ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้

การโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้

ข้อ 2 นายเหลือง เป็นลูกหนี้ซึ่งค้างชำระค่าสินค้านายแดง เป็นเงิน 100,000 บาท นายเหลือง เจรจากับนายแดง จนตกลงกันได้ด้วยวาจาว่า เพื่อเป็นการใช้หนี้แทนค่าสินค้าทั้งหมด นายเหลือง ยอมตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงิน 200,000 บาท ที่นายเหลือง เป็นเจ้าหนี้ของนายขาว ให้แก่นายแดง เมื่อนายเหลืองได้ส่งมอบเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่นายแดง เรียบร้อยแล้ว นายแดง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายขาว รู้ถึงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวและเรียกให้นายขาว ชำระหนี้ แต่นายขาว ปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ให้นายแดง

ให้วินิจฉัยว่า นายเหลือง นายแดง นายขาว มีสิทธิหรือหน้าที่ต่อกันอย่างไร

ธงคำตอบ

การที่นายเหลือง มีหนี้จะต้องชำระค่าสินค้าให้นายแดง แล้วคู่กรณีทั้งสองได้ตกลงกันด้วยวาจา ให้นายเหลืองชำระหนี้โดยการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ให้นั้น เป็นการเปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ ค่าสินค้าที่ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้ อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 ( เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1008/2520 ) แต่เนื่องจาก การโอนสิทธิเรียกร้อง เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้านั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ( เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 652/2508 , 218/2524 , 5561-5567/2530 ) และการที่นายแดง ผู้รับโอนมีหนังสือแจ้งให้นายขาว ลูกหนี้เงินกู้รู้ว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องกันแล้ว ก็ไม่ถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องกันเป็นหนังสือ ( เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1802/2518 ) ดังนั้น เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องไม่สมบูรณ์ หนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะการแปลงหนี้ใหม่จึงยังไม่เกิดขึ้น หนี้ค่าสินค้าซึ่งเป็นหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับ ตามมาตรา 351 นายเหลือง ยังคงเป็นหนี้ค่าสินค้า 100,000 บาท ซึ่งนายแดงมีสิทธิเรียกร้องให้นายเหลือง ชำระหนี้ได้

ส่วนนายขาว มีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้นายแดงได้ เพราะนายแดงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง เนื่องจากการโอนสิทธิเรียกร้องไม่สมบูรณ์ ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง แต่นายขาวยังเป็นลูกหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินที่ต้องชำระหนี้ให้นายเหลืองอยู่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่

ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น

ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง

มาตรา 306 การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดย เฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ

ถ้าลูกหนี้ทำให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าวหรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้

มาตรา 351 ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2520

จำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศไปจากโจทก์ โดยจำเลยชำระเงินให้โจทก์ส่วนหนึ่ง ส่วนที่ค้างชำระตกลงกันว่า หากไม่นำมาชำระให้จำเลยจะทำภาพยนตร์ตัวอย่างเพื่อโฆษณาร้านค้าให้โจทก์แต่จำเลยก็ไม่นำเงินที่ค้างมาชำระ และไม่ทำภาพยนตร์โฆษณาให้โจทก์ดังนี้ ถือได้ว่าหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศที่ค้างชำระดังกล่าวนั้นโจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้ โดยเปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้จากการที่จำเลยจะต้องชำระเงินมาเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณากิจการร้านค้าให้โจทก์เสียแล้วหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระเงินย่อมเป็นอันระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงจะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่ค้างตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่หาได้ไม่

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศไปจากโจทก์ราคา 7,500 บาท จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 3,000 บาท ยังค้างชำระอีก 4,500 บาท ตกลงกันว่า เงินที่ค้างชำระหนี้ หากจำเลยไม่นำมาชำระให้โจทก์ จำเลยจะทำภาพยนต์ตัวอย่างเพื่อโฆษณาร้านค้าให้โจทก์ แต่จำเลยไม่ทำตามที่ตกลงไว้ ทั้งไม่ยอมนำเงินมาชำระให้โจทก์ ขอศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินที่ค้างจำนวน 4,500บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยได้ซื้อเครื่องปรับอากาศไปจริง แต่ได้ชำระราคาแล้วโดยจำเลยได้จัดทำภาพยนตร์สไลด์หรือไตเติ้ลภาพยนตร์ลงบนฟิล์มภาพยนตร์ของจำเลยเพื่อทำการฉายทั่วประเทศแล้วตามข้อตกลง จำเลยจึงไม่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์อีก

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่ค้าง 4,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า หนี้เครื่องปรับอากาศที่จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจะถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณากิจการร้านค้าของโจทก์ขึ้นไตเติ้ลภาพยนตร์ที่จำเลยสร้างและจะทำการฉายทั่วประเทศนั้นเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งทำให้หนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับไม่ได้ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกับข้อความในบิลเงินสด (ใบเสร็จรับเงิน) เอกสารหมาย จ. 1 ซึ่งมีว่า "จ่ายสด 3,000 บาท ค้าง 4,500 บาท โดยสัญญาจะถ่ายหนังขึ้นไตเติ้ลเพื่อทำการฉายทั่วประเทศให้แก่ เอส.พี.แอร์" และคำเบิกความของโจทก์ตอบทนายจำเลยว่าเดิมโจทก์ได้ติดต่อทวงถามจำเลยจะให้มาถ่ายหนัง เมื่อจำเลยไม่มาถ่าย โจทก์โทรศัพท์ถึงจำเลย จำเลยว่ารออีกเดือนหนึ่งจะมาถ่ายให้ แต่แล้วก็ไม่มาเห็นได้ว่าหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศที่จำเลยค้างชำระอยู่ 4,500 บาทนั้น โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้ คือ เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้จากการที่จำเลยจะต้องชำระเงิน 4,500 บาท มาเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณากิจการร้านค้าให้โจทก์ หนี้ที่จำเลยจะต้องชำระเงิน 4,500 บาท ย่อมเป็นอันระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อตกลงที่จำเลยเสนอจะถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาร้านค้าให้โจทก์เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยมีทางเลือกที่จะชำระหนี้ให้โจทก์นั้น ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็นว่าเป็นดังโจทก์ฎีกา โจทก์จะฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่หาได้ไม่ฎีกาข้อต่อมาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาที่แปลงมา อันโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับ ไม่จำต้องวินิจฉัย

พิพากษายืน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2508

ป.วิ.พ. มาตรา 311, 314

จำเลยทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นและได้รับความยินยอมแล้วสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาจึงตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลย แม้ว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องจะยังไม่ถึงกำหนดงวดที่จำเลยจะได้รับเงินตามสัญญาจ้างเหมาก็ตาม และเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะโอนผู้ร้องได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นรวมทั้งโจทก์ต้องเสียเปรียบโจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนนี้ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย รวมเป็นเงิน 135,094 บาท 16 สตางค์ และต่อมาได้ขอให้ศาลสั่งอายัดเงินค่าจ้างเหมาสร้างศาลากลางจังหวัดสมุทรสงครามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นไว้ก่อนมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นสั่งอายัดตามขอ ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งอายัดเสีย โดยอ้างว่าจำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนนี้ให้ผู้ร้องไว้โดยชอบก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัด

โจทก์คัดค้านว่า การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ชอบ เพราะเป็นการโอนเพื่อหลบเจ้าหนี้และสิทธิเรียกร้องนั้นก็เป็นสิทธิที่มีเงื่อนไขเวลา

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าสิทธิเรียกร้องนั้นได้ถูกโอนไปโดยชอบแล้ว จึงสั่งถอนคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลย

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเหมา เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้องอยู่ ได้บอกกล่าวการโอนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามและกรมโยธาเทศบาลคู่สัญญากับจำเลยทราบ และได้รับความยินยอมด้วยในการโอนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 สิทธิเรียกร้องย่อมโอนกันได้ ทั้งจำเลยได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 ครบถ้วนแล้ว และได้โอนสิทธิเรียกร้องนั้นไปก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วแม้ว่าขณะโอนสิทธินั้นจะยังไม่ถึงกำหนดงวดที่จำเลยจะได้รับเงินตามสัญญาจ้างเหมา จำเลยก็โอนสิทธิดังกล่าวให้ผู้ร้องได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะโอนผู้ร้องได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นรวมทั้งโจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนนี้ได้

พิพากษายืน ยกฎีกาโจทก์

มาตรา 303 สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้

ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับหากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นการแสดงเจตนาเช่นว่านี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

มาตรา 311 สิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 310 ทวิ นั้นให้ อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว และเจ้าหนี้ได้นำส่งให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลซึ่งต้องรับผิดเพื่อการชำระเงิน หรือส่งมอบสิ่งของนั้น

เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจบังคับสิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 310 ทวิ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับ คดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล

คำสั่งอายัดนั้นอาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมี ข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขหรือว่าได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอน หรือไม่

คำสั่งนั้นต้องมีข้อห้ามลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้งดเว้นการจำหน่าย สิทธิเรียกร้องตั้งแต่ขณะที่ได้ส่งคำสั่งนั้นให้ และมีข้อห้ามบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงินหรือส่งมอบสิ่งของให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ ชำระหรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ณ เวลา หรือภายในเวลา ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง

มาตรา 314 การอายัดสิทธิเรียกร้องดั่งบัญญัติไว้ในสอง มาตรา ก่อนนี้ให้มีผลดั่งต่อไปนี้
(1) การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอนหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้ถูกอายัดภายหลังที่ได้ทำการอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้ตาม คำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี และลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นเพียงส่วน ที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม
(2) ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ๆ ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ ลูกหนี้นั้น
(3) การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในคำสั่งอายัดทรัพย์นั้น ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมาย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561 - 5567/2530

จำเลยเป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างถนนของกรุงเทพมหานครลูกหนี้ได้โอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวให้ผู้ร้องโดยทำเป็นหนังสือและผู้ร้องได้ส่งคำบอกกล่าวแจ้งการโอนไปยังกรุงเทพมหานครเป็นหนังสือแล้ว จึงต้องด้วยแบบพิธีสำหรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306ทุกประการ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นอันสมบูรณ์ สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การโอนย่อมหลุดจากจำเลยไปสู่ผู้ร้องแล้ว และย่อมใช้ยันกรุงเทพมหานครลูกหนี้ และใช้ยันโจทก์ลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่ากรุงเทพมหานครลูกหนี้จะได้ยินยอมในการโอนนั้นด้วยหรือไม่ โจทก์หามีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่

ข้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ที่ว่า'ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น' กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการจึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้ ที่บัญญัติว่า ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่าหากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน แต่หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขประการแรกตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่.

โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 255,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 120,000 บาทแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 118,387 บาท แก่โจทก์ที่ 4 จำนวน 16,800 บาทแก่โจทก์ที่ 5 จำนวน 49,382 บาท แก่โจทก์ที่ 6 จำนวน 29,120 บาทและแก่โจทก์ที่ 7 จำนวน 16,000 บาท

โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นคำร้องขอให้จัดให้มีวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินของกรุงเทพมหานครซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย ศาลแรงงานกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครส่งเงินมายังศาลแรงงานกลาง ผู้ร้องร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนการอายัด

ศาลแรงงานกลางไต่สวนแล้วยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 บัญญัติว่า "การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโอยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือท่านว่าไม่สมบูรณ์อนึ่ง การโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ..."

พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า กรณีนี้จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ของกรุงเทพมหานครกับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ทำการโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือตามบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิรับเงินเอกสารหมาย ร.1 และเอกสารหมาย ร.2 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ส่งคำบอกกล่าวการโอนไปยังกรุงเทพมหานครผู้เป็นลูกหนี้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ร.3 และเอกสารหมาย ร.4 แล้ว กรุงเทพมหานครผู้เป็นลูกหนี้ก็ทราบการโอนตามเอกสารหมาย ร.3 และเอกสารหมาย ร.4 จนถึงได้มีหนังสือตอบมายังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนตามเอกสารหมาย ร.5และเอกสารหมาย ร.6 (เอกสารหมาย ร.6 มี 2 ฉบับ ตรงกับหนังสือหมายเลข 9 และหมายเลข 10 ท้ายคำร้อง) ศาลฎีกาเห็นว่าด้วยข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้น การโอนระหว่างจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้กับผู้ร้องที่เป็นผู้รับโอนได้ทำเป็นหนังสือ การแจ้งการโอนไปยังกรุงเทพมหานครลูกหนี้ก็ได้ทำเป็นหนังสือ ซึ่งมีความที่ถือเป็นคำบอกกล่าวต้องด้วยแบบพิธีสำหรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ทุกประการแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนเป็นอันสมบูรณ์ สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การโอนย่อมหลุดจากจำเลยไปส่งผู้ร้องแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องย่อมใช้ยันกรุงเทพมหานครผู้เป็นลูกหนี้และใช้ยันโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกได้แล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาในข้อที่ว่า กรุงเทพมหานครผู้เป็นลูกหนี้จะได้ยินยอมในการโอนนั้นด้วยหรือไม่ เพราะมาตรา 306 บัญญัติว่า "ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น" กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการ จึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้และบุคคลภายนอกได้ ดังจะเห็นได้จากกฎหมายใช้คำว่า "หรือ" มิได้ใช้คำว่า "และ" ที่มาตรา 306 บัญญัติว่า"ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น" เป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่า หากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน เป็นต้นว่าเจ้าหนี้ได้ปลดหนี้แล้วหรือตนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วเท่านั้น แต่ก็หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่ เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย ร.3 และเอกสารหมาย ร.4 มิใช่ หนังสือแจ้งคำบอกกล่าว หากเป็นเพียงหนังสือขอความยินยอม ทั้งกรุงเทพมหานครยังยินยอมโดยอิดเอื้อนตามเอกสารหมาย ร.5 และเอกสารหมาย ร.6แล้วนำเอาเหตุทั้งนั้นมาวินิจฉัยเป็นทำนองว่าการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไม่สมบูรณ์ ซึ่งย่อมแปลได้ต่อไปว่า จำเลยยังมีสิทธิเรียกร้องต่อกรุงเทพมหานครอยู่เช่นเดิมโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมอายัดสิทธิเช่นว่านั้นได้ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น โจทก์ทั้งเจ็ดหามีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องอันตกแก่ผู้ร้องแล้วไม่

พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งอายัดชั่วคราว และให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวของศาลแรงงานกลาง".

 มาตรา 308 ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา 306 โดยมิได้อิดเอื้อน ท่านว่าจะยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนนั้นหาได้ไม่ แต่ถ้าเพื่อจะระงับหนี้นั้นลูกหนี้ได้ใช้เงินให้แก่ผู้โอนไปไซร้ลูกหนี้จะเรียกคืนเงินนั้นก็ได้หรือถ้าเพื่อการเช่นกล่าวมานั้นลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อผู้โอนจะถือเสมือนหนึ่งว่าหนี้นั้นมิได้ก่อขึ้นเลยก็ได้

ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอนก่อนเวลาที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นฉันใดก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากผู้โอนแต่สิทธินั้นยังไม่ถึงกำหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะเอาสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบลบกันก็ได้หากว่าสิทธินั้นจะได้ถึงกำหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงกำหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไปนั้น

มาตรา 312 ถ้าบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธ หรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน ศาลอาจทำการไต่สวนและ (1) ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ก็ให้มีคำสั่งให้บุคคล ภายนอกปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หรือ (2) ถ้าศาลเห็นว่ารูปเรื่องจะ ทำให้เสร็จเด็ดขาดไม่ได้สะดวกโดยวิธีไต่สวน ก็ให้มีคำสั่งอย่างอื่นใด ในอันที่จะให้เรื่องเสร็จเด็ดขาดไปได้ตามที่เห็นสมควร

ถ้าคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไม่มีการคัดค้าน หรือศาลได้มีคำสั่งรับรอง ดัง กล่าวแล้ว และบุคคลภายนอกมิได้ปฏิบัติตามนั้น เจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้น และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของบุคคลภายนอก เนื่องจากการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้นั้น

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

มาตรา 58 ก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถ้ามีความจำเป็น เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง นอกจากอำนาจที่บัญญัติไว้เป็นการทั่วไปใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว ให้ศาลแรงงานมีอำนาจออก คำสั่งใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2518

เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าได้โอนหนี้ไปยัง อ. แล้วและต่อมา อ. มีหนังสือแจ้งมายังลูกหนี้ว่าได้รับโอนหนี้แล้ว ดังนี้ การโอนหนี้มิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ อ.แจ้งไปยังเจ้าหนี้เดิมให้เจ้าหนี้เดิมเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เอาเองได้




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 55(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก
จำนองครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด