ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้

ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้

ข้อ 8. นายมิตรและนางสาวมุ้ย ต่างมีอายุ 25 ปี ทำสัญญาหมั้นกัน โดยนายมิตร ได้มอบแหวนเพชร 1 วง ราคา 200,000 บาท ให้แก่นางสาวมุ้ย เป็นของหมั้น แล้วนายมิตรกับนางสาวมุ้ย ก็อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดย นางสาวมุ้ย ลาออกจากงานซึ่งขณะนั้นได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท เพื่อช่วยนายมิตร ทำการค้าที่บ้านนายมิตร ครั้นถึงกำหนดวันจดทะเบียนสมรส ตามที่ตกลงกันไว้แล้ว นายมิตร ไม่ยอมไปจดทะเบียน กลับนำหญิงอื่นเข้ามาอยู่กินในบ้านและขับไล่นางสาวมุ้ย นางสาวมุ้ย จึงกลับไปอยู่กับนางแม้นมารดา ต่อมานายมิตร ยอมใช้ค่าทดแทนความเสียหายในการที่นางสาวมุ้ย มาอยู่กินกับนายมิตร ให้แก่นางสาวมุ้ยเป็นเงิน 200,000 บาท โดยรับสภาพเป็นหนังสือไว้ หลังจากนั้นนางสาวมุ้ย ก็ถึงแก่ความตาย ซึ่งขณะถึงแก่ความตายคงมีแต่นางแม้นและนายมุ่ง น้าของนางสาวมุ้ย มีชีวิตอยู่เพียง 2 คนเท่านั้น

ให้วินิจฉัยว่า นางแม้น และนายมุ่ง มีสิทธิในแหวนเพชรของหมั้น ค่าทดแทนความเสียหายตามหนังสือรับสภาพ กับค่าทดแทนความเสียหายที่นางสาวมุ้ย ลาออกจากงานหรือไม่ เพียงใด

ธงคำตอบ

นางแม้นและนายมุ่ง ต่างเป็นมารดาและน้าของนางสาวมุ้ยผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (2) และ 1629 (6) ตามลำดับ แต่นายมุ่ง เป็นทายาทที่อยู่ลำดับถัดลงไปจากนางแม้น ย่อมไม่มีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง นางแม้นจึงเป็นทายาทโดยธรรมของ
นางสาวมุ้ย แต่ผู้เดียว

การที่นายมิตรกับนางสาวมุ้ย หมั้นกันโดยที่ทั้งสองฝ่ายมีอายุเกินกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ทั้งไม่ได้เป็นผู้เยาว์และนายมิตร ได้ส่งมอบแหวนเพชรให้แก่นางสาวมุ้ย เป็นของหมั้น การหมั้นจึงทำได้และสมบูรณ์ตามมาตรา 1435 วรรคหนึ่ง และ 1437 วรรคหนึ่ง ของหมั้นจึงตกเป็นสิทธิของนางสาวมุ้ย ตามมาตรา 1437 วรรคสอง เมื่อนายมิตร ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ถือว่านายมิตร ผิดสัญญาหมั้น นางสาวมุ้ย ไม่ต้องคืนของหมั้นตามมาตรา 1439 ของหมั้นย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังนางแม้น

การที่นางสาวมุ้ย ไปอยู่กินร่วมกันกับนายมิตรฉันสามีภริยา ทั้งยังถูกนายมิตรขับไล่ ย่อมเป็นเหตุให้นางสาวมุ้ย ได้รับความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ตามมาตรา 1440 (1) (คำพิพากษาฎีกาที่ 982/2518) และการที่นางสาวมุ้ย ลาออกจากงานเพื่อช่วยนายมิตรทำการค้า ถือว่าเป็นกรณีที่สมควร นางสาวมุ้ย ย่อมได้รับความเสียหายตามมาตรา 1440 (3) (คำพิพากษาฎีกาที่ 3366/2525) นายมิตรจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายทั้งสองประการแก่นางสาวมุ้ย ตามมาตรา 1439 ซึ่งสิทธิที่เรียกร้องดังกล่าวไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท แต่สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงนั้น เนื่องจากนายมิตรได้รับสภาพไว้เป็นหนังสือแล้ว สิทธิเรียกร้องเฉพาะส่วนนี้ย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังนางแม้น ตามมาตรา 1447 วรรคสอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 1629 "ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635"

มาตรา 1630 "ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร "1435 "การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว

การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ "

มาตรา 1437 "การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

 

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1439 "เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย"1440 "ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้

(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้ "

มาตรา 1447 "ค่าทดแทนอันจะพึงชดใช้แก่กันตามหมวดนี้ ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามหมวดนี้นอกจากค่าทดแทนตาม มาตรา

1440 (2) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้น จะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือ หรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธิ นั้นแล้ว "

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  982/2518

ชายหญิงหมั้นกันโดยตกลงว่า เมื่อทำพิธีแต่งงานกันแล้วจะไปจดทะเบียนสมรสภายใน 15 วัน แต่เมื่อได้ทำพิธีแต่งงานและได้อยู่ร่วมกัน 46 วันแล้ว ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิงแต่กลับขับไล่หญิงให้กลับไปอยู่บ้านบิดาเช่นนี้ชายผิดสัญญาหมั้น เป็นเหตุให้หญิงต้องได้รับความอับอายขายหน้า เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงและร่างกายชายต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)

โจทก์ชนะคดี 1 ใน 3 ของคำฟ้อง ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนตามฟ้องก็ได้เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลฎีกาไม่แก้ไข

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3366/2525

 จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439,1440

การกำหนดค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการศึกษาอาชีพและรายได้ของโจทก์ฐานะของครอบครัวของโจทก์และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจน มีบุตรแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงทั้งเป็นการยากที่จะทำการสมรสใหม่

ก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่บริษัทฯ เมื่อแต่งงานแล้วโจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ได้แต่ต่อมาโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แม้จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้แน่นอน โจทก์จึงเรียกไม่ได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยได้หมั้นกันโดยสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์จำเลยได้แต่งงานและอยู่กินร่วมกันตลอดระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน โจทก์ได้ขอร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยอ้างว่ายังไม่มีเวลาและขอผัดผ่อนเรื่อยมา ต่อมาโจทก์คลอดบุตรซึ่งเกิดจากจำเลย โจทก์ขอร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อีก แต่จำเลยก็เพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาหมั้นทำให้โจทก์ต้องอับอายได้รับความเสียหายทั้งทางกายและจิตใจ และเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์และครอบครัว โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายในข้อนี้ 300,000บาท ขณะจำเลยไปสู่ขอและหมั้นกับโจทก์ โจทก์ทำงานอยู่ที่บริษัทแฟร์เท็กซ์การ์เมนท์ จำกัด ต่อมาโจทก์ได้ลาออกจากงานโดยมุ่งหวังจะช่วยจำเลยทำมาค้าขายและเพื่อความอบอุ่นในครอบครัว ทำให้โจทก์ขาดผลประโยชน์รายได้ ขอคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 54,000 บาท จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในค่าเลี้ยงดูบุตร ขอคิดเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โจทก์ได้ซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสมรสเป็นเงิน34,000 บาท ทรัพย์ดังกล่าวขณะนี้อยู่ที่บ้านจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนให้และจำเลยขอยืมเงินส่วนตัวโจทก์ไป 40,000 บาท จำเลยยังไม่ยอมใช้คืนขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยได้หมั้นและสมรสตามประเพณีกับโจทก์จนกระทั่งมีบุตร 1 คน เหตุที่โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันไม่ได้ก็เพราะหลังจากโจทก์คลอดบุตรแล้วพี่สาวโจทก์กับมารดาโจทก์ได้ยุแหย่ให้เกิดความแตกร้าวในครอบครัวโจทก์ได้หลบหนีออกจากบ้าน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยไม่เคยยืมเงินโจทก์เงิน 40,000 บาท คือค่าสินสอดที่ทั้งสองฝ่ายได้ออกสมทบเป็นทุนตามประเพณี ในระยะที่โจทก์ตั้งท้องและคลอดบุตรก็ได้ใช้สอยร่วมกันไปบ้าง เหลืออยู่ประมาณ 8,000 บาท โจทก์ได้นำติดตัวไปเมื่อครั้งออกจากบ้าน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจปกครองบุตร การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงขอคิดจากโจทก์ 100,000 บาท จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานสมรส335,000 บาท ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ส่งบุตรมาอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยกับให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ก่อนออกจากบ้านจำเลย โจทก์ไม่ได้เอาทรัพย์สินของจำเลยติดตัวไปแต่อย่างใด คำขอของจำเลยที่ขอให้บุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จำเลยไม่ได้เสียชื่อเสียงค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสสูงกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว โจทก์ไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ฟ้องแย้งของจำเลยเคลือบคลุม

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นเป็นเงิน 231,700 บาท ให้จำเลยคืนทรัพย์อันดับ 1-6 ตามฟ้องให้โจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคารวม 29,300 บาท แก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439, 1440 ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้น ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์โดยพิเคราะห์ถึงการศึกษา อาชีพและรายได้ของโจทก์ ฐานะของครอบครัวของโจทก์และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจนมีบุตร แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยโจทก์ต้องได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงทั้งเป็นการยากที่จะสมรสใหม่และตามประเพณีจีนหญิงที่แต่งงาน 2 ครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอายมากจึงกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว

ส่วนค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่โจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่ที่บริษัทแฟร์เท็กซ์การ์เมนท์ จำกัด เมื่อแต่งงานกับจำเลยแล้วประมาณ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ได้ ส่วนระยะเวลาหลังจากโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แล้วย่อมไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทดแทนให้อีก แม้โจทก์จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้อย่างแน่นอน

สรุปแล้ว จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนให้โจทก์คือค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์ 200,000 บาท ค่าทดแทนเนื่องจากการเตรียมการสมรส 4,700 บาท และค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่โจทก์จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส14,567 บาท

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 219,267 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง
ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ความเสียหายที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิด
ทางจำเป็นสิ้นความจำเป็น-ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องขับไล่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน