ReadyPlanet.com


ลักทรัพย์นายจ้าง


เปิดบริษัทรับส่งของ  มีพนักงานลูกจ้างของบริษัท ไปรับสินค้าจากลูกค้าแล้วไปส่งให้กับลูกค้าอีกรายแต่ได้นำสินค้าไปขายโดยไม่เอาไปส่ง เมื่อบริษัททราบไปแจ้งความแต่ทางตำรวจบอกว่าให้บริษัทเจ้าของทรัพย์มอบอำนาจมาก่อนเพราะเราไม่มีกรรมสิทธิ์ อย่างนี้ทำอย่างไรได้บ้างครับ



ผู้ตั้งกระทู้ คุณป้อม (kamchai_bbc-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-01 12:03:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2157495)

คำถามของคุณตรงกับคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่ผมคัดลอกมาให้อ่านนี้ครับ ผมไม่ต้องตอบนะครับ

 

เรื่อง  ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ    แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่หากทรัพย์สินนั้นยังอยู่ในความครอบครองของผู้ขาย และทรัพย์นั้นถูกลูกจ้างของผู้ขายเองลักไปในระหว่างการส่งมอบให้ผู้ซื้อ จึงเกิดความเสียหายแก่ผู้ขาย ผู้ขายจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีร่วมกับพนักงานอัยการได้

คำว่า “ผู้เสียหาย” ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550

อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาว คลิ๊กที่นี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-01 18:23:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล