ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง article

อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลังดังนี้คือ

(1) ผู้ตายตั้งผู้จัดการทำศพ (2) ผู้ตายตั้งผู้จัดการมรดก (3)บุคคลที่ได้รับมรดกจำนวนมากที่สุด(4)เว้นแต่ศาลจะตั้งบุคคลใด  อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น

มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไวโดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2523

โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับพระภิกษุผู้มรณภาพ จึงเป็นทายาทอันดับ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ

พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ

โจทก์ฟ้องว่าพระภิกษุยอดเป็นน้องของโจทก์บิดามารดาเดียวกันพระภิกษุยอดมรณภาพเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2520 ที่โรงพยาบาลนครราชสีมาวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสองได้ลักศพพระภิกษุยอดไปเก็บไว้ที่วัดบ้านเพชร เพื่อแสวงหาประโยชน์ โจทก์ขอให้จำเลยคืนศพเพื่อนำไปบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจที่วัดบ้านมะระซึ่งเป็นวัดที่พระภิกษุยอดเป็นเจ้าอาวาสอยู่ จำเลยไม่ยอมคืนให้ ขอให้ศาลบังคับ

จำเลยให้การว่า พระภิกษุยอดจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเพชรมา 10 ปีเศษก่อนมรณภาพ เมื่อมรณภาพจำเลยกับชาวบ้านได้นำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านเพชร จำเลยไม่ได้ลักศพและไม่ได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากศพแต่อย่างใด จำเลยได้มอบให้เจ้าคณะอำเภอเป็นผู้จัดการเรื่องศพ จึงไม่มีอำนาจคืนศพให้โจทก์

          ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ได้ 5 ปากแล้วมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิจัดการศพของพระภิกษุยอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 และไม่มีอำนาจบังคับให้ จำเลยส่งศพคืน ให้ยกฟ้องของโจทก์เสีย


 โจทก์อุทธรณ์
         ศาลอุธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่

         โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า พระภิกษุยอดบรรพชาเป็นสามเณรแล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านมะระตลอดมาจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในระหว่างเข้าพรรษาพระภิกษุยอดจำพรรษาที่วัดบ้านมะระแต่เมื่อออกพรรษาจะจาริกไปอยู่ที่วัดอื่นเพราะเป็นพระวิปัสสนาต้องการความสงบ พระภิกษุยอดมรณภาพเมื่ออายุได้ 65 ปี ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและสมองพิการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2520 ที่โรงพยาบาลนครราชสีมาวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสองนำศพพระภิกษุยอดไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านเพชรโจทก์ขอศพไปบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจที่วัดบ้านมะระ จำเลยไม่ยอม โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับพระภิกษุยอด จึงเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และวินิจฉัยว่าสำหรับอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าพระภิกษุยอดไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ และไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ใด อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุยอด ตามที่จำเลยให้การสู้คดีว่าพระภิกษุยอดมรณภาพขณะเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเพชร วัดบ้านเพชรจึงมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพพระภิกษุยอดนั้น เห็นว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจแก่วัดไว้เช่นนั้น และคดีไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไป

                พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองมอบศพพระภิกษุยอดให้แก่โจทก์

   มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับ เท่านั้น และ ภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับ มีสิทธิได้รับมรดก ก่อนหลัง ดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้อง ร่วมบิดามารดา เดียวกัน
(4) พี่น้อง ร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดา เดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

 มาตรา 1649  ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและ หน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการ ดั่งว่านั้น
ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือ บุคคลใด ไว้ให้เป็น ผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมาย ตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัยพ์มรดกโดยพินัยกรรม หรือ โดยสิทธิโดยธรรม เป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควร ตั้งบุคคลอื่นให้จัดการ เช่นนั้น ในเมื่อ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน article
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น article
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?