมีจำนวน 2 ใน 3 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทรัพย์มรดกมี 2 ใน 3 ส่วน แล้วแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทตามสิทธิที่มีอยู่นั้น จึงหาเกินคำขอไม่ อุทธรณ์ของจำเลยส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าลงในที่ดินโฉนดเลขที่ 2508 ให้แก่โจทก์ทั้งห้าคนละ 2 ใน 27 ส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้ให้ประมูลราคากันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งแก่โจทก์ทั้งห้าคนละ 2 ใน 27 ส่วน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก article
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว