ReadyPlanet.com


เพิกถอน


 ขอเรียนถามค่ะ

ถามว่า    คดีถ้าขึ้นศาลต้นแล้วศาลยกฟ้องให้ทางเราเป็นฝ่ายชนะแต่อีกฝ่ายไม่ยอมความ ได้ไปยื่นอุทธรณ์ อยากทรามว่าถ้าทางเราไม่ยื่นแก้อุทธรณ์จะมีผลอย่างไร่ค่ะ ถ้าจะรอไปฎีกาเลย ดีหรือไม่ค่ะ

1   ถ้าเพียงแค่ยื่่นหลักฐานเก่าที่่่่่่่่่่่่่่่่่่ีีีีีีีีีีีีีีีี่่่่่่่่่่่เคยขึ้นศาลต้นมาแล้วเข้าไปได้หรือเปล่าค่ะ     2   แล้วถ้าทางเรายื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ( สมมุติว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทางเราชนะอีก )   อยากทรามว่าอีกฝ่ายจะสามารถนําคดีไปฎีกาอีกได้หรื่อไม่ค่ะ

3   คดีอุธรณ์จะนานกี่ปีค่ะ

4   การอุธรณ์และฎีกาจะต้องเป็นเรื่องเดิมที่เคยขึ้นศาลต้นมาแล้วไช่หรือไม่ค่ะ

                                      ขอบคุณค่ะ ที่่กรุณาให้คําแน่ะนํา



ผู้ตั้งกระทู้ ฝนทิพย์ :: วันที่ลงประกาศ 2013-07-29 09:57:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2396062)

คำถาม- อยากทรามว่าถ้าทางเราไม่ยื่นแก้อุทธรณ์จะมีผลอย่างไร่ค่ะ ถ้าจะรอไปฎีกาเลย ดีหรือไม่ค่ะ

ตอบ - เป็นสิทธิของคู่ความครับ กฎหมายไม่บังคับให้แก้อุทธรณ์ แต่จะเป็นการดีกว่าถ้าคู่ความอีกฝ่ายแก้อุทธรณ์เพราะจะได้หักล้างฟ้องอุทธรณ์ของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเติมเต็มให้ให้ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จะรอไปฎีกาเลยดีหรือไม่? คงเป็นสิทธิแต่แก้อุทธรณ์มีประโยชน์กว่าครับ การแก้อุทธรณ์ก็ต้องดูประเด็นตามคำฟ้องอุทธรณ์ของเขาครับ

1 ถ้าเพียงแค่ยื่่นหลักฐานเก่าที่่่่่่่่่่่่่่่่่่ีีีีีีีีีีีีีีีี่่่่่่่่่่่เคยขึ้นศาลต้นมาแล้วเข้าไปได้หรือเปล่าค่ะ

ตอบ - ให้ทนายความดำเนินการให้ครับ ทนายเขาทราบวิธีการดี ไม่แนะนำให้ทำเองครับ

2 แล้วถ้าทางเรายื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ( สมมุติว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทางเราชนะอีก ) อยากทรามว่าอีกฝ่ายจะสามารถนําคดีไปฎีกาอีกได้หรื่อไม่ค่ะ

ตอบ -  ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายได้ แต่ต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง หรือ ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาได้ แต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล

มาตรา 247  ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้นและภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
 
มาตรา 248  ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้งหรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดี ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่จะได้มีความเห็นแย้งหรือคำรับรอง หรือหนังสืออนุญาตให้ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง
 
มาตรา 249  ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งจะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย การวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 140 วรรคสอง
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้น
 
 
มาตรา 251  ถ้าคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับให้ตนชนะในข้อสาระสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้
 
มาตรา 252  ถ้าคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ยอมรับฎีกา ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกาและคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลฎีกาเห็นจำเป็นจะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลล่างส่งสำนวนนั้นไปยังศาลฎีกา

 

3 คดีอุธรณ์จะนานกี่ปีค่ะ

ตอบ - ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ แต่โดยประมาณแล้ว ประมาณ 3 เดือน ถึง 2 ปี ไม่มีสูตรตายตัวที่จะให้ความเห็นขึ้นอยู่กับความยากง่ายและพยานหลักฐานของคดี ถ้าไม่มีประเด็นมาก พยานหลักฐานไม่ซับซ้อนก็เร็วครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-04 09:10:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล