ตัวอย่าง แบบพิมพ์ แบบฟอร์ม พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่สอง)
พินัยกรรม
ทำที่.................................................. วันที่...............เดือน................พ.ศ. ..............
ข้าพเจ้า................................อายุ.............ปี อยู่บ้านเลขที่...............หมู่ที่........... ถนน.............................ตำบล/แขวง..........................อำเภอ/เขต................ จังหวัด...................ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่ง ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตให้แก่บุคคลที่มีชื่อ ต่อไปนี้ คนละหนึ่งส่วนเท่าๆ กันคือ
๑. ....................................................................................... ๒. ....................................................................................... ๓. ....................................................................................... ๔. .......................................................................................
และขอให้.............................................เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าเพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์ มรดกให้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเห็นว่าพินัยกรรมฉบับนี้มีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้ลงลายมือ ชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม
(ลายพิมพ์นิ้วมือของ...............................................)
ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า.................................ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำ พินัยกรรมต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม
ลงชื่อ............................................พยาน (...........................................) ลงชื่อ............................................พยานและผู้เขียน (...........................................)
ข้อสังเกตในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ๑. การทำพินัยกรรมแบบนี้ จะทำโดยใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ ๒. ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรม ใครจะเป็นผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ก็ได้ แต่ในการเขียนต้องใช้คนๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อมิให้เกิดปัญหาแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ๓. ต้องลงวันเดือนปีขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมแล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ๔. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ๕. พยานทั้งสองคนตามข้อ ๔ ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมและต่อหน้าพยานด้วยกันในขณะนั้นด้วย ๖. พยานในพินัยกรรม จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วคืออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์หรือกรณีสมรสกันเมื่ออายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว แม้อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ และพยานดังกล่าวต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง ๗. ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
|