ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?

ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม มีวันเวลาทำงานวันใด วันหยุดวันใด หากไม่อาจมาทำงานได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร หากไม่ปฏิบัติตามนั้นจะมีผลอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานของลูกจ้างโดยแท้ หาใช่ ลูกจ้างทำงานได้โดยอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้นไม่ และในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้ นายจ้างจ่ายค่าบริการแก่ ลูกจ้างเป็นรายเดือนตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง โดยกำหนดค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด หาใช่ นายจ้าง จ่ายสินจ้างให้ ลูกจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำอันจะเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ นอกจากนี้ สัญญาจ้างที่เป็นหมายเหตุยังกำหนดว่านอกเหนือจากหน้าที่ขับรถตามสัญญาแล้ว ยังมีกรณีที่ ลูกจ้าง ต้องทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าค่าตอบแทนในการทำงานจึงมิใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จของการงานที่ทำคือขับรถเท่านั้น แต่เป็นค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าเป็นงานหน้าที่ใดโดยกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน ดังนั้น สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาจ้างทำของ (มาตรา 575 และมาตรา 587)           

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7699/2551

   โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ 19/2548 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ของจำเลยที่วินิจฉัยว่า นายจักรกฤษณ์เป็นลูกจ้างของโจทก์ ให้โจทก์จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 6,166 บาท ค่าล่วงเวลา 8,530 บาท รวมเป็นเงิน 14,696 บาท แก่นายจักรกฤษณ์

          จำเลยให้การว่า ไม่มีเหตุที่จำเลยจะเพิกถอนคำสั่งที่ 19/2548 ดังกล่าว ขอให้ยกฟ้อง

   ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

   โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด นายจักรกฤษณ์เข้าทำงานกับโจทก์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ตำแหน่งพนักงานขับรถ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 5,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนโดยจ่ายผ่านธนาคาร โดยมีสัญญาจ้างกำหนดวันเวลาทำงาน คือวันจันทร์ถึงวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา หยุดวันอาทิตย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2547 นายจักรกฤษณ์ขับรถยนต์ของโจทก์หมายเลขทะเบียน ษศ 6893 กรุงเทพมหานคร เพื่อนำผู้จัดการของโจทก์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปโรงแรมเวสท์อินน์ กรุงเทพมหานคร นายจักรกฤษณ์ขับรถชนรถยนต์อื่นจำนวน 3 คัน ทำให้รถยนต์ของโจทก์และรถยนต์คู่กรณีทั้งหมดได้รับความเสียหาย พนักงานสอบสวนสอบสวนที่เกิดเหตุแล้วมีความเห็นว่านายจักรกฤษณ์ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย เปรียบเทียบปรับ 1,000 บาท นายจักรกฤษณ์ยินยอมชำระค่าปรับ ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2547 นายจักรกฤษณ์เข้าบริษัทเพื่อปฏิบัติหน้าที่ นายวจีเทพ ผู้บังคับบัญชาแจ้งว่าโจทก์เลิกจ้างแล้วโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป อ้างเหตุว่านายจักรกฤษณ์เจตนาทำให้ทรัพย์สินของบริษัทได้รับความเสียหาย โดยบอกเลิกจ้างด้วยวาจา และโจทก์คงค้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าแท็กซี่ นับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2547 แก่นายจักรกฤษณ์เป็นเงิน 14,323.33 บาท ต่อมาวันที่ 29 ธันวาคม 2547 นายจักรกฤษณ์ยื่นคำร้องต่อจำเลยว่าโจทก์ไม่จ่ายค่าจ้าง  จำเลยสอบพยานบุคคลและพยานเอกสารแล้วเห็นว่าโจทก์มีฐานะเป็นนายจ้างของนายจักรกฤษณ์และค้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่นายจักรกฤษณ์จริง จึงมีคำสั่งที่ 19/2548 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและค่าล่วงเวลาแก่นายจักรกฤษณ์เป็นเงิน 14,696 บาท ได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์และนายจักรกฤษณ์ทราบ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบจึงนำคดีมาฟ้องภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย

          ปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า หนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับนายจักรกฤษณ์เป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ เห็นว่า ข้อความในสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้วางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่าในระหว่างที่นายจักรกฤษณ์ขับรถให้โจทก์ นายจักรกฤษณ์จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะมีคุณสมบัติครบถ้วนในหัวข้อแรกโดยเฉพาะต้องมีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน มีกริยา มารยาท สุภาพเรียบร้อย ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้โดยปกติแล้วเป็นคุณสมบัติของลูกจ้างที่นายจ้างในสัญญาจ้างแรงงานประสงค์จะให้ลูกจ้างปฏิบัติ มิใช่คุณสมบัติที่จำเป็นของผู้รับจ้างในสัญญาจ้างทำของเพราะสัญญาจ้างทำของมุ่งถึงผลสำเร็จของการงานที่ว่าจ้างนั้นเป็นสำคัญ ทั้งเมื่อพิจารณาในหัวข้อที่สองซึ่งเป็นกฎข้อบังคับที่บังคับให้นายจักรกฤษณ์จะต้องปฏิบัติตามแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้นายจักรกฤษณ์ปฏิบัติตาม มีวันเวลาทำงานวันใด วันหยุดวันใด หากไม่อาจมาทำงานได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร หากไม่ปฏิบัติตามนั้นจะมีผลอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานของนายจักรกฤษณ์โดยแท้ หาใช่นายจักรกฤษณ์ทำงานได้โดยอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้นไม่ ทั้งในหัวข้อที่สามในเรื่องค่าบริการแล้วยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นเงินที่โจทก์ตกลงจ่ายให้แก่นายจักรกฤษณ์เป็นรายเดือนตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่นายจักรกฤษณ์ทำงานให้โจทก์ โดยกำหนดค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุดให้ด้วย หาใช่โจทก์จ่ายสินจ้างให้นายจักรกฤษณ์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำอันจะเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ ยิ่งไปกว่านั้นในหัวข้อสุดท้ายที่ระบุเป็นหมายเหตุไว้ยังมีข้อความกำหนดไว้ด้วยว่าวันไหนที่ผู้ใช้บริการไม่ได้ใช้บริการ เช่น ไปต่างประเทศ ผู้ให้บริการต้องมาทำหน้าที่อื่นที่ผู้ใช้บริการมอบหมาย ซึ่งหมายความว่านอกเหนือจากหน้าที่ขับรถตามสัญญาแล้ว ยังมีกรณีที่นายจักรกฤษณ์ต้องทำงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายอีกด้วย ค่าตอบแทนในการทำงานจึงมิใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จของการงานที่ทำคือการขับรถเท่านั้น แต่เป็นการจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าเป็นงานหน้าที่ใดโดยกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับนายจักรกฤษณ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาจ้างทำของดังที่โจทก์อุทธรณ์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

   พิพากษายืน

มาตรา 575    อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้

มาตรา 587    อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น

 




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง article
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว article
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี