ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยรถยนต์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473

(2) พระราชบัญญัติรถยนต์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2474

(3) พระราชบัญญัติรถยนต์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475

(4) พระราชบัญญัติรถยนต์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477

(5) พระราชบัญญัติรถยนต์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

(6) พระราชบัญญัติรถยนต์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478

(7) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2479

(8) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2481

(9) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2481

(10) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2484

(11) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 11) พุทธศักราช 2484

(12) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 12) พุทธศักราช 2494

(13) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2502

(14) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2503

(15) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2506

(16) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2512

(17) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2514

(18) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 พ.ศ. 2516

(19) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516

(20) พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2517

บรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“รถ” หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

“รถยนต์” หมายความว่า รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล

“รถยนต์สาธารณะ” หมายความว่า

(1) รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด

(2) รถยนต์รับจ้าง ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน หรือรถยนต์สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทาง

“รถยนต์บริการ” หมายความว่า รถยนต์บรรทุกคนโดยสารหรือให้เช่าซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ดังต่อไปนี้

(1) รถยนต์บริการธุรกิจ ซึ่งได้แก่รถยนต์ที่ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือเดินทะเล สถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟกับโรงแรมที่พักอาศัย ที่ทำการของผู้โดยสาร หรือที่ทำการของผู้บริการธุรกิจนั้น

(2) รถยนต์บริการทัศนาจร ซึ่งได้แก่รถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใช้รับส่งคนโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

(3) รถยนต์บริการให้เช่า ซึ่งได้แก่รถยนต์ที่จัดไว้ให้เช่าซึ่งมิใช่เป็นการเช่าเพื่อนำไปรับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ

“รถยนต์ส่วนบุคคล” หมายความว่า

(1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน

(2) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

“รถจักรยานยนต์” หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย

“รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล” หมายความว่า รถจักรยานยนต์ที่มิได้ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร

“รถจักรยานยนต์สาธารณะ” หมายความว่า รถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสารแต่ไม่หมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์

“รถพ่วง” หมายความว่า รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง

“รถบดถนน” หมายความว่า รถที่ใช้ในการบดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง หรือใช้รถอื่นลากจูง

“รถแทรกเตอร์” หมายความว่า รถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดันหรือฉุดลาก เป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

“เจ้าของรถ” หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ในครอบครองด้วย

“ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการตามพระราชบัญญัตินี้

“นายทะเบียน” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียน

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและผู้ตรวจการ กับออกกฎกระทรวงกำหนดในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) ลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์และของรถที่จะรับจดทะเบียนเป็นรถประเภทต่างๆ เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์ และของรถสำหรับรถประเภทดังกล่าว และการแก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียนรถที่ได้เปลี่ยนแปลงแล้ว

(2) เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถและการใช้เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น โคม เครื่องมองหลัง แตร เครื่องระงับเสียง ท่อไอเสีย เครื่องสัญญาณไฟ เครื่องปัดน้ำฝนและเครื่องอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น

(3) เครื่องสื่อสาร และการใช้เครื่องสื่อสารระหว่างรถกับศูนย์บริการหรือสถานที่อื่น

(4) แผ่นป้ายทะเบียนรถ เครื่องหมายประเภทรถและเครื่องหมายอื่น รวมทั้งวิธีแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายดังกล่าว

(5) สีและเครื่องหมายสำหรับรถยนต์สาธารณะ

(6) น้ำหนักบรรทุกอย่างมาก และจำนวนคนโดยสารอย่างมาก สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์สาธารณะ

(7) เงื่อนไขในการใช้ล้อยางตัน

(8) ประเภท ขนาด และน้ำหนักของรถที่จะไม่ให้เดินบนทางที่มิใช่ทางหลวง

(9) เงื่อนไขในการใช้รถที่มีล้ออย่างอื่น นอกจากล้อยางเดินบนทางที่มิใช่ทางหลวง

(10) ประเภทรถที่ต้องกำหนดอายุการใช้ในเขตที่กำหนด

(11) ประเภทรถที่ห้ามใช้เดินในเขตที่กำหนด

(12) การงดรับจดทะเบียนรถประเภทใดประเภทหนึ่งในเขตที่กำหนด

(13) จำนวนรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด จังหวัดต้นทางและจังหวัดปลายทางสำหรับรถยนต์ดังกล่าว

(14) อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือค่าบริการอื่น สำหรับรถยนต์สาธารณะและรถจักรยานยนต์สาธารณะ

(15) เครื่องแต่งกาย เครื่องหมาย ประวัติคนขับรถ บัตรประจำตัวคนขับรถ และการแสดงบัตรประจำตัวคนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยนต์สาธารณะ

(15/1) ข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร

(16) หลักสูตรและอุปกรณ์การสอนและการฝึกหัดขับรถของโรงเรียนฝึกหัดขับรถ

(17) ค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้

(18) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรเงินตามมาตรา 41 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด 1

การจดทะเบียน เครื่องหมาย และการใช้รถ

มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน

ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่รถที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรชั่วคราวโดยที่ผู้นำเข้าไม่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร แต่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลของประเทศที่ผู้นำเข้ามีสัญชาติ

มาตรา 7 รถที่จะขอจดทะเบียนได้ต้อง

(1) เป็นรถที่มีส่วนควบและมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และ

(2) ผ่านการตรวจสภาพรถจากนายทะเบียน หรือจากสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ในเวลาที่ขอจดทะเบียนแล้ว

ในกรณีที่ขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ หรือรถยนต์บริการทัศนาจร รถนั้นต้องมีลักษณะ ขนาด หรือกำลังของเครื่องยนต์และของรถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ขอจดทะเบียนต้องแจ้งสถานที่เก็บรถยนต์สาธารณะ หรือรถยนต์บริการซึ่งมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย

มาตรา 8 รถดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน

(1) รถสำหรับเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(2) รถของกรมตำรวจที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด

(3) รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด

(4) รถที่เจ้าของแจ้งการไม่ใช้รถตามมาตรา 34

(5) รถที่ผู้ผลิตหรือประกอบเพื่อจำหน่ายหรือที่ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ผลิต ประกอบหรือนำเข้า และยังมิได้จำหน่ายให้แก่ผู้อื่น

มาตรา 9 รถดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ

(1) รถดับเพลิง

(2) รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้าง

(3) รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ เฉพาะรถที่มิได้ใช้ในทางการค้าหรือหากำไร

(4) รถบดถนนของรัฐวิสาหกิจ

(5) รถแทรกเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ

(6) รถของสภากาชาดไทย

(7) รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย

(8) รถใช้งานเกษตรกรรมตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 10 ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้

ในกรณีที่ผู้ขอเป็นคนต่างด้าวและไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีถิ่นที่อยู่

การขอจดทะเบียนและการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 10/1 ให้อธิบดีนำหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงออกเปิดประมูลเป็นการทั่วไป และให้ถือว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอเป็นอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการใช้หมายเลขทะเบียนนั้น

การเปิดประมูลและการจดทะเบียนรถตามหมายเลขทะเบียนดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

เงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ได้จากการประมูลตามมาตรานี้ ให้นำเข้ากองทุนตามมาตรา 10/2

มาตรา 10/2 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรมการขนส่งทางบก เรียกว่า “กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุน และส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากการใช้รถใช้ถนนประกอบด้วย

(1) เงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ได้จากการประมูลตามมาตรา 10/1

(2) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน

(3) ดอกผลและรายได้จากกองทุน

(4) เงินและทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน

ให้มีคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนสองคนเป็นกรรมการและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ การบริหารกองทุนและการใช้จ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเสนองบแสดงฐานะทางการเงินภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี และประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด และเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองงบการเงินแล้ว ให้ทำบันทึกรายงานผลเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 10/3 ให้นายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้เจ้าของรถนำหมายเลขทะเบียนที่ออกให้สำหรับรถคันหนึ่งมาใช้กับรถอีกคันหนึ่ง หรือนำหมายเลขทะเบียนที่ยังไม่เคยออกให้สำหรับรถคันใดมาใช้กับรถที่จดทะเบียนแล้วได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 11 รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว

ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเจ้าของรถไม่อาจจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกได้ ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถนั้น

เจ้าของรถมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน

คำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด

มาตรา 13 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน

ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในเวลาใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ การตรวจสภาพดังกล่าวนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปให้ตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกก็ได้ และให้นำมาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย[20]

มาตรา 15 ในกรณีที่นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเห็นว่ารถใดในขณะที่ใช้มีลักษณะที่เห็นได้ว่าน่าจะไม่ปลอดภัยในการใช้ ให้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถนำรถนั้นไปให้นายทะเบียน หรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตรวจสภาพภายในเวลาที่กำหนดได้

มาตรา 15 ทวิ การตรวจสภาพรถตามมาตรา 7 (2) มาตรา 14 วรรคสอง มาตรา 15 หรือมาตรา 36 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 16 ในการย้ายรถไปไว้ต่างท้องที่ ให้เจ้าของรถแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 17 ในการโอนรถที่จดทะเบียนแล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอน

ในกรณีที่ผู้รับโอนจะนำรถตามวรรคหนึ่งออกนอกราชอาณาจักรภายในสิบห้าวันนับแต่วันโอน ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งด้วย

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง และการขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 17/1 รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้ว รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์ที่จดทะเบียนแล้วให้เป็นทรัพย์สินประเภทที่จำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

การจำนองต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด และต้องแจ้งจดทะเบียนจำนองต่อนายทะเบียน พร้อมกับการเสียค่าธรรมเนียมในการจดจำนองตามเงื่อนไข วิธีการ และอัตราค่าธรรมเนียมที่ประกาศในกฎกระทรวง

มาตรา 18 ในการนำรถออกนอกราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) การนำรถออกนอกราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามมาตรา 17 วรรคสอง

(2) การรับจ้างบรรทุกคนโดยสารออกนอกราชอาณาจักร แล้วนำรถกลับเข้ามาตามปกติกิจ

(3) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 19 ในการอนุญาตตามมาตรา 17 หรือมาตรา 18 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขใดๆ ในการให้นายทะเบียนอนุญาตและจะให้นายทะเบียนยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติหรือไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร

มาตรา 20 ผู้ใดสั่งหรือนำรถหรือเครื่องยนต์สำหรับรถเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หรือผลิตหรือประกอบรถหรือเครื่องยนต์สำหรับรถขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย ผู้นั้นต้องส่งบัญชีประจำเดือนในการรับและจำหน่ายรถหรือเครื่องยนต์สำหรับรถให้แก่นายทะเบียนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป

บัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) การใช้รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร หรือรถจักรยานยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว

(2) การใช้รถยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว โดยมีข้อความแสดงไว้ที่รถนั้นให้เห็นได้ง่ายจากภายนอกว่าใช้ในกิจการส่วนตัว

(3) การใช้รถยนต์สาธารณะบรรทุกของที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร

(3 ทวิ) การใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

(4) ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 22 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทางรับจ้างรับคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในทางที่ได้รับอนุญาตให้มีรถยนต์โดยสารประจำทางหรือในเขตจากทางนั้นไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร

ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นการรับจ้างรับส่งนักเรียน คนงาน นักท่องเที่ยว หรือการรับส่งผู้โดยสาร เป็นครั้งคราวซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน

มาตรา 23 ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าในท้องที่ใดการประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนหรือรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด สมควรให้ดำเนินการโดยบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ และต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุท้องที่สำหรับการรับจ้างดังกล่าว

ประกาศตามวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนหรือรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดซึ่งได้จดทะเบียนอยู่ก่อนวันประกาศจนกว่าจะพ้นสามปีนับแต่วันประกาศ

กำหนดเวลาสามปีตามวรรคสอง ถ้ามีเหตุผลสมควร รัฐมนตรีอาจขยายออกไปได้อีกครั้งละไม่เกินสองปี แต่จะขยายระยะเวลาเกินสองครั้งไม่ได้ การขยายระยะเวลาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 23/1 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถจักรยานยนต์เพื่อรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร เว้นแต่รถจักรยานยนต์นั้นได้จดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ

ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้เมื่อมีการปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและระเบียบที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 10

กฎกระทรวงตามวรรคสองต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการประจำจังหวัด ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลรถยนต์ การจราจร หรือการขนส่ง และบุคคลอื่นตามจำนวนที่เหมาะสม เพื่อทำหน้าที่กำหนดสถานที่รอรับคนโดยสาร เส้นทางหรือท้องที่ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร และหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะให้กับผู้ประสงค์จะจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานการขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามวรรคสอง ในการนี้อาจกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการประจำท้องที่ด้วยก็ได้

การกำหนดอายุและการเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24 ใบอนุญาตตามมาตรา 23 มีอายุสามปีนับแต่วันออกใบอนุญาตแต่อาจต่ออายุได้คราวละสามปี

ผู้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตนั้นหมดอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้ว จะประกอบการต่อไปก็ได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น

การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24/1 ในกรณีที่ใบอนุญาตตามมาตรา 23 สูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุ หากภายหลังได้ใบอนุญาตที่สูญหายคืนมา ให้ส่งใบแทนใบอนุญาตนั้นแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้คืน

การขอใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 25 ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 23 ซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้

ให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตส่งคืนใบอนุญาตแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา 26 ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตตามมาตรา 23 ไม่ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 24 หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 25 ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่งนายทะเบียน

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ รัฐมนตรีอาจอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบการไปพลางก่อนได้เมื่อมีคำขอของผู้อุทธรณ์

มาตรา 27 ผู้ใดมีรถยนต์ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับเพื่อการนั้น ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้ขับได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในการออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนออกเครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจำรถให้ด้วย

เครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจำรถ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ใช้สับเปลี่ยนกันได้ไม่เฉพาะคันรถ

มาตรา 28 ในการขับรถยนต์ตามมาตรา 27 ผู้ขับต้องบันทึกรายการดังต่อไปนี้

(1) ชื่อรถ หมายเลขตัวรถ และหมายเลขเครื่องยนต์ของรถ

(2) ความประสงค์ในการขับรถยนต์

(3) วันเดือนปี และเวลาที่นำรถออกไปขับและกลับถึงที่

(4) ชื่อและชื่อสกุลของผู้ขับ

หมวด 2

ภาษีประจำปี

มาตรา 29 ภาษีประจำปีสำหรับรถมีอัตราตามที่กำหนดไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่

(1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนมาแล้วห้าปีนับแต่ปีที่จดทะเบียนครั้งแรก ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อๆ ไปในอัตราร้อยละ ดังต่อไปนี้

ปีที่หก ร้อยละสิบ

ปีที่เจ็ด ร้อยละยี่สิบ

ปีที่แปด ร้อยละสามสิบ

ปีที่เก้า ร้อยละสี่สิบ

ปีที่สิบและปีต่อๆ ไป ร้อยละห้าสิบ

(2) รถซึ่งใช้ล้ออย่างอื่นนอกจากยางกลวง ให้เก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากอัตราที่กำหนดไว้อีกกึ่งหนึ่ง

มาตรา 29 ทวิ ในกรณีที่รถยนต์คันใดไม่ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบที่จะคำนวณความจุของกระบอกสูบได้ หรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของกระบอกสูบหรือเครื่องยนต์ ให้เทียบเป็นความจุของกระบอกสูบ หรือคำนวณความจุตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 29 ตรี ในการกำหนดความจุของกระบอกสูบของรถยนต์เพื่อชำระภาษีประจำปีให้นายทะเบียนประกาศความจุของกระบอกสูบของรถยนต์แต่ละแบบไว้ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม

ในกรณีที่ประกาศตามวรรคหนึ่งไม่ครอบคลุมถึงแบบของรถยนต์คันใดให้นายทะเบียนเก็บภาษีประจำปีโดยถือความจุของกระบอกสูบตามหนังสือคู่มือประจำรถยนต์ของรถยนต์คันนั้น ทั้งนี้ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับรอง และให้นายทะเบียนดำเนินการประกาศความจุของกระบอกสูบของรถยนต์คันดังกล่าวต่อไป

ประกาศตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 30 ให้รถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 8 และรถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามมาตรา 9 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจำปีด้วย

มาตรา 31 ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจลดภาษีประจำปีสำหรับรถในเขตท้องที่ใดหรือในกรณีใดลงจากอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 29 ได้

การลดตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 32 เจ้าของรถมีหน้าที่เสียภาษีประจำปี

ภาษีประจำปีให้เสียล่วงหน้าคราวละหนึ่งปี ถ้ามิได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าของรถนั้นชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี

รถที่ได้เสียภาษีประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีในปีนั้นอีก

มาตรา 33 ในกรณีที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทรถหรือเปลี่ยนการใช้รถผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ในระหว่างปี ถ้าเป็นเหตุให้เสียภาษีลดลง เจ้าของรถไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีส่วนที่เสียเกิน แต่ถ้าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เจ้าของรถต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นให้ครบถ้วนถูกต้องเมื่อจะต้องขอจดทะเบียน

มาตรา 34 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว แม้จะไม่ได้ใช้ก็ต้องเสียภาษีประจำปีตามมาตรา 29 หรือมาตรา 31 แล้วแต่กรณี และมาตรา 32 เว้นแต่เจ้าของรถจะแจ้งการไม่ใช้ต่อนายทะเบียนก่อนถึงกำหนดเสียภาษีประจำปีครั้งต่อไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 35 ผู้ใดมีหน้าที่เสียภาษีประจำแล้วไม่เสียภาษีประจำปีภายในเวลาที่กำหนด นายทะเบียนอาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นนำเงินไปชำระภาษีประจำปีให้ถูกต้องครบถ้วน ณ ที่ทำการของนายทะเบียนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

ในกรณีที่ผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจยึดรถนั้นไว้ได้

มาตรา 35/1 ในระหว่างที่เจ้าของรถค้างชำระภาษีประจำปี ให้นายทะเบียนมีอำนาจที่จะไม่รับดำเนินการทางทะเบียนจนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วนก่อน หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรา 35/2 วรรคสองแล้ว

มาตรา 35/2 รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีไม่ถึงสามปี หากเจ้าของรถประสงค์จะขอเสียภาษีประจำปีเพื่อใช้รถในปีนั้น ให้นายทะเบียนรับชำระภาษีนั้นได้

สำหรับภาษีที่ค้างชำระ ให้นายทะเบียนกำหนดจำนวนเงิน และระยะเวลาในการชำระตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

ในกรณีที่เจ้าของรถผิดนัดไม่เสียภาษีที่ค้างชำระตามวรรคสองให้ครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับดำเนินการทางทะเบียน จนกว่าเจ้าของรถจะเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน

มาตรา 35/3 รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบสามปี ให้การจดทะเบียนรถเป็นอันระงับไป ในการนี้ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีที่ค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด และแจ้งให้เจ้าของรถทราบ และให้บุคคลดังกล่าวส่งคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำใบคู่มือจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งและปิดประกาศดังกล่าว

ในกรณีที่เจ้าของรถมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถได้

ให้ภาระภาษีประจำปีหลังจากปีที่สามเป็นอันระงับไป แต่เจ้าของรถยังคงต้องเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน และให้นำมาตรา 35/1 และมาตรา 35/2 วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 36 นายทะเบียนมีอำนาจออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถนำรถไปตรวจ ณ ที่ทำการของนายทะเบียน หรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

มาตรา 37 นายทะเบียนและผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเข้าตรวจในที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีรถค้างชำระภาษีประจำปีและยึดรถนั้นไว้เพื่อตรวจสอบได้

การเข้าตรวจตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

มาตรา 38 ในกรณีที่ผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นผู้ตรวจและยึดตามมาตรา 37 ให้นำส่งนายทะเบียนโดยมิชักช้า และให้นำมาตรา 35 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 39 รถที่ยึดมาตามมาตรา 35 วรรคสอง หรือมาตรา 37 ให้นายทะเบียนเก็บรักษาไว้สิบห้าวัน ถ้าเจ้าของรถไม่นำเงินภาษีค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการยึดรถไปชำระให้ถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้จัดการขายทอดตลาดรถนั้น

ในการขายทอดตลาด ห้ามมิให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเข้าสู้ราคา

ถ้าขายทอดตลาดได้เงินเกินค่าภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการยึดและขายรถ ให้คืนเงินที่เหลือแก่เจ้าของรถ

มาตรา 40 ผู้ใดแจ้งความนำจับรถที่เจ้าของรถมิได้ชำระภาษีประจำปีภายในเวลาที่กำหนด เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ผู้นั้นได้รับรางวัลนำจับในอัตราร้อยละหกสิบของจำนวนเงินเพิ่มของภาษีที่ต้องชำระ

มาตรา 41 เงินภาษีประจำปีรวมทั้งเงินเพิ่มและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาลในจังหวัดนั้น เมืองพัทยาและราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด 3

ใบอนุญาตขับรถ

มาตรา 42 ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับหรือควบคุมผู้ฝึกหัดขับรถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถยนต์ตามมาตรา 57

ในกรณีที่ผู้ขับรถเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ผู้ขับรถซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นจะใช้ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 42 ทวิ ขับรถในราชอาณาจักรก็ได้ และในกรณีนี้จะต้องมีใบอนุญาตขับรถดังกล่าวพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที

มาตรา 42 ทวิ ในกรณีที่มีความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลไทย อาจใช้ใบอนุญาตขับรถของประเทศนั้นขับรถในราชอาณาจักรได้ตามประเภทและชนิดของรถที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขับรถนั้น แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ และตามบทบัญญัติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขับรถตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 43 ใบอนุญาตขับรถมีดังนี้

(1) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว

(2) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล

(3) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

(4) ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ

(5) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ

(6) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

(6/1) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

(7) ใบอนุญาตขับรถบดถนน

(8) ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์

(9) ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (8)

(10) ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี

ใบอนุญาตขับรถตาม (1) ใช้สำหรับขับรถยนต์บริการให้เช่า เฉพาะในกรณีที่ผู้ขับรถเป็นผู้เช่าได้ด้วย ใบอนุญาตขับรถตาม (2) ใช้สำหรับขับรถยนต์บริการให้เช่าได้ด้วย ใบอนุญาตขับรถตาม (4) ใช้สำหรับขับรถยนต์บริการและใช้แทนใบอนุญาตขับรถตาม (2) ได้ด้วย ใบอนุญาตขับรถตาม (5) ใช้แทนใบอนุญาตขับรถตาม (3) ได้ด้วย และใบอนุญาตขับรถตาม (6/1) ใช้แทนใบอนุญาตขับรถตาม (6) ได้ด้วย นอกนั้นใช้แทนกันไม่ได้

มาตรา 43 ทวิ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็กตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ให้ใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลตามมาตรา 43 (2) และใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะตามมาตรา 43 (4) ได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถในประเภทการขนส่งส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกให้ใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลตามมาตรา 43 (2) ได้

มาตรา 44 ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (1) มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออกใบอนุญาตขับรถ

ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (2) (3) (6) (7) (8) และ (9) มีอายุห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาตขับรถ ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) (5) และ (6/1) มีอายุสามปีนับแต่วันออกใบอนุญาตขับรถ และอาจขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้อีกคราวละห้าปีหรือสามปี แล้วแต่กรณี โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่วันครบกำหนดอายุใบอนุญาตตามวรรคสองไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถ ให้ขยายอายุใบอนุญาตต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถในปีนั้นหรือในปีถัดไป แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ใบอนุญาตขับรถครบกำหนดอายุ

ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถเกิดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และในปีที่ใบอนุญาตขับรถครบกำหนดอายุตามวรรคสองนั้นไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ให้ถือเอาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นวันครบรอบวันเกิด

การขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 45 ผู้ใดประสงค์จะขอใบอนุญาตขับรถ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่

การขอใบอนุญาตขับรถและการออกใบอนุญาตขับรถ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 46 ผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (1) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์

(2) มีความรู้และความสามารถในการขับรถ

(3) มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

(4) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

(5) ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

(6) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน

(7) ไม่มีใบอนุญาตขับรถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว

(8) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

มาตรา 47 ผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (2) (3) (4) (5) (6) หรือ (6/1) ต้อง

(1) ได้รับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43(1) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 และ

(3) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษหรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าหกเดือนแล้ว

(ก) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร

(ข) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

(ค) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

(ง) ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

(จ) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

(ฉ) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

มาตรา 48 (ยกเลิก)

มาตรา 49 ผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) (5) หรือ (6/1) ต้อง

(1) ได้รับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (1) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 แต่ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบสองปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) หรือ (5) และยี่สิบปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (6/1)

(3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 47 (3)

(4) มีสัญชาติไทย

(5) รู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถพอสมควร

(6) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(7) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ

(8) ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ความผิดฐานยักยอก ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

มาตรา 50 ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) (5) หรือ (6/1) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 49 (8) แต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า

(1) หกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือน

(2) หนึ่งปีสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือนในคดีเกี่ยวด้วยการใช้รถกระทำความผิด หรือ

(3) หนึ่งปีหกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสามปี

และได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนโดยชี้แจงถึงเหตุผลที่ตนต้องโทษพร้อมกับแสดงหลักฐานว่าตนเป็นบุคคลที่มีความประพฤติเรียบร้อยควรไว้วางใจให้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ถ้าเป็นด้วยกับคำร้องก็ให้มีอำนาจออกใบอนุญาตขับรถให้ได้โดยมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 49 (8) มาใช้บังคับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ขอทราบ

ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งยกคำร้องจากนายทะเบียน

คำสั่งของอธิบดีให้เป็นที่สุด

มาตรา 51 ผู้ขอใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (7) (8) หรือ (9) ต้อง

(1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 และ

(2) มีความรู้ความสามารถในการขับรถประเภทนั้นๆ เป็นอย่างดี

มาตรา 51/1 ผู้มีใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (2) (4) (5) (6) และ (6/1) มีสิทธิขอรับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (10)

มาตรา 52 ให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 และมาตรา 51

มาตรา 53 ผู้ใดได้รับใบอนุญาตขับรถประเภทใดแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถประเภทนั้น ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถนั้น

ให้นายทะเบียนมีอำนาจเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถมาตรวจสอบคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถประเภทนั้น

มาตรา 53/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถได้คราวละไม่เกินหกเดือน

ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะกระทำความผิดในกรณีดังต่อไปนี้ นายทะเบียนจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถเสียก็ได้

(1) กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซ้ำในข้อหาเดียวกับความผิดครั้งก่อนภายในเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ความผิดครั้งก่อนเกิดขึ้น

(2) ไม่มารายงานตนต่อนายทะเบียนตามที่นายทะเบียนสั่งเป็นหนังสือไปแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งโดยมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุสมควร

(3) เรียกเก็บค่าโดยสารหรือค่าบริการอื่นเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 53/2 ผู้ซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน

ให้อธิบดีวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ ถ้าไม่มีวินิจฉัยชี้ขาดภายในเวลาดังกล่าวให้ถือว่าอธิบดีวินิจฉัยไม่ให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามหนังสืออุทธรณ์ของผู้ขับรถ

คำสั่งของอธิบดีให้เป็นที่สุด

การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

มาตรา 53/3 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถส่งคืนใบอนุญาตนั้นแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

มาตรา 54 ผู้ใดได้รับใบอนุญาตขับรถแล้ว หากปรากฏว่า

(1) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้

(2) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

(3) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดฐานขับรถหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะเป็นภัยต่อประชาชน หรือ

(4) มีผู้กล่าวโทษว่าทำลายความสงบสุขของประชาชนในถนนหรือทางหลวง โดยขู่เข็ญ ดูหมิ่น รังแก หรือรบกวนคนขับรถด้วยกันหรือผู้โดยสาร

นายทะเบียนมีอำนาจเรียกใบอนุญาตขับรถมายึดไว้ได้ แต่ห้ามมิให้ยึดเกินหนึ่งปี

ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) (5) หรือ (6/1) เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 49 (8) ให้นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการซึ่งอธิบดีมอบหมายยึดใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (4) (5) หรือ (6/1) ตั้งแต่วันยื่นฟ้องต่อศาลจนถึงเวลาที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และในระหว่างเวลานั้นห้ามมิให้นายทะเบียนต่ออายุใบอนุญาตขับรถดังกล่าว

ในการยึดใบอนุญาตขับรถ ให้ผู้ยึดบันทึกการยึดไว้ในใบอนุญาตขับรถด้วย

มาตรา 55 ในกรณีที่ใบอนุญาตขับรถสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตขับรถยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตขับรถต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุนั้น และในกรณีที่ได้ใบอนุญาตขับรถที่สูญหายคืน ให้ส่งใบแทนใบอนุญาตขับรถนั้นแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้คืน

การขอใบแทนใบอนุญาตขับรถ และการออกใบแทนใบอนุญาตขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 56 ภายใต้บังคับมาตรา 43 และมาตรา 57 ห้ามมิให้เจ้าของรถหรือคนขับรถยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือมีใบอนุญาตขับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้ เข้าขับรถของตนหรือรถที่ตนเป็นคนขับ

มาตรา 57 ผู้ใดฝึกหัดขับรถยนต์ ต้องมีผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์มาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีควบคุมอยู่ด้วย

ในการฝึกหัดขับรถ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ฝึกหัดและผู้ควบคุมอยู่ในรถ ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้น ผู้ควบคุมต้องรับผิดทางแพ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ฝึกหัดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสอนในเวลาที่ขับอยู่นั้น

มาตรา 57 ทวิ ให้ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ผู้ขับรถหยุดรถเพื่อทำการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กับมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบนั้นได้ และเมื่อพบว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จะว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นไปรายงานตนต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับก็ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ความผิดดังกล่าวมีโทษจำคุก ให้ผู้ตรวจการนำตัวผู้นั้นส่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเพื่อดำเนินคดีต่อไป

ในการออกคำสั่งให้ไปรายงานตนต่อนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ผู้ตรวจการจะเรียกเก็บใบอนุญาตขับรถของผู้นั้นไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับรถที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบแก่นายทะเบียนภายในแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ออกคำสั่งและให้ถือว่าคำสั่งนั้นเป็นใบอนุญาตขับรถชั่วคราวภายในกำหนดเวลาที่ให้ไปรายงานตนดังกล่าว

คำสั่งให้ไปรายงานตนต่อนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 57 ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้ตรวจการแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง

บัตรประจำตัวผู้ตรวจการให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา 57 จัตวา ในขณะที่อยู่ในระหว่างการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ผู้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะจะปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารมิได้ เว้นแต่การบรรทุกนั้นน่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ปฏิเสธรับจ้างบรรทุกคนโดยสารนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร

มาตรา 57 เบญจ ผู้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะต้องพาคนโดยสารไปยังสถานที่ที่ว่าจ้างตามเส้นทางที่สั้นหรือถึงที่หมายเร็วที่สุด หรือเส้นทางที่ไม่อ้อมเกินควร และต้องส่งคนโดยสาร ณ สถานที่ตามที่ตกลงกันไว้

ห้ามมิให้ผู้ขับรถตามวรรคหนึ่ง พาคนโดยสารไปทอดทิ้งระหว่างทางไม่ว่าด้วยประการใดๆ

มาตรา 57 ฉ ในขณะขับรถ ผู้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้อง

(1) ไม่สูบบุหรี่ หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสาร

(2) ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าวหรือแสดงกิริยาในลักษณะดังกล่าวต่อคนโดยสาร

(3) ไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น

(4) ไม่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ

(5) ไม่เสพติดวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

(6) ไม่ขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ

(7) ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด 4

บทกำหนดโทษ

มาตรา 58 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงออกตามมาตรา 5 (2) (3) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (15) หรือ (16) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 58/1 ผู้ขับรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 5 (15/1) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 59 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคสองและวรรคสาม มาตรา 11 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 14 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 วรรคหนึ่ง มาตรา 21 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง มาตรา 56 หรือมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา 61 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 มาตรา 28 หรือมาตรา 35/3 วรรคหนึ่งหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 36 หรือมาตรา 53 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 62 ผู้ใดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนหรือรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดในท้องที่ที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน หรือไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 23 วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 62/1 ผู้ใดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23/1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา 63 ผู้ใดรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนหรือรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดในท้องที่ที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา 63/1 ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 23 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 63/2 ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 53/3 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 64 ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 65 ผู้ใดขับรถเมื่อใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุ หรือระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ หรือถูกยึดใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา 66 ผู้ใดขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ และสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 66/1 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการ ซึ่งสั่งตามมาตรา 57 ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 66/2 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 จัตวา มาตรา 57 เบญจ หรือมาตรา 57 ฉ (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 66/3 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 57 ฉ (3) หรือ (6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 66/4 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 57 ฉ (4) หรือ (5) ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณีอีกหนึ่งในสาม

มาตรา 66/5 ผู้ใดเรียกเก็บค่าโดยสารหรือค่าบริการอื่นเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 67 ผู้ใด

(1) ให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาต หรือเครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้แก่ตน

(2) ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถอีกคันหนึ่ง

(3) ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้แก่ผู้อื่น

(4) เปลี่ยนแปลงโดยวิธีใดๆ หรือปิดบังทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งเครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้ประจำรถ หรือ

(5) ใช้รถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามมาตรา 9 หรือยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจำปีตามมาตรา 30 หรือลดภาษีประจำปีตามมาตรา 31 ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้รับยกเว้นหรือลด

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 67 ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป

บทเฉพาะกาล

มาตรา 68 เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีประจำปี ในกรณีที่เป็นรถที่จดทะเบียนแล้ว การเสียภาษีประจำปีในปีแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาการเสียภาษีใหม่ โดยเฉลี่ยจำนวนรถที่จะต้องเสียภาษีออกไปเป็นรายเดือนตามระยะเวลาและจำนวนที่นายทะเบียนเห็นสมควร และประกาศ ณ ที่ทำการของนายทะเบียนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนดำเนินการภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การคิดภาษีเป็นรายเดือนตามวรรคหนึ่ง ให้คิดเฉลี่ยจากอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถชนิดนั้น

มาตรา 69 สำหรับรถและเครื่องอุปกรณ์ของรถอันมิชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้ที่มีอยู่แล้วในวันที่ประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา หรือที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา ให้รัฐมนตรีมีอำนาจผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี และถ้าจะอนุญาตให้ใช้ต่อไป ให้มีกำหนดเวลาไม่เกินสามปี นับแต่วันที่ประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 70 บรรดากฎกระทรวง คำสั่ง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง คำสั่ง หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 71 ในท้องที่ใดที่ได้มีการประกาศให้การประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ต้องดำเนินการโดยบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ และต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 รวมทั้งที่ได้มีการขยายระยะเวลาตามประกาศดังกล่าว ให้ถือว่าประกาศนั้นเป็นประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 23 และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการในท้องที่ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 23 และต้องดำเนินการโดยบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ต่อไป

มาตรา 72 บรรดาใบอนุญาตและใบอนุญาตขับรถยนต์ที่ออกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขับรถยนต์นั้น

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ส. โหตระกิตย์

รองนายกรัฐมนตรี

อัตราค่าธรรมเนียม

(1) คำขอ ฉบับละ 5 บาท

(2) ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ฉบับละ 100 บาท

(3) แผ่นป้ายทะเบียนรถ แผ่นละ 100 บาท

(3/1) การขอใช้หมายเลขทะเบียนรถ

(ก) การขอใช้หมายเลขทะเบียนที่ออกให้

สำหรับรถคันหนึ่งมาใช้กับรถอีก

คันหนึ่ง ครั้งละ 1,000 บาท

(ข) การขอใช้หมายเลขทะเบียนซึ่ง

ยังไม่เคยออกให้สำหรับรถคันใด

มาใช้กับรถที่จดทะเบียนแล้ว ครั้งละ 1,000 บาท

(ค) การขอใช้หมายเลขทะเบียน

ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษที่ได้จากการประมูล

ตามมาตรา 10/1 กับกรณีตาม (ก)

หรือ (ข) ครั้งละ 3,000 บาท

(4) การขอค้นทะเบียนรถหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการ

ในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียนรถ

(ก) รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท

(ข) รถอื่นนอกจาก (ก) ครั้งละ 50 บาท

(5) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ 100 บาท

(6) การย้ายรถ

(ก) รถยนต์ ครั้งละ 50 บาท

(ข) รถอื่นนอกจาก (ก) ครั้งละ 20 บาท

(7) การตรวจสภาพรถ

(ก) รถจักรยานยนต์ คันละ 10 บาท

(ข) รถอื่นนอกจาก (ก) คันละ 50 บาท

(8) ใบอนุญาตตามมาตรา 23 ฉบับละ 1,000 บาท

(9) ใบอนุญาตตามมาตรา 27 ฉบับละ 1,000 บาท

(10) เครื่องหมายพิเศษตามมาตรา 27 อันละ 100 บาท

(11) สมุดคู่มือประจำรถตามมาตรา 27 เล่มละ 100 บาท

(12) ใบอนุญาตรถยนต์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจร

ทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่ง

ประเทศไทยได้ภาคยานุวัติ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2505 ฉบับละ 1,000 บาท

(13) ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามอนุสัญญาว่าด้วย

การจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา

ค.ศ. 1949 ซึ่งประเทศไทยได้ภาคยานุวัติ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2505 ฉบับละ 500 บาท

(14) ใบอนุญาตขับรถชั่วคราว

ตามมาตรา 43 (1) ฉบับละ 500 บาท

(15) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ฉบับละ 1,000 บาท

(16) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ฉบับละ 500 บาท

(17) ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ฉบับละ 1,000 บาท

(18) ใบอนุญาตขับรถสามล้อสาธารณะ ฉบับละ 500 บาท

(19) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ฉบับละ 500 บาท

(19/1) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ฉบับละ 500 บาท

(20) ใบอนุญาตขับรถบดถนน ฉบับละ 500 บาท

(21) ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ ฉบับละ 500 บาท

(22) ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (9) ฉบับละ 500 บาท

(23) (ยกเลิก)

(24) (ยกเลิก)

(25) (ยกเลิก)

(26) (ยกเลิก)

(27) (ยกเลิก)

(28) การแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ ครั้งละ 50 บาท

(29) หนังสืออนุญาตตามมาตรา 17 วรรคสอง

หรือมาตรา 18 ฉบับละ 50 บาท

(30) ใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถ ฉบับละ 50 บาท

(31) ใบแทนใบอนุญาต ครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาต แต่ไม่เกิน ฉบับละ 100 บาท

(32) ใบแทนเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี ฉบับละ 20 บาท

(33) ใบแทนหนังสืออนุญาต ฉบับละ 25 บาท

(34) ค่าธรรมเนียมอื่น ครั้งละ 20 บาท

(35) การรับรองสำเนาเอกสาร แผ่นละ 20 บาท

(36) การต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตขับรถแต่ละฉบับ

อัตราภาษีประจำปี

(1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนให้เก็บภาษีตามความจุของกระบอกสูบรวมกันของเครื่องยนต์ของรถยนต์แต่ละคัน ในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) 600 ลูกบาศก์เซนติเมตรแรก

ลูกบาศก์เซนติเมตรละ 0.50 บาท

(ข) ส่วนที่เกิน 600 ลูกบาศก์เซนติเมตร

แต่ไม่เกิน 1,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ลูกบาศก์เซนติเมตรละ 1.50 บาท

(ค) ส่วนที่เกิน 1,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ลูกบาศก์เซนติเมตรละ 4.00 บาท

รถยนต์ตาม (1) ที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของ และมิได้ให้บุคคลธรรมดาเช่าซื้อในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อของนิติบุคคลนั้น ให้เก็บภาษีในอัตราสองเท่า

(2) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม คันละ 150 บาท

(ข) น้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750

กิโลกรัม คันละ 300 บาท

(ค) น้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000

กิโลกรัม คันละ 450 บาท

(ง) น้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250

กิโลกรัม คันละ 800 บาท

(จ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500

กิโลกรัม คันละ 1,000 บาท

(ฉ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750

กิโลกรัม คันละ 1,300 บาท

(ช) น้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000

กิโลกรัม คันละ 1,600 บาท

(ซ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500

กิโลกรัม คันละ 1,900 บาท

(ฌ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000

กิโลกรัม คันละ 2,200 บาท

(ญ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500

กิโลกรัม คันละ 2,400 บาท

(ฎ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000

กิโลกรัม คันละ 2,600 บาท

(ฏ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500

กิโลกรัม คันละ 2,800 บาท

(ฐ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000

กิโลกรัม คันละ 3,000 บาท

(ฑ) น้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000

กิโลกรัม คันละ 3,200 บาท

(ฒ) น้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000

กิโลกรัม คันละ 3,400 บาท

(ณ) น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม

ขึ้นไป คันละ 3,600 บาท

(3) รถจักรยานยนต์ ให้คำนวณภาษีประจำปีในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท

(ข) รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท

(4) รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท

(5) รถพ่วงนอกจาก (4) คันละ 100 บาท

(6) รถบดถนน คันละ 200 บาท

(7) รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

(8) รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์บริการ ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม คันละ 450 บาท

(ข) น้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750

กิโลกรัม คันละ 750 บาท

(ค) น้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000

กิโลกรัม คันละ 1,050 บาท

(ง) น้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250

กิโลกรัม คันละ 1,350 บาท

(จ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500

กิโลกรัม คันละ 1,650 บาท

(ฉ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750

กิโลกรัม คันละ 2,100 บาท

(ช) น้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000

กิโลกรัม คันละ 2,550 บาท

(ซ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500

กิโลกรัม คันละ 3,000 บาท

(ฌ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000

กิโลกรัม คันละ 3,450 บาท

(ญ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500

กิโลกรัม คันละ 3,900 บาท

(ฎ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000

กิโลกรัม คันละ 4,350 บาท

(ฏ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500

กิโลกรัม คันละ 4,800 บาท

(ฐ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000

กิโลกรัม คันละ 5,250 บาท

(ฑ) น้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000

กิโลกรัม คันละ 5,700 บาท

(ฒ) น้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000

กิโลกรัม คันละ 6,150 บาท

(ณ) น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม

ขึ้นไป คันละ 6,600 บาท

(9) รถยนต์รับจ้าง ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม คันละ 185 บาท

(ข) น้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750

กิโลกรัม คันละ 310 บาท

(ค) น้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000

กิโลกรัม คันละ 450 บาท

(ง) น้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250

กิโลกรัม คันละ 560 บาท

(จ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500

กิโลกรัม คันละ 685 บาท

(ฉ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750

กิโลกรัม คันละ 875 บาท

(ช) น้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000

กิโลกรัม คันละ 1,060 บาท

(ซ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500

กิโลกรัม คันละ 1,250 บาท

(ฌ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000

กิโลกรัม คันละ 1,435 บาท

(ญ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500

กิโลกรัม คันละ 1,625 บาท

(ฎ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000

กิโลกรัม คันละ 1,810 บาท

(ฏ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500

กิโลกรัม คันละ 2,000 บาท

(ฐ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000

กิโลกรัม คันละ 2,185 บาท

(ฑ) น้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000

กิโลกรัม คันละ 2,375 บาท

(ฒ) น้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000

กิโลกรัม คันละ 2,560 บาท

(ณ) น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม

ขึ้นไป คันละ 2,750 บาท

(10) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ในการประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกหรือรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

(ข) น้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750

กิโลกรัม คันละ 450 บาท

(ค) น้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000

กิโลกรัม คันละ 600 บาท

(ง) น้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250

กิโลกรัม คันละ 750 บาท

(จ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500

กิโลกรัม คันละ 900 บาท

(ฉ) น้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750

กิโลกรัม คันละ 1,050 บาท

(ช) น้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000

กิโลกรัม คันละ 1,350 บาท

(ซ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500

กิโลกรัม คันละ 1,650 บาท

(ฌ) น้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000

กิโลกรัม คันละ 1,950 บาท

(ญ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500

กิโลกรัม คันละ 2,250 บาท

(ฎ) น้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000

กิโลกรัม คันละ 2,550 บาท

(ฏ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500

กิโลกรัม คันละ 2,850 บาท

(ฐ) น้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000

กิโลกรัม คันละ 3,150 บาท

(ฑ) น้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000

กิโลกรัม คันละ 3,450 บาท

(ฒ) น้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000

กิโลกรัม คันละ 3,750 บาท

(ณ) น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม

ขึ้นไป คันละ 4,050 บาท

(11) รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอื่นโดยมิได้ใช้เครื่องยนต์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน ให้จัดเก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตราตาม (2)

(ข) รถอื่นนอกจาก (ก) ให้จัดเก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตาม (2) (3) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) แล้วแต่กรณี

(12) รถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพลังงานอย่างประหยัด ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้จัดเก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้

(13) รถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง ให้จัดเก็บภาษีในอัตราดังต่อไปนี้

(ก) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวเพียงอย่างเดียวในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้

(ข) ระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซธรรมชาติดังกล่าวร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราสามในสี่ของอัตราที่กำหนดไว้

ในการคำนวณน้ำหนัก ให้รวมน้ำหนักของรถและเครื่องอุปกรณ์ที่ติดกับตัวรถตามปกติแต่ไม่รวมน้ำหนักน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำ และเครื่องมือประจำรถ ถ้ามีเศษของกิโลกรัมให้ปัดทิ้ง

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 นับเป็นเวลาเกือบห้าสิบปีแล้ว และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วประมาณยี่สิบครั้ง อย่างไรก็ดียังมีบทบัญญัติอีกหลายมาตราที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและสภาพการณ์ของบ้านเมือง สมควรปรับปรุงเสียใหม่ให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป

มาตรา 5 อัตราภาษีประจำปีของรถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่รถยนต์ที่ได้เสียภาษีในปี พ.ศ. 2524 ไว้แล้ว และรถยนต์ที่ค้างชำระภาษีประจำปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์และอัตราการเก็บภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนยังไม่เหมาะสม สมควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์และอัตราภาษีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อก่อให้เกิดการใช้น้ำมันโดยประหยัดตามสภาวะของการขาดแคลนน้ำมันในปัจจุบัน นอกจากนั้น สมควรเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ดังกล่าวสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนที่นิติบุคคลบางประเภทเป็นเจ้าของ เพราะภาษีรถยนต์ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลดังกล่าวอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2525

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ “ผู้ใด” (อันหมายถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์) จะไปขอจดทะเบียนรถให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนานั้น ยังไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์และความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้ซื้อรถยนต์ในระบบ “เช่าซื้อ” การขอจดทะเบียนรถจึงตกเป็นหน้าที่ของผู้ขายคือบริษัทรถยนต์ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในที่ต่างๆ การต่อทะเบียนก็ดี การตรวจสภาพรถยนต์ก็ดี จะต้องกระทำที่นายทะเบียนในท้องที่นั้นเมื่อประชาชนซื้อรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น การกระทำตามพระราชบัญญัติรถยนต์ นี้จึงเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นก็ยากแก่การติดตามผู้กระทำความผิดเพราะเจ้าของรถและผู้ครอบครองมิใช่บุคคลคนเดียวกัน จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2527

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถ เว้นแต่รถนั้นเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นครบถ้วนถูกต้องแล้ว หากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทตามมาตรา 59 โดยมิได้แยกประเภทความผิดกรณีการใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ใช้รถในกรณีที่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีต้องได้รับโทษในอัตราเดียวกันกับกรณีการใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามมาตรา 59 ซึ่งเป็นความผิดที่เปรียบเทียบไม่ได้ สมควรกำหนดแยกประเภทความผิดเกี่ยวกับการใช้รถที่จดทะเบียนแล้วแต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี ออกจากความผิดเกี่ยวกับการใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน โดยให้มีอัตราโทษแตกต่างกันและมีอัตราโทษเหมาะสมแก่กรณีด้วย โดยกำหนดโทษสำหรับความผิดกรณีการใช้รถที่จดทะเบียนแล้วแต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ นอกจากนั้น เนื่องจากได้มีการกำหนดให้รถใช้งานเกษตรกรรมเป็น “รถ” ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนและผ่านการตรวจสอบสภาพรถ และเพื่อเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศ สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และโดยที่สมควรกำหนดให้เงินที่เป็นค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถได้นำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการผลิตแผ่นป้ายสำหรับยานพาหนะต่อไป โดยไม่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2528

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จะใช้เป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งผิดไปจากประเภทจดทะเบียนไว้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ประชาชนที่สามารถมีรถได้เพียงคันเดียวได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2528

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติและการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไว้ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้วปรากฏว่าเด็กที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดนั้นส่วนมากมีรถจักรยานยนต์ใช้เป็นพาหนะทั้งสิ้น เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถจักรยานยนต์ขับขี่ไปโรงเรียนหรือใช้ในกิจการด้านอื่นๆ เนื่องจากสถานศึกษาอยู่ห่างไกลจากบ้านมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้เด็กที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเสีย และเนื่องจากในปัจจุบันกฎหมายบัญญัติให้บุคคลที่มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชนทุกคน ดังนั้นจึงสมควรอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529

มาตรา 5 อัตราภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 29 (3) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่รถยนต์ที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีไว้แล้ว และรถยนต์ที่ค้างชำระภาษีประจำปีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ สำหรับภาษีประจำปีที่เสียไว้แล้วหรือที่ค้างชำระนั้น

มาตรา 6 รถยนต์ที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีไว้แล้วในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ หากเป็นรถยนต์ตามมาตรา 29 (3) หรือเจ้าของรถได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นรถยนต์ตามมาตรา 29 (3) อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงไว้แล้วหรือได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามมาตรา 14 ต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้เสียภาษีรถประจำปีสำหรับปีต่อไปดังต่อไปนี้

(1) ปีที่หนึ่ง ให้เสียในอัตราสองเท่าของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

(2) ปีที่สอง ให้เสียในอัตราสามเท่าของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

(3) ปีต่อไป ให้เสียในอัตราสี่เท่าของอัตราตามที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

ผู้ซึ่งได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง ไม่ต้องรับโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีรถยนต์จำนวนมากใช้หรือเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา
พระราชกำหนดนี้

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 นั้น

ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2529 (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน 2529 ที่ประชุมได้ลงมติไม่อนุมัติ

จึงประกาศมาตามความในมาตรา 157 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 12 ให้โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการรักษาการตามพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

มาตรา 13 บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งใดๆ ออกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 14 คำขออนุญาตใดๆ ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 15 บรรดาใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี

มาตรา 16 บรรดาแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถที่ออกให้แก่รถที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีครบถ้วนและถูกต้องตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้น ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 17 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน ไปเป็นของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมในการนี้สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารดังกล่าว และแก้ไขให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบปรับในความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนนอกจากนี้ สมควรแก้ไขให้สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกซึ่งเป็นของเอกชนมีส่วนในการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับรถภายในประเทศซึ่งกันและกัน และโดยที่ประเทศไทยอาจทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะมีผลให้ผู้มีใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสมาคมยานยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจากรัฐบาลของประเทศที่ประเทศไทยมีความตกลงด้วย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นขับรถในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่กับต่างประเทศตามความตกลงดังกล่าวนอกจากนี้ เห็นสมควรกำหนดให้ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนนทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่งประเทศไทยได้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2505 เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดหนึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2537

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ขับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ไม่อาจใช้ใบอนุญาตนั้นขับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ซึ่งมีความสามารถขับรถขนาดใหญ่ย่อมสามารถขับรถที่มีขนาดเล็กกว่าได้ สมควรกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ขับรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ในบางประเภทได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ในปัจจุบันได้กำหนดบทนิยามคำว่า “รถยนต์ส่วนบุคคล” ไว้ไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับหลักการเกี่ยวกับการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก นอกจากนั้น ยังมิได้กำหนดให้มีผู้ตรวจการเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวกับรถยนต์ให้เป็นไปตามกฎหมายโดยเฉพาะ ดังนั้น เพื่อให้บทนิยามคำว่า “รถยนต์ส่วนบุคคล” ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์มีความหมายชัดเจนโดยไม่มีความหมายครอบคลุมถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคนและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมซึ่งใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และเพื่อให้การตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวกับรถยนต์เป็นไปตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวทางการตรวจสอบการขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2544

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้นำรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้ามาใช้และในอนาคตมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการนำรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอื่นมาใช้ภายในประเทศด้วย แต่โดยที่พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มิได้กำหนดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถลักษณะดังกล่าวไว้ สมควรกำหนดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถลักษณะดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เป็นพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

ให้แก้ไขคำว่า “รถยนตร์” “รถจักรยานยนตร์” และ “เครื่องยนตร์” ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นคำว่า “รถยนต์” “รถจักรยานยนต์” และ “เครื่องยนต์” ทุกแห่ง

มาตรา 15 รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการดังนี้

(1) ให้นายทะเบียนประกาศหมายเลขทะเบียนพร้อมทั้งจำนวนภาษีค้างชำระไว้ ณ ที่ทำการนายทะเบียนและในสถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

(2) ให้เจ้าของรถทำความตกลงกับนายทะเบียนในการชำระภาษีค้างชำระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้มีประกาศตาม (1) โดยให้ได้รับยกเว้นเงินเพิ่ม หากมีภาษีค้างชำระเกินกว่าสามปี ให้คิดภาษีค้างชำระเพียงสามปี และให้ผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนด

(3) เจ้าของรถที่มิได้ดำเนินการตาม (2) ต้องเสียภาษีค้างชำระทั้งหมดพร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

(4) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตาม (2) รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีตั้งแต่สามปีขึ้นไปหรือรถที่ค้างชำระภาษีประจำปีไม่ถึงสามปี แต่ต่อมาภายหลังค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปี ให้ถือว่าทะเบียนรถเป็นอันระงับไป และให้เจ้าของรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนำใบคู่มือจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐานการระงับทะเบียนรถภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตาม (2) หรือนับแต่วันค้างชำระภาษีติดต่อกันครบสามปีแล้วแต่กรณี

ให้นำมาตรา 35/1 มาตรา 35/2 วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา 35/3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เจ้าของรถผู้ใดไม่ส่งคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถและนำใบคู่มือจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนตามความใน (4) ให้นำโทษตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

มาตรา 16 ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 43 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ ส่วนการต่ออายุใบอนุญาตขับรถดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

การขอใบแทนใบอนุญาตขับรถตามวรรคหนึ่ง ให้คิดค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถฉบับเดิม

มาตรา 17 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถตลอดชีพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นได้ต่อไป

การขอใบแทนใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ ให้นำมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้คิดค่าธรรมเนียมฉบับละหนึ่งร้อยบาท

มาตรา 18 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันการจดทะเบียนรถเพื่อให้ได้หมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่นิยมยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งยังมีการละเลยหรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษีประจำปี ทำให้มีภาษีประจำปีค้างชำระเพิ่มขึ้นทุกปี สมควรกำหนดให้มีการประมูลหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่นิยม อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติ และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐอีกทางหนึ่ง ตลอดจนปรับปรุงมาตรการในการจัดเก็บภาษีประจำปีที่ค้างชำระให้ได้ผลอย่างจริงจัง และปรับปรุงอายุใบอนุญาตขับรถให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 32 ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ประเภทนั้น ส่วนการต่ออายุใบอนุญาตขับรถดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ยื่นคำขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะตามมาตรา 43 (6/1) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างนั้นให้ใช้ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ดังกล่าวแทนได้

มาตรา 33 รถจักรยานยนต์ที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้

เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับถ้าประสงค์จะนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ให้ดำเนินการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์นั้นเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในระหว่างนั้นให้สามารถนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมารับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้

มาตรา 34 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้นำรถจักรยานยนต์มาใช้รับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ยังไม่มีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร สมควรกำหนดให้มีบทบัญญัติในลักษณะดังกล่าว เพื่อให้การรับจ้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และปลอดภัยแก่คนโดยสาร นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถมาตรวจสอบคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามภายหลังที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2550

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาทางด้านมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอื่นทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัจจุบันมีผู้นำรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่นโดยมิได้ใช้เครื่องยนต์มาใช้ภายในประเทศด้วย อันจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า และก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ สมควรส่งเสริมการใช้รถที่ใช้พลังงานดังกล่าวและกำหนดให้มีอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถเหล่านี้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2551

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สังหาริมทรัพย์หลายประเภทสามารถจดจำนองเป็นประกันหนี้ได้ ดังเช่น เรือกำปั่น หรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ สามารถจดจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703 ส่วนเครื่องจักรสามารถจดจำนองได้ตามกฎหมายเครื่องจักร แต่ปรากฏว่ารถยนต์ ได้แก่ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล รวมทั้งรถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์ เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงแต่ไม่สามารถจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องใช้เป็นประกันหนี้จึงต้องใช้วิธีการโอนขายแก่เจ้าหนี้ และทำเป็นสัญญาเช่าซื้อซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเป็นภาระแก่ประชาชนและผู้ประกอบการหลายล้านคนทั่วประเทศ สมควรบรรเทาภาระดังกล่าวนี้ และทำให้รถดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า มีราคา ที่สามารถจำนองเป็นประกันหนี้ได้ และผู้เป็นเจ้าของยังคงมีสิทธิ์ครอบครองใช้สอยได้ดังเดิม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สัญชัย/ผู้จัดทำ

23 มีนาคม 2552

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96/ตอนที่ 77/ฉบับพิเศษ หน้า 22/12 พฤษภาคม 2522




พระราชบัญญัติ ต่าง ๆ

พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478
พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำพ.ศ. 2505
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม