ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การบอกเลิกสัญญา | สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีกำหนดเวลา

สัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา การบอกเลิกสัญญาย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

สัญญาว่าจ้างโจทก์ให้รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน มีกำหนด 1 ปี ครบกำหนด ยังคงจ้างต่อมาโดยถือตามสัญญาเดิม มีกำหนด 1 ปี ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลใช้บังคับต่อไป เงื่อนไขสัญญาข้อหนึ่งว่า สัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้หลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์โดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาและตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2549

        จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี หลังจากครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงจ้างโจทก์ต่อมาโดยถือบังคับตามสัญญาเดิม โดยสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยนี้มีกำหนดระยะ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลใช้บังคับต่อไปได้อีก อนึ่งสัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้หลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้และตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ มาตรา 386 แล้ว

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 167,562 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 167,562 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

    จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยที่ 1 โดยกำหนดค่าทนายความรวม 4,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

  โจทก์ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย หลังจากครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยถือบังคับตามสัญญาเดิม เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์โดยให้มีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2543 ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกมีว่า การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ข้อ 4 กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายที่จะบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เห็นว่า สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ข้อ 4 ระบุไว้ว่า สัญญาฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน 2540 ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีก อนึ่งสัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้ปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดไว้และตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ในที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 386 แล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป

         พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 3,000 บาท แทนจำเลยที่ 1.

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 386 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
     การแสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่





ขายฝาก/เช่า/เช่าซื้อ/ซื้อขาย

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สัญญาซื้อขาย article
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ใครมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง
สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจ้างทำของ
ประเมินการเสียภาษีผิดประเภทการค้า
นิติกรรมมีข้อความไม่ชัดแจ้งตีความได้หลายนัย
สิ้นกำหนดเช่าช่วงชำระค่าเช่าตลอดมาถือว่าได้ต่อสัญญาเช่า
ข้อตกลงในการประกวดราคาเพื่อซื้อขาย
การซื้อขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์
สัญญาซื้อขายแบบเหมา
การซื้อขายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาซื้อขายที่มีหลักประกันเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
คำว่า"ขาย" ตามประมวลรัษฎากร
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาหลายฝ่าย
ผู้เยาว์ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายมีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายอาจบังคับได้ตามบทกฎหมายว่าด้วยตัวแทน
สัญญาซื้อขายเป็นพ้นวิสัยจากภัยพิบัติ
สัญญาซื้อขายที่ไม่มีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่าต้องบำรุงรักษา-ซ่อมแซมเล็กน้อย
คำมั่นเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์
แบบนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ แบบฟอร์มสัญญา แบบพิมพ์สัญญา
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
นำรถไฟแนนซ์ไปจอดกู้เงินผู้รับจำนำเอาไปขายต่อแจ้งความได้ไหม
บอกเลิกสัญญาเช่าต้องบอกกล่าวให้รู้ตัวก่อน
สัญญาเช่า คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการเช่า
แบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย
อายุความเรียกราคาส่วนต่างและค่าขาดประโยชน์กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาหรือตาย
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
สัญญาขายฝากไม่มีเหตุผลต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยแก่กัน
กฎหมายมิได้กำหนดให้การขายฝากสามารถเรียกดอกเบี้ยต่อกันได้
บันทึกข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดได้
ยายทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำถูกกลฉ้อฉลนำชี้ทำเลที่ตั้งที่ดินผิด
ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินกลับคืนสู่กองมรดก
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นไม่ต้องรับผิด
เงินค่าสิทธิการเช่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ยกทรัพย์มรดกตีใช้หนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส. 3ก)เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง
สัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไข สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายมิได้มีการชำระราคากันจริงถือเป็นการให้โดยเสน่หา
บอกล้างสัญญาค้ำประกัน ขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน การจัดการสินสมรส
สิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์, ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ขายดาวน์รถยนต์ที่เช่าซื้อมีผลอย่างไร?
ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้อยู่ในตึกพิพาทก่อนตน
ข้อยกเว้นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้
จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปประกันภัยจ่ายค่าสินไหมให้ไฟแนนซ์แล้ว
ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ยึดถือเอาข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ-ค้างชำระค่าเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อต้องลงชื่อคู่สัญญาสองฝ่ายไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อายุความ 2 ปี
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดเท่าจำนวนเงินดาวน์
เช่าที่ดินปากเปล่าไม่มีสัญญาเช่า
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยมิชอบ
ลักษณะของสัญญาซื้อขาย การโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขาย | สัญญาตัวแทน | ตัวแทนเชิด