ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรไปอยู่กับใคร , การตั้งผู้ปกครองคนใหม่

การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล

ผู้ร้องเป็นป้าขอตั้งผู้ปกครอง ผู้เยาว์เป็นบุตรของน้องชายซึ่งได้หย่ากับน้องสใภ้ โดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของน้องชาย และเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญา มิใช่เป็นกรณีที่น้องสใภ้หรือมารดาของผู้เยาว์ถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล และจะต้องมีเหตุตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อน้องชายถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของมารดาฝ่ายเดียว ป้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์  
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2548

  ผู้เยาว์เป็นบุตรของ ว. กับผู้คัดค้าน ต่อมา ว. หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของ ว. บิดา ว. จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาลและจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อ ว. ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา  1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เด็กชายพงศ์พิพัฒน์  อายุ 5 ปี เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายวาทิต  กับนางวิภา  ต่อมาบิดามารดาผู้เยาว์ได้จดทะเบียนหย่า และตกลงให้บิดาเป็นผู้มีอำนาจปกครอง ผู้เยาว์จึงอยู่ในความปกครองของนายวาทิตตลอดมา จนกระทั่งนายวาทิตได้ถึงแก่กรรมผู้เยาว์จึงอยู่ในความดูแลของผู้ร้องซึ่งเป็นป้าของผู้เยาว์ ผู้ร้องรับราชการครู มีอาชีพมั่นคง สามารถเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ ส่วนมารดาผู้เยาว์มีครอบครัวใหม่ ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้าม ขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นมารดาของเด็กชายพงศ์พิพัฒน์  ผู้เยาว์ ภายหลังบิดาผู้เยาว์ถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็รับตัวผู้เยาว์มาอยู่ในความปกครองและได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา ผู้เยาว์ไม่ได้ขาดผู้ปกครอง (ที่ถูกเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง) ขอให้ยกคำร้องขอ

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนพยานของผู้ร้องและผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง
          ผู้ร้องอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          ผู้ร้องฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองเด็กชายพงศ์พิพัฒน์  ผู้เยาว์หรือไม่ ในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงยุติฟังได้ว่า ผู้เยาว์เป็นบุตรของนายวาทิต  กับผู้คัดค้าน ต่อมานายวาทิต หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของนายวาทิต บิดา นายวาทิตจึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล และจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อนายวาทิตเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวตามที่ตกลงกันขณะที่จดทะเบียนหย่า ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น”

  พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2537

ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของนาย ก. กับนางสาว ส.ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ก.ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของบิดาของนายก. จึงมิใช่ญาติของผู้เยาว์ทั้งสองตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582และมาตรา 1586 ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสองได้

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ขอให้ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งถอนนางสำเนียง ทำที่พึ่งมารดาของผู้เยาว์ทั้งสองออกเสียจากการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย

ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องและกำหนดนัดไต่สวนตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน

ศาลชั้นต้นเห็นว่า ผู้ร้องเป็นญาติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองและร้องขอตั้งผู้ปกครอง มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "เห็นว่า เด็กชายเสกสรรค์ มีสัตย์ และเด็กหญิงสุนิสา มีสัตย์ ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของนายโกศลมีสัตย์ กับนางสาวสำเนียง ทำที่พึ่งซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโกศลดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของนายแสง มีสัตย์ บิดาของนายโกศลจึงมิใช่ญาติของผู้เยาว์ทั้งสอง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1582 และมาตรา 1586 ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาของผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ทั้งสองได้ที่ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องชอบแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2515

แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้เพิกถอน อำนาจปกครองบุตรและศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์เสียบางส่วนหรือทั้งหมดได้ โดยศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ โดยจะร้องขอมาในคดีเดิมหรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ก็ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกับคดีก่อน

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้เพิกถอนการเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร 5 คนซึ่งเป็นผู้เยาว์ และศาลได้พิพากษาไปตามที่โจทก์จำเลยประนีประนอมยอมความกันแล้ว ต่อมาจำเลยได้ผิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาของศาล คือ ไม่ได้อุดหนุนเจือจานผู้เยาว์ทั้งสี่คน ไม่ส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ ทอดทิ้งเด็กชายเกรียงศักดิ์จนต้องหนีมาอยู่กับโจทก์ ใช้ทรัพย์สินของผู้เยาว์หาประโยชน์เข้าตนเอง จำเลยจึงไม่ควรจะเป็นผู้ดูแลครอบครองทำประโยชน์รายได้ในทรัพย์สินของผู้เยาว์ต่อไป ขอศาลสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ใช้สิทธิปกครองดูแลหาประโยชน์ในที่ดิน และตั้งโจทก์เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์แทน

จำเลยให้การปฏิเสธ

วันชี้สองสถาน คู่ความแถลงรับกันว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ต่อศาล ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 140/2511 ศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาปรึกษาเห็นว่า แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตร และศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชายเกรียงศักดิ์ คดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัย ศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครอง หรืออำนาจจัดการทรัพย์สินเสียบางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1552 โดยจะร้องขอมาในคดีเดิม ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499 นางปาน จำปาทาสี มารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจำนวน จำปาทาสี กับพวก ผู้ร้อง นายสุบิน ยิงรัมย์ ผู้คัดค้าน ที่ศาลอุทธรณ์อ้าง หรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเช่นที่โจทก์ฟ้องนี้ ก็ย่อมมีอำนาจทำได้ และไม่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 140/2511

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511
 
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ  ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์  แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
 
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน  การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์  เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี
 
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีศักดิ์เป็นตาเด็กชายวีระ เกณฑ์กระโหก นายผ่องนางสาครบิดามารดาของเด็กชายวีระถึงแก่กรรมหมด จำเลยซึ่งเป็นพี่นางสาครได้ยื่นคำร้องเท็จต่อศาลขออำนาจเป็นผู้ปกครองศาลหลงเชื่อจึงมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระและให้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทน จำเลยได้เบียดบังทรัพย์มรดกของเด็กชายวีระ และใช้อำนาจปกครองเป็นปฏิปักษ์ต่อเด็กอย่างร้ายแรงจึงขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองและตั้งโจทก์เป็นแทน 
จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ประพฤติชั่วหรือเป็นภัยอย่างใดต่อการปกครองและกองทรัพย์สิน ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ สืบเสาะข้อเท็จจริงแล้ว รายงานความเห็นว่า คดีควรได้รับการพิจารณาจากศาลโดยตรง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จ โจทก์ถึงแก่กรรม ศาลจึงเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ต่อไปแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยบกพร่องในเรื่องความสามารถ ละเลยและเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่ หากปล่อยให้จำเลยเป็นผู้ปกครองต่อไป ประโยชน์ของเด็กชายวีระจะต้องเป็นอันตราย จึงพิพากษาให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระผู้เยาว์ และตั้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้ปกครองแทนตั้งแต่วันพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574, 1555, 1556 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 มาตรา 70 ให้จำเลยทำบัญชีทรัพย์สินและส่งมอบทรัพย์สินของเด็กชายวีระแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ผู้ปกครองใหม่ภายใน20 วัน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา 
 
ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่า ตามที่จำเลยฎีกาว่าคดีนี้เป็นคดีเฉพาะตัวนายคง สุบงกช เมื่อนายคงตาย คดีย่อมระงับด้วยเหตุแห่งการตายของนายคงโดยสิ้นเชิง หาอาจมีตัวแทนเข้ามาแทนที่ได้อีกต่อไปไม่ และต้องถือว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวเพิกถอนอำนาจจำเลยได้ระงับลงทันที อำนาจและสิทธิของจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่ได้ถูกฟ้องร้อง จะนำบทบัญญัติมาตรา1552 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 797/2499 คดีระหว่างนางปานจำปาทาสี มารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจำนวน จำปาทาสี ฯลฯผู้ร้อง นายสุบิน ยิงรัมย์ ผู้คัดค้าน แล้วว่ากรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนี้ ไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 2 และหมวด 3 ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป 
คดีนี้ก็ฟังได้ดังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่า นายคงโจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้ตั้งนายคงเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระเท่านั้น แต่ยังฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระด้วย อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของเด็กชายวีระ ดังนั้นเห็นได้ว่าได้มีเรื่องการใช้อำนาจปกครองเด็กปรากฏขึ้นต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลจึงมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดี และศาลชอบที่จะเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจ ฯ เข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ทั้งนี้แม้ศาลล่างจะใช้คำว่าให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนนายคง ก็ถือได้ว่า เป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งในการไต่สวนนั่นเอง ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาฟังว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการส่อแสดงถึงความประพฤติมิชอบหรือการหย่อนความสามารถของจำเลยในหน้าที่ผู้ปกครองตามมาตรา 1574 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยศาลล่างที่พิพากษาให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระ
 
พิพากษายืน.
 
 
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
 
 
มาตรา 1520  ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด



บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร