ReadyPlanet.com


มรดกของปู่กับย่า


 เรียน ท่านทนาย
เรื่อง  มรดก

ผมขอปรึกษาเรื่องมรดกของหลานเรื่องหนึ่งครับ มีที่ดินพร้อมบ้านพักอาศัยเป็นชื่อของ ( ปู่ ) ซึ่งที่ดินพื้นนี้เป็นสินสมรถคือได้มาหลังแต่งงานแล้ว  

เรื่องมีอยู่ว่าครอบครัวของหลานมี 
1.ปู่   2.ย่า  
( ปู่และย่ามีลูกด้วยกันหนึ่งคนคือพ่อของหลาน)
3.พ่อของหลาน  แต่งงาน กับ 4.แม่ของหลาน 
(พ่อกับแม่หลานไม่ได้จดทะเบียนสมรถ) และมีลูกด้วยกันหนึ่งคน 
 ก็คือ  หลาน 
5.หลาน อายุ 12 ปี 

ต่อมา พ่อของหลานเสียชีวิต เพราะประสบอุบัติเหตุ (ตายก่อนปู่และย่า)
ต่อมา ปู่และย่า ของหลานเสียชีวิตอีก  

ที่ดินพร้อมบ้านอาศัย ยังเป็นชื่อของปู่ (ที่เสียชีวิตไปแล้ว ) 

ถามว่า
1. ที่ดินของปู่ ซึ่งเสียชีวิตแล้วจะตกเป็นของหลาน ตามกฏหมายหรือไม่ครับ เพราะว่าตอนนี้ทางฝ่ายญาติของปู่ ที่มียังมีชีวิตอยู่จะฟ้องขอแบ่งที่ดินพื้นนี้ ญาติของปุ่มี น้องสาวปู่ และน้องชายปู่
2. ถ้าตกเป็นของหลาน จะสามารถโอนเป็นชื่อหลานได้เมื่อไรครับ 
    (หลานอายุ 12 ปี )

3. ผู้เป็นแม่สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ หรือมีเอกสารใดที่จะบ่งบอกว่า หลานเป็นลูก ด้วยชอบด้วยกฏหมายครับ

4. หรือสรุปแล้วรูปคดีจะออกมาเป็นลักษณะใด ครับ 

ช่วยแนะนำด้วยครับ เพราะแม่กับลูกคู่นี้ยังอาศัยอยู่บ้านลังนี้อยู่ 
จึงเรียนมาปรึกษาครับ
วัฒน์



ผู้ตั้งกระทู้ วัฒน์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-13 21:03:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2225365)

ปู่ กับ ย่า จดทะเบียนสมรสกัน มีที่ดินที่เป็นสินสมรส ปู่กับย่าเสียชีวิตที่ดินที่มีชื่อปู่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จะตกได้แก่ใครบ้าง?

ต้องดูว่าปู่กับ ย่าใครเสียชีวิตก่อนกันเพื่อจะได้ลำดับการตกทอดของทรัพย์ดังกล่าวครับเพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรส

ควรแบ่งมรดกดังนี้

แบ่งสินสมรสก่อนที่เหลือเป็นมรดกของฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ และมรดกตกได้แก่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่และหลานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่คนละครึ่งครับ

ต่อมาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ (ปู่ หรือย่า แล้วแต่กรณี) เสียชีวิตไปอีกคน ทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกเป็นของหลานแต่เพียงผู้เดียวในฐานผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ที่จะเป็นทายาทของเจ้ามรดกและได้ถึงแก่ชีวิตก่อนเจ้ามรดก (ไม่รู้งงไหม????)

ตอบคำถาม

1. ที่ดินของปู่ ซึ่งเสียชีวิตแล้วจะตกเป็นของหลาน ตามกฏหมายหรือไม่ครับ เพราะว่าตอนนี้ทางฝ่ายญาติของปู่ ที่มียังมีชีวิตอยู่จะฟ้องขอแบ่งที่ดินพื้นนี้ ญาติของปู่มี น้องสาวปู่ และน้องชายปู่
 ตอบ -- คงได้คำตอบจากด้านบนแล้วนะครับ สำหรับน้องสาว น้องชายปู่ ถูกทายาทชั้นที่อยู่ก่อน(ชั้นบุตร คือบุตรของปู่กับย่า) ตัดไม่ให้ได้รับมรดกแล้วจึงไม่อยู่ในฐาฐานะทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกของปู่ ได้ครับ

มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

2. ถ้าตกเป็นของหลาน จะสามารถโอนเป็นชื่อหลานได้เมื่อไรครับ 
    (หลานอายุ 12 ปี )

ตอบ--- คงต้องจัดการมรดกของผู้ที่เสียชีวิตก่อน กล่าวคือต้องเป็นผู้จัดการมรดกและแบ่งปันทายาทตามสิทธิเสียก่อนและในชั้นที่สุดก็ตกเป็นของหลานซึ่งดำเนินการได้ทันทีครับ

3. ผู้เป็นแม่สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ หรือมีเอกสารใดที่จะบ่งบอกว่า หลานเป็นลูก ด้วยชอบด้วยกฏหมายครับ

ตอบ-- การที่แม่กับพ่ออยู่กินฉันสามีภริยา และพ่อแสดงออกว่า"หลาน" เป็นบุตรแล้วก็เข้าหลักกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา 1627 ครับ แม่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ครับ

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

4. หรือสรุปแล้วรูปคดีจะออกมาเป็นลักษณะใด ครับ 

ตอบ---ตามคำตอบข้างต้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-15 09:48:30


ความคิดเห็นที่ 2 (2225376)

คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่

กรณีควรตั้งมารดาผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับย่าหรือไม่นั้น เห็นว่ามารดาของผู้ตายมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและเป็นย่าของผู้เยาว์บุตรผู้ตาย ส่วนมารดาของผู้เยาว์แม้จะจดทะเบียนหย่าขาดจากผู้ตายแล้วแต่ก็ยังเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์บุตรของผู้ตายอันเกิดกับตน และเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อยู่ คงจะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ไว้ให้ดีที่สุด และเคยร่วมชีวิตกับผู้ตายมาก่อน ย่อมรู้เบาะแสช่วยสืบหามรดกของผู้ตายได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ จึงสมควรตั้งมารดาของผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับย่าซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1848/2531

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2011-10-15 10:31:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล