ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย

 การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย 

ข้อ 4. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณา หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า

กรณีที่หนึ่ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และทนายจำเลยมาศาล แต่ตัวจำเลยไม่มาศาลทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าจำเลยป่วย โจทก์แถลงไม่คัดค้านและแถลงว่าหากทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารที่โจทก์ให้ดู โจทก์ก็ไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ทนายจำเลยแถลงรับว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามเอกสารดังกล่าว โจทก์จึงแถลงไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือ ศาลชั้นต้นอนุญาตและจดรายงานกระบวนพิจารณาไปตามที่โจทก์และทนายจำเลยแถลงข้างต้น และให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย

กรณีที่สอง ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์มาศาล จำเลยและทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มีผู้ใดมาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนีและไม่ติดใจสืบพยานจำเลยต่อไป คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา และให้นัดฟังคำพิพากษา

ให้วินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในกรณีที่หนึ่ง และกรณีที่สองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคำตอบ

กรณีที่หนึ่ง การพิจารณาและสืบพยบานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง เช่น กรณีตามมาตรา 172 ทวิ วรรคหนึ่ง (1) - (3) เป็นต้น คดีนี้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาลโดยทนายจำเลยขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยอนุญาตให้ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริง และโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 172 วรรคหนึ่ง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 651/2549)

กรณีที่สอง การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยก็ต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยมีพฤติการณ์หลบหนี ก็ชอบที่จะออกหมายจับจำเลย โดยศาลชั้นต้นไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยได้ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยมีคำสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนีและไม่ติดใจสืบพยานจำเลยต่อไป คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา และให้นัดฟังคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 172 วรรคหนึ่ง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป

ในการสืบพยาน เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย ภาวะแห่งจิตของพยานหรือความเกรงกลัวที่พยานมีต่อจำเลยแล้ว จะดำเนินการโดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้ซึ่งอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา และจะให้สอบถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่พยานไว้วางใจด้วยก็ได้

ในการสืบพยาน ให้มีการบันทึกคำเบิกความพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงซึ่งสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของการบันทึกได้ และให้ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาใช้การบันทึกดังกล่าวประกอบการพิจารณาคดีด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามวรรคสามและวรรคสี่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 172 ทวิ ภายหลังที่ศาลได้ดำเนินการตามมาตรา 172 วรรค 2 แล้ว เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การดำเนินการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(1)ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสิบปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยมีทนายและจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยาน

(2) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคำแถลงของโจทก์ว่า การพิจารณาและการสืบพยานตามที่โจทก์ขอให้กระทำไม่เกี่ยวแก่จำเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยคนนั้นก็ได้

(3) ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจะพิจารณาและสืบพยานจำเลยคนหนึ่งๆ ลับหลังจำเลยคนอื่นก็ได้

ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (2) หรือ (3) ลับหลังจำเลยคนใด ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณา และการสืบพยาน ที่กระทำลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่จำเลยคนนั้น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549

การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์พยานโจทก์ร่วม หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ

ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 และนับโทษของจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1523/2541 ของศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 2 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

ระหว่างพิจารณาบริษัทพีเอเอส ปิโตรเลียม จำกัด ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิด (ที่ถูกมีความผิด) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (ที่ถูกประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท รวม 12 กระทง เป็นเงิน 120,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจำคุก 12 เดือน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนคำขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1523/2541 ให้ยกเนื่องจากคดีดังกล่าวระงับโดยผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "เห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า การที่ศาลชั้นต้นให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงตามบัญชีของกลางคดีอาญาเอกสารหมาย จ. 35 และ จ. 36 และโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานพร้อมแถลงหมดพยาน กับโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและผู้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มาศาล ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2543 และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2543 ซึ่งเป็นวันสืบพยานโจทก์ว่า โจทก์และทนายจำเลยทั้งสองมาศาล ส่วนโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 2 ทราบนัดแล้วไม่มา ทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีอ้างเหตุจำเลยที่ 2 ป่วย โจทก์แถลงไม่ค้าน และได้ให้ทนายจำเลยทั้งสองดูบัญชีของกลางคดีอาญาเอกสารหมาย จ. 35 และ จ. 36 หากทนายจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานและติดใจสืบเพียงเท่านี้ ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามเอกสารดังกล่าว และตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 ซึ่งเป็นวันสืบพยานโจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองว่า โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วม ทนายโจทก์ร่วมและทนายจำเลยทั้งสองมาศาล ส่วนจำเลยที่ 2 ทราบนัดแล้วไม่มา ทนายโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยที่ 2 ป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก เห็นว่า การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์ พยานโจทก์ร่วม หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร จะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยานนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ คดีนี้ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้วศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกามา"

พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยทั้งสองแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60(วิชาวิธีพิจารณาความอาญา)

การจับในที่รโหฐานและการค้นโดยเจ้าของเชื้อเชิญ
อำนาจจัดการแทน "ผู้เสียหาย" ของ ผู้บุพการี
สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องทางแพ่ง
การสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้รัฐจัดหาทนายความให้
ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร
อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
วันตรวจพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การร่างพินัยกรรม
การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา