ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา | จำคุก 6 เดือนปรับสองหมื่นบาท

  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์ข้อความมีหัวข้อข่าวว่า “แฉชัด ๆ “ชวน” บอกให้ปกปิด” ข้อความดังกล่าวมีความหมายธรรมดาว่าโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2548

 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์ข้อความมีหัวข้อข่าวว่า “แฉชัด ๆ “ชวน” บอกให้ปกปิด” ส่วนเนื้อข่าวมีข้อความว่า “ร้อยตำรวจเอกเฉลิมกล่าวว่า คดีบีบีซีเกิดขึ้น นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีการคดโกงธนาคารบีบีซี นายชวนหลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นทราบ ก็มีการบอกให้ปกปิดไว้อย่าพูดอะไร ตัวเองก็ยิ้มเงียบ อย่างนุ่มนวล รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แต่ละคนผูกไทใส่สูทพูดเพราะอย่างเดียว สื่อมวลชนก็ชื่นชม...” ข้อความที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาลงพิมพ์ดังกล่าวมีความหมายธรรมดา ประชาชนทั่วไปเข้าใจความหมายได้ว่า โจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารบีบีซี ทั้ง ๆ ที่นายธารินทร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รายงานเรื่องการทุจริตดังกล่าวให้ทราบแล้ว แต่โจทก์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการทั้งยังบอกให้นายธารินทร์ปกปิดเรื่องการทุจริตไว้ไม่ให้เปิดเผย มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากการอภิปรายในรัฐสภา และจำเลยที่ 2 มาลงพิมพ์โฆษณาเผยแพร่โดยมิได้เสริมแต่งข้อความหรือสอดแทรกความคิดเห็นก็ไม่ทำให้ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

     โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 13 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐด้วยข้อความว่า “คดีบีบีซีเกิดขึ้น นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีการคดโกงธนาคารบีบีซี นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นทราบ ก็มีการบอกว่าให้ปกปิดไว้ อย่าไปพูดอะไร ตัวเองก็ยิ้มเงียบๆ อย่างนุ่มนวล รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แต่ละคนผูกไทใส่สูทพูดเพราะอย่างเดียว สื่อมวลชนก็ชื่นชม” และได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ในระหว่างบรรยายให้คณะสงฆ์ที่วัดสามพระยาฟังด้วยข้อความว่า “คดีบีบีซีนั้น เวลานี้นายชวน หลีกภัย ออกมาด่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ทั้งๆ ที่ตัวเองรู้ว่ามีการกระทำผิดแต่กลับหมักหมมเอาไว้ ตัวเองและนายสมัคร สุนทรเวช จึงต้องมาต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ เฉลิมกับสมัคร รวมกันเมื่อไรก็เหมือน รักกับยม ไม่มีทางแพ้ เรื่องบีบีซี นั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดำเนินการเต็มที่ รัฐบาลต้องการเอาทรัพย์สินของประเทศชาติกลับคืนมา รัฐบาลนี้จะทำอย่างตรงไปตรงมาว่าใครผิดบ้าง ไม่ให้เหมือนรัฐบาลประชาธิปัตย์ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบเรื่องแล้วรายงานให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีทราบ แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ คดีบีบีซีที่เกิดขึ้น คุณธารินทร์ รมว. คลัง รู้ว่ามีการคดโกง รายงานให้นายชวนทราบ คุณชวนก็บอกว่าให้ปกปิดไว้ อย่าไปพูดอะไร โดยตัวเองก็นั่งยิ้มเงียบๆ อย่างนุ่มนวล รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แต่ละคนผูกไทใส่สูทพูดเพราะอย่างเดียว...รัฐบาลชวนกวาดขยะบีบีซีไว้ใต้พรมเมื่อเปิดดูก็กวาดจนฝุ่นฟุ้ง มาถึงรัฐบาลบิ๊กจิ๋วก็จะทำให้สะอาด ใครเอาเงินไปก็ต้องเอากลับมาคืนให้ได้” โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2540 การให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 และการเสนอข่าวคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามทำให้ผู้ฟังคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 และผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เข้าใจว่า โจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่ดำเนินการสอบสวนหรือหาตัวผู้กระทำผิดเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) ทั้งๆ ที่นายธารินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นได้รายงานเรื่องการทุจริตดังกล่าวให้ทราบแล้วแต่โจทก์กลับเพิกเฉย ไม่ดำเนินการแต่ประการใด ทั้งยังบอกให้นายธารินทร์ปกปิดเรื่องการทุจริตไว้โดยมิให้ไปเปิดเผย ณ ที่ใด โจทก์มีพฤติกรรมเหมือนกวาดขยะซุกไว้ใต้พรมซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จทั้งสิ้น การให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 และการเสนอข่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากผู้ฟังการให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 และจากประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แขวงคลองตันเหนือ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และทุกแขวงทุกเขตทั่วกรุงเทพมหานคร และทุกตำบลทุกอำเภอทั่วราชอาณาจักร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332, 83 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ไทยโพสต์ เดลินิวส์ สยามโพสต์ และมติชน ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถลงโฆษณาคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้จำเลยทั้งสามลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับอื่นตามที่โจทก์เป็นผู้กำหนด โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา

       ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

       จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ

        ระหว่างนัดสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตกลงกับโจทก์โดยยอมรับผิดและประกาศขอขมาโจทก์ โจทก์ยินยอมและขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ศาลอนุญาตและมีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จากสารบบความ

        ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326 (ที่ถูกไม่ต้องปรับบทมาตรา 326) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 46 วรรคสอง ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 กลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำพิพากษาโดยย่อพอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ จำนวน 5 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน เดลินิวส์ ข่าวสด และแนวหน้า เป็นเวลาติดต่อกันฉบับละ 7 วัน ด้วยตัวอักษรขนาดเท่าหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่เสนอข่าวเป็นปกติ โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้โจทก์เป็นผู้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นหรือฉบับอื่นแทนจำเลยที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระค่าโฆษณาทั้งหมด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
             จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

             ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
             จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

             ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติได้ว่า ในขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าพรรคมวลชน เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันออกจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 14 มีนาคม 2540 ได้ลงพิมพ์ข้อความในหน้า 17 มีหัวข้อข่าวว่า “แฉชัดๆ “ชวน” บอกให้ปกปิด” ส่วนเนื้อข่าวมีข้อความว่า “ร้อยตำรวจเอกเฉลิมกล่าวว่า คดีบีบีซีเกิดขึ้น นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีการคดโกงธนาคารบีบีซี นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นทราบ ก็มีการบอกให้ปกปิดไว้อย่าพูดอะไร ตัวเองก็ยิ้มเงียบๆ อย่างนุ่มนวล รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แต่ละคนผูกไทใส่สูทพูดเพราะอย่างเดียวสื่อมวลชนก็ชื่นชม...” รายละเอียดตามเอกสารหมาย จ.1 มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์เพราะข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐดังกล่าวจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากการอภิปรายในรัฐสภาโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งรวมทั้งตัวโจทก์ด้วย เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตคดโกงภายในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารบีบีซี จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในระบบธนาคารและทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไม่มั่นคง การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการตอบโต้ฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่นักการเมืองจากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจะมีการให้สัมภาษณ์ตอบโต้กัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจของประชาชนเป็นจำนวนมาก จำเลยที่ 2 ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงได้รายงานข้อเท็จจริงให้ประชาชนทั่วไปทราบทั้งข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน อันเป็นการทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณและตามปกติวิสัยของการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นและสื่อมวลชนทุกแขนงรวมทั้งวิทยุและโทรทัศน์ก็เสนอข่าวดังกล่าวด้วย โดยจำเลยที่ 2 มิได้แต่งเติมสอดแทรกความคิดเห็นอย่างอื่นไปในข่าวด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ลงข่าวตามเอกสารหมาย จ.1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เห็นว่า ข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตามเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวมีความหมายธรรมดามิใช่มีความหมายพิเศษอันต้องแปลความเสียก่อนจึงจะเข้าใจความหมายได้ ประชาชนทั่วไปได้อ่านข้อความดังกล่าวก็เข้าใจความหมายได้ว่า โจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารบีบีซี ทั้งๆ ที่นายธารินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นได้รายงานเรื่องการทุจริตดังกล่าวให้ทราบแล้ว แต่โจทก์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการ ทั้งยังบอกให้นายธารินทร์ปกปิดเรื่องการทุจริตไว้ไม่ให้เปิดเผย ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ย่อมทราบความหมายดังกล่าวดีกว่าประชาชนทั่วไป เพราะได้ประกอบอาชีพนักหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2507 และเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมาตั้งแต่ปี 2527 และในฐานะเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จำเลยที่ 2 สามารถยับยั้งมิให้ลงพิมพ์ข้อความดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ได้ แล้วทำการตรวจสอบเสียก่อนว่าข้อความดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ สมควรที่จะลงพิมพ์แพร่หลายหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 สืบพยานก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่าก่อนที่จะนำข้อความดังกล่าวลงตีพิมพ์นั้นไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ อันแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาจะลงข่าวเพื่อให้หนังสือพิมพ์ขายดีอย่างเดียวโดยไม่ใยดีว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการลงข่าวหรือไม่ เมื่อข้อความตามที่จำเลยที่ 2 ลงข่าวดังกล่าวข้างต้นมีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้กล่าวข้อความดังกล่าวและจำเลยที่ 2 นำข้อความดังกล่าวมาลงพิมพ์โฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐโดยมิได้เสริมแต่งข้อความหรือสอดแทรกความคิดเห็นตามที่อ้างก็ตามก็ไม่ทำให้ข้อความดังกล่าวซึ่งเป็นการใส่ความโจทก์และเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทดังกล่าวกลับมาไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับที่ลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ดังกล่าวจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษมา ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดจึงฟังไม่ขึ้น และจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ผู้กล่าวข้อความดังกล่าวได้ยอมรับผิดและประกาศขอขมาโจทก์ และโจทก์ยินยอมโดยได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 2 แสดงข้อความดังกล่าวโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะเข้าองค์ประกอบของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) นั้น เห็นว่า ข้อความที่ลงพิมพ์ดังกล่าวนั้น มีหัวข้อข่าวว่า แฉชัดๆ ชวนบอกให้ปกปิดและมีรายละเอียดมุ่งเน้นให้เข้าใจว่า โจทก์บอกให้นายธารินทร์ปกปิดเรื่องการทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแสดงว่าโจทก์กระทำการไม่ชอบด้วยหน้าที่และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่มีพฤติการณ์ให้เข้าใจว่าเป็นจริง ซึ่งจำเลยที่ 2 เองก็ยอมรับว่าขณะลงพิมพ์จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าแสดงข้อความดังกล่าวโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรม จึงไม่มีเหตุอันพึงรับฟัง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดตามที่อ้าง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน




เกี่ยวกับคดีอาญา

บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล article
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
การกระทำโดยพลาด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล article
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ