ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม

สามีทำสัญญากู้ยืมเงินภริยาหนังสือให้ความยินยอมสามีทำนิติกรรมซื้อจำนองเป็นหนี้ร่วม 

สามีทำสัญญากู้ยืมเงินเจ้าหนี้โดยภริยาได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุว่า  ภริยายินยอมให้สามีทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าภริยาร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและภริยาให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีกับภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ภริยาจึงต้องร่วมกับสามีผู้กู้ รับผิดต่อเจ้าหนี้

ในสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า กรณีผู้กู้ผิดสัญญา ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีนับแต่วันผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 16.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 19 ต่อปี เมื่อลูกหนี้ผิดนัด แสดงว่าการที่มีข้อตกลงกันว่าผู้กู้ผิดนัดยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2550

 แม้สัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุให้ดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัว ซึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลา ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่สัญญาข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเมื่อไม่ปรากฏว่านับแต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ถึงวันที่โจทก์บังคับจำนำ โจทก์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงินตามสัญญาข้อ 2 แต่ปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 16.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 11 ซึ่งกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยส่วนที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

      โจทก์บังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินโดยคิดเบี้ยปรับย้อนหลังแก่จำเลยที่ 1 ไปถึงวันทำสัญญาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระหนี้เป็นเวลา 1 เดือน เป็นการบังคับชำระหนี้เกินไปกว่าความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ จึงต้องหักเงินเบี้ยปรับส่วนที่เกินดังกล่าวออกจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์ด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

       จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์

       โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้ารับผิดชดใช้เงินตามสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำนวน 800,016.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 649,926.91 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 และที่ดินโฉนดเลขที่ 3396, 3409 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์หากได้เงินสุทธิไม่พอชำระให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ชดใช้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน

      จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ และจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณา

      จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกันชำระเงินต้นจำนวน 649,926.91 บาท ให้แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 21 ตุลาคม 2542) ต้องไม่เกิน 117,593.53 บาท หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 3396, 3409 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1, ที่ 3 ถึงที่ 5 ออกขายทอดตลาดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ (ที่ถูกหากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1, ที่ 3 ถึงที่ 5 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ กับให้จำเลยที่ 1, ที่ 3 ถึงที่ 5 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์) โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก สำหรับจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อแรกว่า ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16.25 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ เห็นว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 2 ระบุว่า ผู้กู้ (จำเลยที่ 1) ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ (โจทก์) ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี โดยกำหนดชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 3 ของทุกๆ เดือน งวดแรกชำระวันที่ 3 พฤษภาคม 2541 และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งผู้กู้ตกลงและยิมยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้สูงขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลา แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส่วนสัญญาข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดเป็นเหตุให้ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ผู้กู้ใช้เงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้ ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา เมื่อไม่ปรากฏว่านับแต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ถึงวันที่โจทก์บังคับจำนำ โจทก์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินตามสัญญาข้อ 2 แต่ประการใด การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 11 ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยส่วนที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดอัตราดอกเบี้ยในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16.25 ต่อปี ชอบแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

นอกจากนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์คิดเบี้ยปรับย้อนหลังแก่จำเลยที่ 1 ในขณะที่บังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินย้อนหลังไปถึงวันทำสัญญาวันที่ 3 เมษายน 2541 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการบังคับชำระหนี้เกินไปกว่าความรับผิดที่จำเลย 1 จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นเวลา 1 เดือน คิดเป็นเงินเบี้ยปรับส่วนเกินจำนวน 1,489.58 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวออกจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์ด้วย คงเหลือต้นเงินจำนวน 648,437.33 บาท ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อสุดท้ายว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ดังนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้หนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวแก่โจทก์

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงินจำนวน 648,437.33 บาท แก่โจทก์ และหากยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  มาตรา 379 ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดีหรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ถ้าการชำระหนี้อันจะพึงทำนั้นได้แก่งดเว้นการอันใดอันหนึ่งหากทำการอันนั้นฝ่าฝืนมูลหนี้เมื่อใดก็ให้ริบเบี้ยปรับเมื่อนั้น

   มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

 

หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนเป็นหนี้ร่วม

 

หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่ภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส และเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว,การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีและภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) แม้ภายหลังภริยากับสามีได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งสินสมรสกันก็ไม่กระทบสิทธิของเจ้าหนี้(ผู้ให้กู้) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะดำเนินการบังคับคดีแก่เงินในบัญชีเงินฝากของสามีได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของสามี(เงินสินสมรสที่แบ่งกันแล้ว)เพื่อนำมาชำระหนี้ได้