ReadyPlanet.com


สัญญาห้ามไปทำงานกับบริษัทที่ดำเนินธุุรกิจเดี่ยวกัน (คู่แข่ง)


เรียน ท่านทนายลีนนท์   ดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาการจ้างงานและใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่าน   เมื่อต้นเดือนมกราคม 2551 ดิฉันได้เข้าทำงานกับบริษัทฯของนายจ้าง โดยสาระสำคัญในสัญญาฯ ระบุว่าหากดิฉันลาออกจากบริษัทฯ ห้ามมิให้ดิฉันไปทำงานในบริษัทของนายจ้างอื่นที่อยูในธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือไปประกอบกิจการประเภทเดียวกัน  เป็นเวลา 2 ปีนับจากวันที่ลาออกจากบริษัท  ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 จนถึง วันที่ 1 มกราคม 2553ขณะนี้ระยะเวลาของเงื่อนไขที่ได้ตกลงในสัญญาสิ้นสุดมาแล้ว 14 เดีอน   แต่นายจ้างก็ยังดิฉันก็ยังคงจ้างดิฉันทำงานต่อไปจนถึงขณะนี้ โดยมิได้มีการตกลงทำสัญญาฉบับใหม่      สิ่งที่ดิฉันกังวลในขณะนี้ คือว่า เมื่อเช้านี้ นายจ้างได้ให้ผู้จัดการบุคคล นำสัญญาจ้างงานฉบับใหม่มาให้เซ็น โดยมีเนื้อหาในลักษณะเหมือนกับฉบับแรกที่ได้หมดอายุสัญญาไปแล้ว  ดิฉันอยากทราบว่า หากดิฉันไม่ยินยอมเซ็นในครั้งนี้ สัญญาเดิมที่สิ้นสุดไปแล้ว 14 เดือน จะยังมีผลผูกพันห้ามมิให้ดิฉันไปทำงานกับบริษัทหรือนายจ้างใหม่ที่ดำเนินธุรกิจในประเภทเดียวกัน หรือออกไปดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือไม่  ขอความอนุเคราะห์ในการแนะนำเรื่องนี้ด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
 



ผู้ตั้งกระทู้ (hiranyar) :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-09 20:42:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2159818)

ในเบื้องต้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องสัญญาจ้างระหว่างคุณกับนายจ้างเสียก่อน กล่าวคือ เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะเหตุกำหนดเวลาที่แน่นอนกันไว้ในสัญญานั้นทำให้การเป็นนายจ้างลูกจ้างสิ้นสุดลงตามสัญญา แต่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลานั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้
มาตรา 118...
...การเลิกจ้างตาม มาตรา นี้ หมายความว่า การกระทำใดที่ นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะ เป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความ รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
 (ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ เวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
 (วรรคสี่)การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของ งานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

ดังนั้นหากสัญญาจ้างระหว่างคุณกับนายจ้างไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ใช้บังคับได้ และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีการว่าจ้างกันต่อไปจึงเป็นการว่าจ้างกันใหม่ แต่แนวโน้มน่าจะฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานคือ อาจจะไม่ใช่การจ้างงานในโครงการเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลทำให้เป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาได้ ถ้าได้วินิจฉัยสรุปว่าเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาแล้วก็ต้องมีการบอกเลิกสัญญากันก่อน ดังนั้นตามคำถามว่า การจ้างงานมีข้อตกลงว่าห้ามลูกจ้างประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันเป็นเวลา สองปีนับแต่วันที่การจ้างสิ้นสุดลง แต่ในกรณีตามที่เล่ามาสัญญาจ้างไม่น่าจะสิ้นสุดและนับเวลา สองปีแล้ว ดังนั้นเงื่อนไขห้ามประกอบกิจการประเภทเดียวกันกับนายจ้างยังคงมีผลบังคับได้อยู่เพราะเหตุยังไม่ได้เริ่มนับครับ ตามที่คุณเข้าใจว่าได้สิ้นสุดเงื่อนไขดังกล่าวแล้วผมก็ยังไม่ทราบว่าคุณเข้าใจอย้างไรจึงคิดเช่นนั้นก็ลองเล่ามานะครับจะได้อธิบายเพิ่มเติมครับ
  

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-10 08:23:39


ความคิดเห็นที่ 2 (2160141)

เรียน คุณ ลีนนท์

พอดีผมอ่านกระทู้นี้แล้วมีความสนใจเป็นพิเศษเพราะเพื่อนของผมก็เกิดกรณีคล้ายๆกันนี้แหละครับ

เพื่อนเล่าให้ฟังว่าเขาได้เซ็นสัญญาทำงานในตำแหน่งฝ่ายขายกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งโดยเนื้อหาสัญญาในข้ออื่นๆก็จะเหมือนสัญญากฏข้อบังคับเหมือนสัญญาทั่วๆไปแต่มีพิเศษอยู่ 1 ข้อคือเมื่อเราคือคู่สัญญาลาออกจากการเป็นลูกจ้างแล้วภายใน 2 ปีห้ามไม่ให้ไปทำงานที่บริษัทอื่นที่เป็นประเภทเดียวกันหรือออกไปประกอบกิจการประเภทเดียวกัน

ตอนนี้เพื่อนของผมจะลาออกมาทำธุรกิจเองโดยประกอบกิจการในลักษณะเดียวกับนายจ้างเดิมเปรี๊ยบเลยครับเพราะยู่มาหลายปีมีความชำนาญและรู้ช่องทางการจัดจำหน่ายดีอยู่แล้วแต่ติดปัญหาตรงสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทเดิมนี่แหละครับเลยอยากเรียนถามว่า

1. สัญญาในลักษณะการจำกัดสิทธิลักษณะนี้ถ้าเรามองแบบเข้าข้างตัวเองมันเหมือนมันไม่ค่อยจะเป็นธรรมซักเท่าไรเพราะเรามีความชำนาญด้านนี้มานานเราสามารถใช้ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจได้โดยสุจริตใช่ไหมครับ

2.ในกรณีที่เพื่อนผมดำเนินธุริกิจไปแล้วเจ้านายเกิดยื่นฟ้องขึ้นมาลักษณะการตัดสินจะออกมาลักษณะไหนครับถ้าเรายกสัญญาข้อพิเศษ(ที่ผมมองว่าไม่เป็นธรรม)ขึ้นสู้

ผู้แสดงความคิดเห็น ประธานแผน วันที่ตอบ 2011-03-11 09:26:52


ความคิดเห็นที่ 3 (2160323)

กรณีเป็นสัญญาจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ศาลพิจารณาให้เท่าที่เป็นธรรมครับ

มาตรา 5  ข้อตกลงจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน หรือการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพซึ่งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิ หรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

ในการวินิจฉัยว่าข้อตกลงตามวรรคหนึ่งทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้หรือไม่ ให้พิเคราะห์ถึงขอบเขตในด้านพื้นที่และระยะเวลาของการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ รวมทั้งความสามารถและโอกาสในการประกอบอาชีพการงานหรือการทำนิติกรรมในรูปแบบอื่นหรือกับบุคคลอื่นของผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ ประกอบกับทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของคู่สัญญาด้วย
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-11 16:09:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล