ReadyPlanet.com


โอนรถยนต์ ตีใช้หนี้ แต่เจอข้อหารับของโจร


น้องสาวยืมเงินไปจากกระผม ทำหนังสือสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษร โดยคู่สมรสของน้องสาวเซ็นต์เป็นพยาน ต่อมาน้องสาวได้โอนรถยนต์ให้เพื่อชำระหนี้แก่กระผมซึ่งเป็นพี่ชาย โอนรถโดยไม่บอกให้สามีของเธอทราบ(กรรมสิทธิ์รถเป็นชื่อน้องสาวคนเดียว) หลังจากนั้นคู่สมรสคู่นี้มีปัญหากัน สามีของเธอแจ้งความว่ากระผมว่า "รับของโจร" โดยแจ้งความว่าน้องสาวของผมโขมยสินสมรส และยักยอกทรัพย์มาให้กระผม คำถามคือ 1.ผมโดนข้อหานี้ มีความผิด หรือไม่ (น้องสาวเป็นหนี้เงินผม แล้วโอนรถให้ โดยไม่บอกกล่าวสามีของเธอ โดยจำนวนเงินที่เป็นหนี้ ถ้าตีมูลค่าจะเท่าๆ กับ รถ 1 คัน ) 2.แจ้งข้อหา "รับของโจร" หมายความว่าอย่างไร 3.กระผมสามารถแจ้งความกลับได้ไหม ขอบคุณครับ.

 



ผู้ตั้งกระทู้ สุพัน :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-13 23:15:33


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1773674)

ความผิดฐานรับของโจร

มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ

การที่คุณรับซื้อหรือช่วยซ่อนเร้นโดยรู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นได้จากการกระทำความผิดหลายฐานข้างต้นก็มีความผิดฐานรับของโจร

ตามที่คุณเล่ามานั้นเห็นว่าคุณรับทรัพย์หรือรถยนต์นั้นมาโดยการตีใช้หนี้และรถยนต์นั้นก็เป็นชื่อน้องสาวของคุณคนเดียว กรณีย่อมไม่มีเจตนาที่จะรับไว้โดยรู้แล้วว่าทรัพย์นั้นได้มาโดยการกระทำความผิดจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรครับ

ส่วนเรื่องแจ้งความกลับนั้นผมว่าเอาไว้ก่อนดีกว่าเพราะเอาเรื่องที่เราแก้ข้อกล่าวของเราก่อนดีกว่าเพราะ การที่สามีเขาบอกว่าภรรยาเอาทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไปจำหน่ายซึ่งสามีก็มีสิทธิรวมอยู่ด้วยก็อาจเข้าข่าย ลักทรัพย์หรือยักยอกอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่จะเป็นความผิดหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งตาม

มาตรา 71 ความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336 วรรคแรก และ มาตรา 341 ถึง มาตรา 364 นั้นถ้าเป็นการ กระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้อง รับโทษ

ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้ สืบสันดานผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน กระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความ ผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจาก นั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-14 14:49:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล