ReadyPlanet.com


สอบถามคดีจอดรถท เเล้วมีรถมาชนท้ายเสียชีวิต


 เนื่องจากมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขับขี่จักรยานยนต์ชนท้ายรถยนต์จนเป็นเหตุให้บุคคลที่ขับขี่รถจักยานยนต์เสียชีวิต และคนที่นั่งซ้อนท้ายบาทเจ็บสาหัส จากการสืบสอนพยานพบว่า รถยนต์จอดเสียอยู่ที่ข้างถนนเวลาประมาณ 18.00 ซึ่งไม่ให้สัญญาณไฟจราจร หรือมีเครื่องหมายใดๆว่ามีรถเสียอยู่ ต่อมามีรถจักรยานยนต์วิ่งเข้าชนท้ายรถยนต์คันดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน 

เหตุการณ์ดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการแจ้งข้อหาแก่ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ในข้อหาดังนี้

1 กระทำการโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต

2 จอดรถ อะไรสักอย่างที่ไม่ส่องสัญญาณไฟ หรือไฟไม่สว่างเพียงพอ อะไรประมาณนี้ครับ

 

ขอสอบถามผู้รู้หน่อยนะครับ กรณีดังกล่าวมีโอกาสชนะมากน้อยเพียงใด(โจทก์) แล้วกรณีที่ศาลจะยกฟ้องฝ่ายผู้ต้องหาต้องอ้างเรื่องไหนบ้างครับ  ในสำนวนสอบสวนทางตำรวจบอกว่าเป็นประมาทร่วม เนื่องจากบอกว่าผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นคนขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ได้มองข้างหน้า 

  ขอความอนุเคราะห์หน่อยนะครับ พอดีเป็นฝ่ายที่เสียหายแต่เหมือนฝ่ายผู้ต้องหาค่อนข้างมีอิทธิพลในพื้นที่ อีกอย่าง สามารถเรียกร้องทางแพ่งได้หรือไม่ครับ



ผู้ตั้งกระทู้ จักกฤษ :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-02 18:46:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2282933)

จากข้อเท็จจริงที่ให้มานั้น ไม่น่าจะเป็นประมาทร่วมนะครับ เรื่องในทางคดีขอให้รอศาลตัดสินดีกว่าครับ ค่าเสียหายทางแพ่งเรียกได้ครับ ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าปลงศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทรัพย์สินเสียหาย เรียกได้ทั้งหมดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-06-27 12:54:36


ความคิดเห็นที่ 2 (2282934)

ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4410/2554

          คดีนี้ในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะกำหนดโทษและเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องโดยระบุวรรคของ มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบทบัญญัติที่อ้างอิงประกอบภายในวงเล็บ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
          เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกใช้ไม้ ขวดสุรา และก้อนอิฐเป็นอาวุธทุบตีและร่วมกันชกต่อยทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 290
          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
          ระหว่างพิจารณานางเพชร์แก้ว มารดานายนิกร ผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะให้แก่ผู้ร้องและเด็กชายวิธวัฒน์ บุตรของผู้ตาย รวมจำนวน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ และขอให้ยกคำร้องในคดีส่วนแพ่ง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289 (4)), 83 จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 8 ปี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา กรณีมีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมาย มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 5 ปี 4 เดือน ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 (ที่ถูกร่วมกัน) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 370,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 เมษายน 2548 จนกว่าจะชำระเสร็จ ยกฟ้อง (ที่ถูก และคำร้อง) สำหรับจำเลยที่ 3
          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกคนละ 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยที่ 1 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะกำหนดโทษและเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องโดยระบุวรรคของมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบทบัญญัติที่อ้างอิงประกอบภายในวงเล็บถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานโจทก์ยังมีเหตุระแวงสงสัย และไม่มีพยานโจทก์ปากใดชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เข้าร่วมทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในคดีส่วนอาญานั้น เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
          ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในคดีส่วนแพ่งว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติว่า “ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา” เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งดังที่วินิจฉัยไปแล้วข้างต้น ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกใช้ไม้ ขวดสุรา และก้อนอิฐเป็นอาวุธทุบตีและร่วมกันชกต่อยทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามฟ้องคดีส่วนแพ่งย่อมต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องนั้นชอบแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน
 
 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-06-27 12:58:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล