ReadyPlanet.com


วิสาสะ


รบกวนปรึกษาปัญาหาที่ดินค่ะ

ตอนนี้มีปัญหาที่นาไม่มีทางเข้า-ออกค่ะ เดิมมีอยู่ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของปู่แบ่งให้ลูก 3คน คนละแปลง แต่ที่แปลงที่ 1 ติดของป้าถนนตลอดแนว ส่วนแปลงที่ 2 ของพ่อ และแปลงที่ 3 ของอา ซึ่งแปลงที่ 2กับ 3จะไม่ติดทางสาธารณะ การเดินทางเข้า-ออกเมื่อก่อนต้องเดินผ่านที่ของป้า และเราก็ใช้ทางนี้มาตลอดมากกว่า 20ปี มาช่วงปีที่แล้วเขาเริ่มไม่พอใจที่เราเดินผ่านที่เขา เราเลยขอซื้อแต่เขาเรียกแพงเกินไปต่อก็ไม่ยอมลดให้ ปกติที่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาดไร่ละ 40000 -50000 บาท ซึ่งเขาเองก็พึ่งแบ่งขายให้คนอื่นแต่พอขอซื้อเขาจะขายงานละ 50000 บาท เราคิดว่าในฐานะญาติกันเขาทำกับเราอย่างนี้ไม่ถูกต้องก็เลยไม่ซื้อ อยู่ๆ เมื่อต้นปีลูกของป้า ( ลุงกับป้าเสียชีวิตมาร่วม 10ปีแล้วค่ะ ) ก็ใช้แม็คโครมาขุดดินตรงทางที่เราใช้ออก ทำให้เอารถเข้า-ออกไม่ได้ ( เดินได้อย่างเดียว ) ไม่สามารถเอารถเข้าไปไถ่นาได้ ปีนี้ก็ไม่ได้ทำนาค่ะ ตอนแรกเราจะฟ้องขอทางผ่านแบบภาระจำยอม เขาก็รีบจ้างทนายฟ้องเราว่าเราใช้ทางผ่านที่เขาโดยวิสาสะไม่ได้ขออนุญาติ ซึ่งเราไม่ได้ขอจริงๆ ก็เราใช้มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่แล้วก็ไม่เห็นเขาว่าอะไรเลย แล้วก็จะฟ้องเอาค่าทนายกับเราด้วยค่ะ ตอนนี้ก็เข้าไปอ่านกฎหมายหลายๆ ข้อเกี่ยวกับภาระจำยอม ตอนแรกก็ดีใจที่เห็นกฎหมายข้อหนึ่งที่ว่าประเทศไทยไม่มีที่ดินตาบอด แต่ไปเจอกฏหมาย มาตรา 1401 ต้องตกใจว่าอย่างนี้เราจะมีทางเข้า-ออก ที่ไหมแล้วต้องเสียเงินเยอะหรือเปล่า กลุ้มใจมากค่ะไม่มีทางเข้าที่นา ถ้าเขาเรียกค่าผ่านไม่มากเกินไปก็พอไหวสำหรับชาวนา ถ้ารวมค่าทนายของเขาก็ไม่ไหวค่ะ แล้วเราจะมีทางสู้เขาไหมค่ะ

แต่ใน นส3. ของลุงระบุว่าที่ของลุงได้มาไม่ตรงกับชื่อปู่และไม่ระบุนามสกุล จะมีปัญหาเรื่องชื่อไม่ตรงกันหรือเปล่าค่ะ ( นส. 3 ออกปี 2518 ค่ะ )

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แต่การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกันของคนในสังคม การใช้ทางพิพาทของโจทก์ก็เข้าอยู่ในลักษณะเช่นว่านี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยนานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความตาม ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ tawan :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-02 14:31:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2193040)

ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
ตามบทบัญญัติ มาตรา 1350 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เมื่อที่ดินของจำเลยและนางบุปผาก็คือที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์เป็นของนางบุปผาก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของนางบุปผาเป็นของจำเลย ภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-05 12:18:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล