ReadyPlanet.com


นายจ้างไม่เป็นธรรม


ผมทำงานเป็นเวลา 5ปี ให้กับบริษัทโฆษณาซึ่งเจ้าของเป็นคนต่างชาติ ผมเริ่มต้นทำงานกับนายจ้างตั้งแต่บริษัทเริ่มสร้างตัว มีพนักงานอยู่ประมาณ 7 คน ตอนนี้บริษัทขยายจนมีพนักงานเกิน 150 คนขึ้นไป...ซึ่งผมทำงานตั้งแต่แรกเริ่ม เข้างาน9.00เลิกงาน18.00 แล้วก็ปรับเปลี่ยนเป็น เข้างาน9.30เลิกงาน18.30 แต่เลิกไม่ค่อยตามเวลาหรอกคับ ส่วนใหญ่จะเกินเวลา  บริษัทก็ออกระเบียบข้อบังคับต่างๆมาเพื่อสร้างระบบให้กับพนักงาน ในเรื่อง ขาด ลา มาสาย อย่างเช่นมาสายเกิน3ครั้ง หักเงิน 1000 บาท แล้วก็เลิกระบบนั้นไปเพราะพนักงานก็ยังมาสายกันอยู่  เหตุผลคือกลับดึก  เพราะงานโฆษณาอย่างที่ว่าไม่มีอะไรตายตัว ต้องแก้ไขงานตลอดเวลา ทุกวันนี้แทบจะไม่มีระเบียบข้อบังคับอะไรที่ชัดเจนสำหรับบริษัท  ไม่ว่าจะเป็นลาพักร้อน  ลาป่วย มาสาย เพราะบริษัทไม่มีข้อระเบียบที่ชัดเจน (หรือเป็นบริษัทต่างชาติเลยสนใจแต่ผลประกอบการ) มีครั้งหนึ่ง นายจ้างมาบอกว่าจะหักเงินเดือนพนักงาน โดยไม่แจ้งล่วงหน้า สรุปก็หักเงินไปในเดือนนั้น  มีผลทำให้พนักงานกดดันค่อยๆลาออกไปหลายคน แล้วอีกกรณีหนึ่ง เลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย แต่ไม่บอกล่วงหน้า 1 เดือน คือนั่งทำงานกันอยู่ พอถึงตอนเย็นก็เรียกพนักงานที่จะโดนปลดเข้าไปเซ็นรับทราบทีล่ะคน (จู่ๆๆก็ตกงานซ่ะงั้น)............  จนมาถึงผม...วันนึงก็เรียก ผมเข้าไปเซ็นคาดโทษในกรณีมาสาย(ผมเซ็นไปเพราะความกดดัน) ถ้ามาสายอีก บริษัทจะไล่ออกโดยไม่จ่ายชดเชยใดๆๆทั้งสิ้น(ซึ่งพนักงานหลายคนก็มาสาย)...................ผมเลยอยากปรึกษาคำถามเหล่านี้คับ..............

            1.ผมถูกเซ็นรับทราบเรื่องกรณีมาสาย โดยไม่ตักเตือนด้วยวาจาก่อน ( ไม่ต้องบันทึกในเอกสาร )

            2.ทางบริษัทเพิ่มโทษให้ผมนอกจากมาสาย คือ

                2.1ไม่รับผิดชอบในหน้าที่

                2.2 ผ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ

                2.3 ขาดงานติดต่อกันโดยไม่แจ้ง(ในกรณีขาดงานติดต่อกันเกิน3วัน) 

ซึ่งข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ผมรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม...เหมือนนายจ้างเลือกปฏิบัติ(หมั่นไส้) เพื่อจะหาข้อกล่าวหาไล่ผมออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชย.........พอจะมีทางออกในเรื่องนี้ไหมคับ........



ผู้ตั้งกระทู้ สาริน (nattapon_ttt-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-02 15:27:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2223735)

1.ผมถูกเซ็นรับทราบเรื่องกรณีมาสาย โดยไม่ตักเตือนด้วยวาจาก่อน ( ไม่ต้องบันทึกในเอกสาร )

ตอบ ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องตักเตือนด้วยวาจานะครับ (เว้นแต่จะเป็นข้อตกลงที่ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง) เพราะการตักเตือนด้วยวาจาไม่มีหลักฐานที่จะอ้างตาม

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
 

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 2.ทางบริษัทเพิ่มโทษให้ผมนอกจากมาสาย คือ                2.1ไม่รับผิดชอบในหน้าที่          2.2 ผ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ               2.3 ขาดงานติดต่อกันโดยไม่แจ้ง(ในกรณีขาดงานติดต่อกันเกิน3วัน) 

ตอบ  ถ้าไม่เป็นความจริงก็อย่าลงชื่อรับในหนังสือเพิ่มโทษนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-08 16:39:57


ความคิดเห็นที่ 2 (2223749)

เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้สิทธินายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุขาดสมรรถภาพ โดยมีสาระว่า “ในกรณีที่พนักงานไม่สามารถจะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทโดยที่บริษัทได้ให้การอบรม หรือฝึกสอนแล้วก็ตาม หรือจากการขาดงานบ่อย ๆ หรือจากการขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจในงาน หรือได้รับการประเมินต่ำจากผู้บังคับบัญชาหลายครั้งและบริษัทได้ตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษอย่างอื่นมาแล้ว” จากการประเมินผลงานของลูกจ้างหลายครั้ง ผลงานของลูกจ้างก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและยังไม่ได้มาตรฐานของนายจ้าง อันเป็นกรณีลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษอย่างอื่นมาก่อน การที่นายจ้างเลิกจ้างแม้จะไม่ได้ตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษลูกจ้างมาก่อนจึงชอบด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว และมีเหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7096/2550

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-08 17:20:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล