ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547

 พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ      โจทก์
 
  หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่

  โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 288, 371

          จำเลยให้การปฏิเสธ

 ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยเคยถูกนางเพชร ชัยพิพัฒน์ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาผู้ตายฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้ตายและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น โจทก์แถลงว่าจำเลยได้หลบหนีหมายจับของพนักงานสอบสวน ต่อมาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว จำเลยจึงเข้ามอบตัวและคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้นล่วงเลยกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นซึ่งผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยไปแล้ว จึงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพิพากษาใหม่ต่อไปตามรูปคดี

          จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงได้ความจากสำเนาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้นและในคดีนี้ว่า เหตคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2541 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง นางเพชร ชัยพิพัฒน์ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาของนายไกรธวัช พุฒิชาติ ผู้ตาย ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้หลบหนีการจับกุมพนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับไว้ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นต่อศาลชั้นต้นด้วยตัวเองโดยมิได้ประสานงานให้พนักงานอัยการโจทก์ทราบ ในการดำเนินคดี นางเพชรซึ่งเป็นโจทก์ได้นำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียง 2 ปาก คือนางเพชรเองซึ่งมิได้รู้เห็นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและนายศรีเมือง สุจินพรหม ผู้ซึ่งอ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์คดีนี้โดยเห็นคนร้ายเป็นชายทางด้านหลังและด้านข้างใช้อาวุธปืนยิงนายไกรธวัชผู้ตายและยืนยันด้วยว่ามิใช่จำเลยนี้ในที่สุดศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2543 พ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว โดยนางเพชรก็มิได้ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษและให้การปฏิเสธ นอกจากนี้จำเลยยังยื่นคำร้องต่อโจทก์เพื่อขอความเป็นธรรมว่า ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาว่าฆ่าผู้อื่นโดยเจตนามาแล้ว ชั้นที่สุดศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วหรือไม่ เห็นว่า หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น ซึ่งนางเพชรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์บ่งชี้ว่านางเพชรโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีผู้พบเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนได้มีการระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ทำให้ตายไว้ในรายงานการชันสูตรพลิกศพท้ายฟ้อง หลังเกิดเหตุนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและได้มีการออกหมายจับจำเลยไว้แต่จำเลยหลบหนีการจับกุม คดีอยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจ นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น และยังปรากฏด้วยว่าในการดำเนินคดีดังกล่าวทนายโจทก์เพียงแต่นำนางเพชรมารดาผู้เสียหายซึ่งไม่เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุและนายศรีเมือง สุจินพรหม ผู้ซึ่งอ้างว่าเห็นเหตุการณ์แต่กลับเบิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อคดีเข้าเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอันเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล และนางเพชรโจทก์คดีนั้นก็ไม่ยื่นอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกัน เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
  




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

การถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ความผิดฐานฟ้องเท็จ, มูลหนี้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ร่วมในคดีอาญา, การใช้สิทธิผู้เสียหายแทนโจทก์ร่วมเดิม, การสืบสิทธิในคดีอาญา,
แก้ไขฟ้องคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 163, อำนาจพนักงานอัยการในคดีทุจริต, บทบาทอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการ
ศาลลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด, อุทธรณ์คำพิพากษา, ขอให้เพิ่มโทษ,
อำนาจฟ้อง, คู่ความในคดี, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย,
การพิจารณาคดีไต่สวนมูลฟ้อง, คำสั่งศาลที่เด็ดขาด,
ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ข้อห้ามฎีกาคดีอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง, การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง, คดีอาวุธปืนและอาวุธเถื่อน,
การกระทำโดยบันดาลโทสะ, โทษสถานเบาและการรอการลงโทษ, สิทธิยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน