ReadyPlanet.com


ฟ้องค่าสินสอด


ตกลงค่าสินสอดเป็นวาจา และจะจัดพิธีหมั้นที่บ้านฝ่ายหญิง และจัดงานแต่งที่ กทม.  หลังจากนั้นฝ่ายหญิงแจ้งว่าไม่ต้องจัดพิธีที่บ้านก็ได้  แต่ยังจัดงานที่ กทม.  พองานเสร็จแจ้งให้ฝ่ายชายนำเงินสินสอดให้ฝ่ายหญิง ฝ่ายชายอ้างว่าไม่มีพิธีหมั้นก็ไม่ให้ค่าสินสอด    ฝ่ายหญิงมีสิทธิฟ้องค่าสินสอดได้ไหม และมีอายุความกี่ปี


ผู้ตั้งกระทู้ มิ้งค์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-29 14:06:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1759005)

ถ้ามีข้อตกลงให้สินสอดกันด้วยวาจา ต่อมาฝ่ายชายหญิงได้ไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอ/สำนักงานเขต ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็เรียกค่าสินสอดตามที่ตกลงกันได้ครับ เพราะแม้ไม่มีการหมั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสินสอดครับ เพราะเป็นคนละเรื่องกันครับ

สินสอด เป็นค่าน้ำนม ที่ฝ่ายชาย ให้เป็นทรัพย์สินแก่ บิดา มารดา ผู้รับ บุตรบุญธรรมหรือ ผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทน การที่หญิงยอมสมรสด้วย ดังนั้น เงินที่ชาย ให้แก่ บิดา มารดา หญิง เพื่อเป็นการขอขมา ที่หญิงตาม ชายมาอยู่กินด้วยกัน จึงไม่เป็นสินสอด เพราะมิได้ให้เป็นการตอบแทน เพราะ หญิง ให้ยินยอมสมรสด้วย สินสอด จะให้กันภายหลังจากสมรสก็ได้ แต่ต้อง มีการตกลงกันก่อนสมรส ซึ่งต่างกับของหมั้น ต้องให้กัน ในขณะทำการหมั้น

อายุความ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเรียกสินสอดคืนไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม

มาตรา 193/30    อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-29 16:11:56


ความคิดเห็นที่ 2 (1762022)

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับเวปนี้ มีประโยชน์สำหรับประชาชนที่ต้องการที่พึ่งได้ดีมาก ๆ  เลยคะ ขอให้ประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น มิ้งค์ วันที่ตอบ 2008-06-02 12:18:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล