ReadyPlanet.com


พ่อขายที่ดินแต่ครอบครัวไม่ยินยอม ฟ้องร้องได้ไหมครับ



 

ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยครับ เรื่องมีอยู่ว่าพ่อผมได้ขายที่ดิน ให้กับคนรู้จักชื่อนายX (นามสมมุติ) ประมาณเดือนสิงหาคมปี55 แล้วผมมาทราบเรื่องทีหลังจากการขายที่ประมาณ 3-4 วัน ที่ทราบเรื่องเพราะว่าพ่อหนีออกจากบ้านไป เลยไปแจ้งความคนหายไว้ หลังจากตามหาพ่อเจอและสอบถามเรื่องราวจึงทราบว่าขายที่ไปแล้ว แล้วผมอยากถามว่าถ้ากรณีลูกหรือครอบครัวไม่ยินยอม สามารถฟ้องขอคืนได้หรือป่าวครับ ณ ตอนนี้ (ที่พ่อขายที่ดินให้นายX เกิดมาจากนายX บอกพ่อผมว่า ถ้าไม่ขายที่ดินพื้นนี้ เดี๋ยวบรรดาญาติ ก็จะเอาไป ทำให้เกิดความหวาดกลัว และเงินที่ได้จากการซื้อ-ขาย จนถึงปัจจุบันผมยังไม่เคยถอนออกมาใช้กันเลย ) ขอคำแนะนำด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ น้องปอน :: วันที่ลงประกาศ 2013-04-28 17:52:44


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2353341)

การที่พ่อสามารถขายที่ดินได้ แสดงว่าที่ดินเป็นของพ่อ เมื่อเป็นทรัพย์ของพ่อ เขาก็มีสิทธิจำหน่าย จ่าย โอน ให้บุคคลใดก็ได้ และไม่มีกฎหมายกำหนดให้พ่อต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบจึงจะขายได้ หรือหากไม่แจ้ง ทำให้เกิดสิทธิเพิกถอนการขายได้ เว้นแต่ทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างสามี ภรรยา หรือ เป็นสินสมรสของคู่สมรสที่การขายจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสมิฉะนั้น คู่สมรสมีสิทธิเพิกถอนการขายนั้นได้ครับ

มาตรา 1476  สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2013-04-28 18:16:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล