ReadyPlanet.com


เรื่องคงสิทธิในการฟ้องร้องการต่อเติม


บ้านทาวน์เฮ้าส์หลังที่ 1 มีการต่อเติมห้องน้ำ แล้วไม่ก่อปิดให้มิดชิด มีการพูดคุยแต่ไม่เป็นผล เจ้าของบ้านหลังที่ 2 จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ อบต ให้เข้ามาตรวจสอบ เจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้แก้ไข แต่ก็เพิกเฉย จนสุดท้ายทำการแก้ไข ดังนั้นจึงมีการเจรจาว่าให้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกันโดยมีตัวแทนผู้จัดสรรและกรรมการนิติบุคคลรวมทั้ง อบต มาเป็นพยาน แต่ทางเจ้าของบ้านที่ 2 ที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาการต่อเติม ไม่ต้องการให้เป็นการยินยอมให้ก่อสร้างโดยอัตโนมัติเพราะว่าไม่ได้เว้นระัยะ 50 ซ.ต. ตามกฎหมาย จึงอยากทราบว่าถ้าเซ็นยินยอมในบันทึกข้อตกลงด้านล่างแล้วนั้น จะทำให้เจ้าของบ้านที่ 2 เสียสิทธิในการเรีียกร้องถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ เจ้าของบ้านที่ 2 ไม่อยากที่จะปิดช่องที่จะเรียกร้องให้รื้อถอนได้ในอนาคต ถ้าเกิดเหตุจำเป็น

บันทึกข้อตกลง

เจ้าของบ้านที่ 1 ตกลงเรื่องงานต่อเติมบริเวณหลังบ้าน ว่าให้คงสภาพพงานต่อเติมรายละเอียดปรากฎตามรูปภาพแนบท้ายนี้ นับตั้งแต่วันที่ทำบันทึกข้อตกลงนี้เป็นต้นไป โดยไม่มีการต่อเติมใดๆอีกทั้งสิ้น

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าบันทึกข้อตกลงนี้เป็นเอกสารการระงับข้อพิพาทตามบันทึกข้อตกลงนี้ ที่มีขึ้นระหว่างเจ้าของบ้านทั้งสองหลัง ในอนาคตทั้งสิ้น

ถ้าเจ้าของบ้านที่ 2 เซ็นรับบันทึกข้อตกลงนี้ จะทำให้เสียสิทธิที่จะเรียกร้องให้เว้นระยะห่าง 50 ซ.ต. โดยอัตโนมัติหรือไม่ค่ะ เจ้าของบ้านที่ 2 อยากจะคงสิทธินี้ไว้ แต่อ่านวนไปมาหลายร้อยรอบ ก็เหมือนว่าถ้าเซ็นบันทึกข้อตกลงก็จะเป็นการอนุญาติให้ต่อเติมได้โดยไม่ได้เว้นระยะ 50 ซ.ต. ไปโดยอัตโนมัติ

ขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคะ อาจจะเข้าใจยากหน่อยนะคะเพราะว่าเขียนวนวนไปมา

 



ผู้ตั้งกระทู้ นา :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-22 05:11:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2380593)

เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่างฝ่ายก็ได้สิทธิตามสัญญาที่ยอมกันแล้วนั้นผมว่าคุณเข้าใจถูกต้องแล้วนะครับ

มาตรา 850  อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
 
มาตรา 851  อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
 
มาตรา 852  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน
 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-07-02 21:42:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล