ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เช็คขีดคร่อมทั่วไปโอนกันได้

 เช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายมิได้ระบุห้ามโอนจึงโอนกันได้-ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน

ข้อ 6. นายมั่นออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าระบุชื่อนายคง เป็นผู้รับเงิน ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" และขีดคร่อมไว้ ชำระหนี้ค่าสินค้าแก่นายคง นายคงลงลายมือชื่อที่ด้านหลังเช็คโดยไม่เขียนข้อความใด ๆ แล้วส่งมอบแก่นายเพชร ชำระหนี้เงินยืม นายเพชร มีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนจึงนำเช็คไปแลกเงินสดจากนายนาก โดยนายเพชรกรอกข้อความเหนือลายมือชื่อของนายคง ว่า "โอนให้นายนาก" นายนาก นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายนาก ทวงถาม นายมั่นต่อสู้ว่าเช็คที่ตนสั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ นายนาก ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนนายคง ต่อสู้ว่า นายเพชร กรอกข้อความว่า "โอนให้นายนาก" โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายคง การโอนจึงไม่ชอบ นายนาก ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) ข้อต่อสู้ของนายมั่น และนายคงฟังขึ้นหรือไม่

(ข) นายมั่น นายคง และนายเพชร มีความรับผิดตามเช็คหรือไม่

ธงคำตอบ

(ก) เช็คที่นายมั่น สั่งจ่ายแม้จะมีการขีดคร่อมแต่มิได้มีคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" หรือคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกันที่ด้านหน้าของเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 เมื่อเช็คที่นายมั่น สั่งจ่ายมิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ ตามมาตรา 917 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 989 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2485/2523 และ 1015/2532) ข้อต่อสู้ของนายมั่น ฟังไม่ขึ้น

นายคง ลงลายมือชื่อที่ด้านหลังเช็คโดยไม่เขียนข้อความใด ๆ และส่งมอบเช็คให้แก่นายเพชร การสลักหลังย่อมสมบูรณ์ซึ่งเรียกว่าสลักหลังลอย ตามมาตรา 919 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 989 นายเพชร จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายเพชรประสงค์จะโอนเช็คต่อไป นายเพชร อาจกรอกข้อความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่งที่ตนประสงค์จะให้ได้รับโอนเช็ค และส่งมอบเช็คให้แก่ผู้รับโอนได้ ตาม มาตรา 920 (1) ประกอบ มาตรา 989 ดังนั้น การที่นายเพชร กรอกข้อความเหนือลายมือชื่อของนายคง ว่า "โอนให้นายนาก" และส่งมอบเช็คแก่นายนาก นายนากจึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อต่อสู้ของนายคง ฟังไม่ขึ้น

(ข) นายมั่น ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนายคง ผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900, 914, 989 การที่นายเพชร เพียงแต่กรอกข้อความเหนือลายมือชื่อของนายคง ว่า "โอนให้นายนาก" โดยนายเพชร มิได้ลงลายมือชื่อในเช็ค จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็ค

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการ โอนสามัญ

อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋ว นั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายใด แห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงิน นั้นต่อไปอีกได้

มาตรา 989 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับ สภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 910,มาตรา 914 ถึง มาตรา 923,มาตรา 925,มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 940, มาตรา 945,มาตรา 946,มาตรา 959มาตรา 967,มาตรา 971

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา มาตรา 924,มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973 ถึง มาตรา 977,มาตรา 980

มาตรา 919 คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำ ต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไร ยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ในประจำต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกันการ สลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า "สลักหลังลอย"

มาตรา 920 อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ ตั๋วแลกเงิน

ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่ง ประการใดก็ ได้ คือ
(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่น ผู้ใดผู้หนึ่ง
(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้ แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอก โดยไม่กรอกความลง ในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมี พยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน นั้นไม่

มาตรา 914 บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอัน สัญญาว่าเมื่อตั๋วนั้นได้นำยื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรอง และใช้เงินตาม เนื้อความแห่งตั๋วถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรอง ก็ดีหรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้า หากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2523

เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือ ย่อมเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับโอนให้โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าขายลดเช็คให้จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำสัญญาขายลดเช็คและมอบเช็คที่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ร่วมกันเป็นผู้สั่งจ่ายรวม 5 ฉบับไว้กับโจทก์ รับเงินไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันสลักหลังเช็คทั้ง5 ฉบับ แต่ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ ขอศาลบังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดเช็คกับโจทก์

จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 4 ที่ 5 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 ออกเช็คทั้งห้าฉบับเป็นการประกันหนี้และชำระหนี้นั้นแล้ว จึงไม่มีมูลหนี้ โจทก์ทราบเรื่องดี แต่รับโอนเช็คไว้โดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 4 ที่ 5

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงินตามเช็คหมาย จ.11จำนวนเงิน 200,000 บาท หมาย จ.12 จำนวนเงิน 250,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์และให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็คหมาย จ.5, จ.7, จ.9 จำนวนเงิน 250,000 บาท, 250,000 บาท และ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยที่ 4 ที่ 5 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 รับผิดชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามเช็คหมาย จ.11, จ.12 แก่โจทก์ด้วย

จำเลยที่ 4 ที่ 5 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 ฎีกาข้อต่อไปว่า โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเงินตามเช็คเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 เช็คพิพาทจึงยังไม่ได้เปลี่ยนมือ โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คไม่มีอำนาจฟ้องเห็นว่าเช็คพิพาทหมาย จ.11 และ จ.12 เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือ ย่อมเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับโอนให้โจทก์ และโจทก์ได้ชำระเงินค่าขายลดเช็คให้จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คหมาย จ.11 และ จ.12 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แม้นายลิขิตพยานโจทก์จะเบิกความว่า ได้เรียกเก็บเงินตามเช็คในนามของจำเลยที่ 1 และเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น คงหมายถึงเช็คหมาย จ.5, จ.7 และ จ.9 ซึ่งเป็นเช็คขีดคร่อมมีข้อความว่า A/C Payee only เป็นทำนองห้ามเปลี่ยนมือเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คให้รับผิดได้

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2532

เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่บริษัท พ. หรือผู้ถือแม้จะมีการขีดคร่อมแต่มิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ

โจทก์ฟ้องว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนาเงินทุน จำกัดนำเช็ค 7 ฉบับ ซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายมาขายลดแลกเงินสดไปจากโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คฉบับละ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเรียกเก็บเงินไม่ได้จนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อลดเช็คทั้ง 7 ฉบับด้วยการโอนที่ไม่สุจริตโดยคบคิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนาเงินทุน จำกัด ฉ้อฉลจำเลยขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 700,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900วรรคแรกบัญญัติว่า "บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น" และตามมาตรา 916 ก็บัญญัติไว้ว่า"บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกัน เฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล" ซึ่งตามมาตรา 989 ให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คด้วย ดังนั้นจำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนาเงินทุน จำกัด ที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปประกันเงินกู้ไว้มายันโจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทไม่ได้เว้นแต่จำเลยจะนำสืบได้ว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลพยานหลักฐานของจำเลยตามที่นำสืบมา คงรับฟังได้แต่เพียงว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนาเงินทุน จำกัด ตกลงกับจำเลยว่าจะคืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลย เนื่องจากหนี้สินที่เช็คพิพาทเป็นประกันไว้ได้ระงับแล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และเป็นข้อต่อสู้ที่เป็นความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พัฒนาเงินทุน จำกัด หรือผู้ถือ ถึงแม้ว่าจะมีการขีดคร่อมแต่มิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบจะให้โจทก์ทราบได้อย่างไรว่าจำเลยได้ใช้เช็คพิพาทเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์รับเช็คพิพาทไว้ด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้เสียหายมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดความเสียหาย
การรอนสิทธิ -ทรัพย์สินซึ่งขายชำรุดบกพร่อง
อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกัน
ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการให้รับผิด
เจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมมรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน
การซื้อขายตาม INCOTERMS แบบ DDP
ที่งอกริมตลิ่ง- สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก