ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด

ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด

ข้อ 2. นายเขียว ทำสัญญาจ้างนายเหลือง ซึ่งมีอาชีพทนายความฟ้องนายม่วง ให้ชำระหนี้ตามเช็คจำนวน1,000,000 บาท แก่นายเขียว โดยตกลงว่านายเหลือง ต้องฟ้องร้องและว่าความให้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด คิดค่าจ้าง100,000 บาท จะชำระค่าจ้างทั้งหมดในวันที่คดีถึงที่สุด นายเหลือง ได้ฟ้องนายม่วง และว่าความให้นายเขียว โดยใช้ความรู้ความสามารถตามหน้าที่ตลอดมาจนถึงชั้นฎีกา นายเหลือง แจ้งให้นายเขียว ทราบว่า ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 1 กันยายน 2544 ให้นายเขียว ไปฟังคำพิพากษาและนำค่าจ้างไปชำระให้นายเหลือง ด้วย ครั้นถึงวันนัดนายเหลือง ไปฟังคำพิพากษา ส่วนนายเขียว ไม่ไป ปรากฏว่า ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่า นายม่วง ชำระหนี้ให้นายเขียว ครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2544 นายเหลือง แจ้งผลคดีให้นายเขียว ทราบและขอให้ชำระค่าจ้างจำนวน 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 2 กันยายน 2544 เป็นต้นไป นายเขียว ไม่ยอมชำระเงินดังกล่าวอ้างว่านายเขียว ไม่ต้องรับผิดชำระเงินนั้น เนื่องจากนายเขียว แพ้คดีและนายเขียว ยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด

ให้วินิจฉัยว่า นายเขียวต้องรับผิดชำระค่าจ้างและดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 2 กันยายน2544 แก่นายเหลืองหรือไม่

ธงคำตอบ

การที่นายเขียว ทำสัญญาจ้างนายเหลือง ให้ฟ้องนายม่วงและว่าความจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นสัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดหนี้ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องชำระต่างตอบแทนกัน โดยหนี้ที่นายเหลือง จะต้องชำระนั้นเป็นหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถในการว่าความจนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อนายเหลือง ได้ทำการฟ้องนายม่วงและว่าความโดยใช้ความรู้ความสามารถตามหน้าที่จนคดีถึงที่สุดแล้ว แม้ผลคดีนายเขียว จะแพ้คดีก็ตาม ก็ถือว่านายเหลือง ได้ชำระหนี้ส่วนของตนด้วยการกระทำต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้แล้ว นายเหลือง จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจำนวน 100,000 บาท จากนายเขียว เป็นการตอบแทนตามสัญญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 7406/2540)

ส่วนดอกเบี้ยนั้นการที่สัญญาจ้างกำหนดว่า นายเขียว จะชำระค่าจ้างทั้งหมดในวันที่คดีถึงที่สุด ถือว่าเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ แต่มิใช่กำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทินที่นายเขียว จะตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง แต่เป็นกรณีตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ที่นายเขียวจะตกเป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นนายเหลือง ได้ให้คำเตือนแล้ว นายเขียว ไม่ชำระหนี้ค่าจ้าง ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดในวันที่ 1 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันถึงกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว แต่นายเหลือง มิได้เตือนให้นายเขียว ชำระหนี้ นายเขียว จึงมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2544 นายเขียวจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 2 กันยายน 2544 แก่นายเหลืองตามที่นายเหลืองเรียกร้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 369 "ในสัญญาต่างตอบแทนนั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด"

มาตรา 204 " ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว "

 

มาตรา 204 " ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว "

 

Section 204. If the debtor does not perform after warning given by the creditor after maturity, he is in default through the warning. If a time by calendar is fixed for the performance, the debtor is in default without warning if he does not perform at the fixed time. The same rule applies if a notice is required to precede the performance, and the time is fixed in such manner that it may be reckoned by the calendar from the time of notice.

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540

จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อยอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป

สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความว่าความให้จำเลยในคดีของศาลชั้นต้นรวม 3 คดี ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 806,739 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 800,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความให้จำเลย 3 คดี โดยตกลงจะให้ค่าจ้างว่าความแก่โจทก์ 80,000 บาท หลังจากนั้นโจทก์ได้เบิกเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไปจากจำเลยเป็นเงินเกือบ 200,000 บาท และยังเบิกเงินค่าจ้างว่าความไปจากจำเลย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 50,000 บาท คดีทั้งสามคดีที่โจทก์รับว่าความให้จำเลยได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยไม่ได้สืบพยานแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ว่าความให้จำเลยชนะคดีตามที่ตกลงกัน และจำเลยต้องชำระเงินให้แก่คู่ความอีกฝ่ายเป็นเงินถึง 8,000,000 บาท โจทก์จึงตกลงไม่เรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยอีกต่อไปขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 800,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นทนายความให้ว่าความรวมสามคดี สำหรับคดีแพ่งทั้งสองคดีซึ่งรวมพิจารณาจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ส่วนคดีอาญาจำเลยขอถอนฟ้อง คดีทั้งสามคดีจึงถึงที่สุด

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า จำเลยตกลงให้สินจ้างเป็นค่าจ้างว่าความโจทก์จำนวนเท่าใด และจะต้องชำระให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ศาลฎีกาวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท

ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์จะต้องว่าความให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีทั้งสามคดีจึงจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างว่าความนั้น เห็นว่าการที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อมอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีทั้งสามคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป และเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดสินจ้างเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์เป็นเงินจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว

ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์อ้างว่าข้อตกลงที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความมีข้อตกลงว่าจำเลยจะจ่ายค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์ ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลยนั้น เป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเป็นเงื่อนไขอันสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เห็นว่าสัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน ข้อตกลงตามสัญญาจ้างว่าความจึงเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันเมื่อโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 144 (เดิม) มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

พิพากษายืน