ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก

 เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก

ภายหลังจากการรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งมรดก ทายาทต่างเข้าครอบครองที่ดิน มีผลให้การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว แม้ต่อมาผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกใหม่แล้วโอนให้ทายาทบางคนตามที่แบ่งใหม่ซึ่งไม่เป็นธรรมกับทายาทบางคน เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลงจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ซึ่งกันและกันในฐานะทายาท

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2551

เมื่อทายาทต่างเข้าทำประโยชน์ที่ดินตามส่วนที่มีการรังวัดจริง และต่างเข้าครอบครองที่ดินตามที่แบ่งแยก แสดงว่าเมื่อรังวัดเสร็จแล้วได้มีการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว การแบ่งมรดกจึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อต่อมาผู้จัดการมรดกได้ แบ่งที่ดินพิพาทใหม่แล้วโอนที่ดินพิพาทตามส่วนแบ่งใหม่แก่ทายาทบางคนและกระทำการโต้แย้งสิทธิของทายาทบางคนและมีการออกโฉนดที่ดินตามส่วนที่แบ่งใหม่ จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนการออกโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องอายุความมรดกนั้น เมื่อได้มีการแบ่งมรดกสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้นทายาททุกคนไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินมรดกอีกย่อมสิ้นความเป็นทายาทในส่วนที่ดินพิพาทที่แบ่งปันกันแล้วจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ซึ่งกันและกันในฐานะทายาท แต่ทายาทที่ถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดินฟ้องผู้จัดการมรดกให้แบ่งที่ดินให้ตนตามส่วนแบ่งเดิมได้และไม่ขาดอายุความ

  โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 20963, 20964, 20965 และ 20966 และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1367 กลับเป็นทรัพย์มรดกของนายเสนาะ ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 เช่นเดิม โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม แล้วให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันแบ่งที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามลำดับ โดยแบ่งให้โจทก์ที่ 1 ทางด้านทิศเหนือของที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวน 11 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา และโจทก์ที่ 2 ทางด้านทิศเหนือถัดจากโจทก์ที่ 1 ลงมาทางด้านทิศใต้ จำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา และห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องในที่ดินเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม
      จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

  โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

  จำเลยทั้งสามฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามได้ตกลงแบ่งที่ดินกันจริงโดยแบ่งให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 9 ไร่ ก่อน ส่วนที่เหลือจึงแบ่งกันสี่คน ส่วนจำเลยที่ 3 สละสิทธิ์ในการรับส่วนแบ่ง เมื่อตกลงแบ่งกันแล้วจึงไปยื่นคำร้องขอรับมรดกและรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยก แล้วนายวิเชียร เจ้าหน้าที่ที่ดินได้ออกไปรังวัดเพื่อแบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยรังวัดแบ่งแยกตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามตกลงกันตามแผนที่รังวัด โดยการออกไปรังวัดนี้โจทก์ทั้งสอง และนางประจิม กำนันที่ออกไประวังแนวเขตในการรังวัดต่างเบิกความว่า จำเลยทั้งสามต่างอยู่ด้วยในขณะที่มีการรังวัด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความว่าไม่รู้เห็นการรังวัดของนายวิเชียรมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าทายาทของนายเสนาะทุกคนต่างรับรู้การรังวัดแบ่งแยกที่ดินของนายวิเชียรด้วย และโจทก์ทั้งสองเบิกความโดยมีนางประจิม นายประเสริฐ นายสมพงษ์และนายบุญเลิศเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อรังวัดแบ่งแยกแล้ว โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามที่แบ่งแยกกันซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็เบิกความรับว่า เมื่อรังวัดแล้วระหว่างรอการประกาศของสำนักงานที่ดินโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าทำประโยชน์ที่ดินตามส่วนที่มีการรังวัดจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เมื่อนายวิเชียรรังวัดที่ดินเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าครอบครองที่ดินตามที่แบ่งแยก ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รับฟังมาแล้วว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามตกลงแบ่งที่ดินพิพาทกันตามที่นายวิเชียรออกไปรังวัดจริง จากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่กล่าวมาแล้วย่อมแสดงว่าเมื่อรังวัดเสร็จแล้วได้มีการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว การแบ่งมรดกจึงมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมโอนที่ดินตามที่โจทก์ทั้งสองครอบครองให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสองแล้วที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น

ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง ดังที่วินิจฉัยข้างต้นแล้วเช่นนี้ ก็ไม่ขาดอายุความมรดกเพราะโจทก์ทั้งสองได้ที่ดินพิพาทตามที่เข้าครอบครองเป็นของตนโดยเด็ดขาดแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วหาได้ไม่ รวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทเช่นนี้ย่อมสิ้นความเป็นทายาทในส่วนที่ดินพิพาทที่แบ่งปันกันแล้วจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้ เพราะมิใช่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ส่วนกรณีที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายดังเช่นคดีนี้ ถือว่าเป็นผู้แทนของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้ก็แต่ตามมาตรา 1733 วรรคสอง ในคดีจัดการมรดก เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีมรดกจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก หาอาจยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทหาได้ไม่ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกตามฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทใหม่แล้วโอนที่ดินพิพาทตามส่วนแบ่งใหม่แก่จำเลยทั้งสามและมีการออกโฉนดที่ดินตามส่วนที่แบ่งใหม่ จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนการออกโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวและห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องได้ แต่ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองนั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิใช่ผู้จัดการมรดก จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดการแบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจขอบังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คงฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนนี้ให้หักจากกองมรดกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1739 (1)

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามไปดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 20963, 20964, 20965 และ 20966 ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร กับ น.ส. 3 ก. เลขที่ 1367 กลับเป็นทรัพย์มรดกของนายเสนาะ ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเพิกถอน หากจำเลยทั้งสามเพิกเฉยให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสามแล้วให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 ดังกล่าวทางด้านทิศเหนือแก่โจทก์ที่ 1 จำนวนเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา และทางด้านทิศเหนือถัดลงมาจากโจทก์ที่ 1 แก่โจทก์ที่ 2 จำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้หักจากกองมรดก หากจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเพิกเฉยให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ คำขอนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามศาลสำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 8,000 บาท สำหรับโจทก์ที่ 2 จำนวน 2,000 บาท.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่าง เข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้ว เอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท

 ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะ ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 850,มาตรา 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม

 มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง article
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน article
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น article
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?