ReadyPlanet.com


ชาวต่างชาติชื้อที่ดินในเมืองไทย เปิดในนามจัดตั้งบริษัท โอนที่ดินให้ภรรยาไทยได้หรือไม่


 

1. สามีเป็นชาวต่างชาติได้มาชื้อที่ดินในเมืองไทย เปิดในนามจัดตั้งบริษัท การดำเนินการจัดตั้งบริษัททางเอกสารถูกกฎหมาย บริษัทมีเอกสารเงินหมุนเวียน มีงบดุล กำไร เสียภาษีทุกปี ( กรมที่ดินเป็นผู้จัดการเอกสารให้) แต่การทำเอกสาร เป็นการหลอกตา เพราะที่ดินเป็นที่ดินเปล่า ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง    บริษัทไม่มีการทำธุระกิจในที่ดินประมาณ 5 ปีเลยนับตั้งวันที่เปิดบริษัทมา โดยสามีเป็นประธานถือหุ้นใหญ่ ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเจ็ดคน แต่ถ้ามีการตรวจค้นจากทางรัฐบาลอยากทราบว่ามีความผิดหรือไหมอย่างไร   ?

2.สามีจะโอนที่ดินที่จัดตั้งในนามบริษัทให้ภรรยาไทย โดยสินสมรสเป็นของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว จะทำได้หรือไม่ หากมีการตรวจค้นข้อมูลจากที่ดินเก่า จะเอาผิดสามีได้หรือไม่ ?

3.สามีเป็นคนต่างชาติ กฎหมายใหม่ ประเทศของสามีแจ้งว่า (หากมีการทำธรุกิจต่างชาติ สามีต้องโชว์บัญชีทางการเงินการทำธุระกิจข้ามชาติ เพื่อเสียภาษีในประเทศของสามี หากไม่โชว์ทางการเงิน ถ้ามีการตรวจค้นข้ามชาติต้องเสียย้อนหลังสองเท่าของภาษีทั้งหมด ) กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2009  (ชื้อที่ดินในปี 2005  )  สามีจะโอนที่ดินเป็นชื่อของภรรยาไทยในปี 2010 ปัจจุบันรัฐบาลประเทศของสามีไม่ทราบว่าสามีเปิดธุระกิจในไทย อยากทราบว่าถ้าไม่แสดงรายได้ในการประกอบธุระกิจเพื่อเสียภาษีในประเทศของสามี เพราะได้โอนเป็นชื่อภรรยาในปี 2010 มีความเป็นไปได้หรือไม่ ในการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง  ?

3. สามีได้โอนที่ดินเป็นชื่อภรรยาไทย กรรมสิทธ์การครอบครองเป็นของภรรยาไทยเพียงผู้เดียว กระทำได้หรือไม่  และถือว่าเอกสารที่ดินเก่าเป็นโมฆะหรือไม่ ?

 

ขอบคุณทนายที่ให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เอมอร :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-07 22:04:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2033153)

1. ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเจ็ดคน แต่ถ้ามีการตรวจค้นจากทางรัฐบาลอยากทราบว่ามีความผิดหรือไหมอย่างไร   ?

---คนไทยที่ถือหุ้นแทนคนต่างด้าวมีความผิดครับ

---คนต่างด้าวมีความผิดฐานแสดงเอกสารอันเป็นเท็จต่อทางราชการ

2.สามีจะโอนที่ดินที่จัดตั้งในนามบริษัทให้ภรรยาไทย โดยสินสมรสเป็นของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว จะทำได้หรือไม่ หากมีการตรวจค้นข้อมูลจากที่ดินเก่า จะเอาผิดสามีได้หรือไม่ ?

---บริษัทเป็นนิติบุคคลจะโอนให้ใครก็ได้ที่มีสิทธิรับโอน แต่ที่ดินที่นิติบุคคลซื้อจะเป็นสินสมรสได้อย่างไร? เอาข้อมูลมาจากไหน?

3. มีความเป็นไปได้หรือไม่ ในการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง  ?

--เป็นเรื่องกฎหมายในต่างประเทศ ต้องปรึกษาทนายความในประเทศนั้นครับ เฉพาะกฎหมายไทยทั้งหมดยังรู้ไม่หมดเลยครับ

4.  สามีได้โอนที่ดินเป็นชื่อภรรยาไทย กรรมสิทธ์การครอบครองเป็นของภรรยาไทยเพียงผู้เดียว กระทำได้หรือไม่  และถือว่าเอกสารที่ดินเก่าเป็นโมฆะหรือไม่ ?

--ถือเป็นที่ดินของนิติบุคคล ที่ผู้ถือหุ้นทุกคนมีส่วนตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ คุณจะอ้างว่าเป็นที่ดินของสามีไม่ได้ ดังนั้นหากกระทำการสิ่งใดที่กฎหมายไม่ได้รับรองไว้ ก็อาจเกิดความยุ่งยากในภายหลัง แต่ภริยาเป็นคนไทยที่มีสามีเป็นคนต่างด้าว เวลาซื้อที่ดิน ทางเจ้าพนักงานจะให้สามีทำหนังสือยืนยันว่าที่ดินที่ซื้อมาเป็นทรัพย์ที่ซื้อมาจากเงินของภริยาแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นเมื่อยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว สามีจะมาเรียกร้องอะไรไม่ได้อีก

ส่วนที่ดินที่เป็นชื่อของนิติบุคคลจะโอนให้ผู้ใดก็เป็นเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องสินสมรสอีกต่อไปครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-08 07:21:31


ความคิดเห็นที่ 2 (2033301)

ขอบคุณคุณทนายสำหรับคำตอบค่ะ

---บริษัทเป็นนิติบุคคลจะโอนให้ใครก็ได้ที่มีสิทธิรับโอน แต่ที่ดินที่นิติบุคคลซื้อจะเป็นสินสมรสได้อย่างไร? เอาข้อมูลมาจากไหน?

คือสามีต้องการปิดบริษัท ทางเจ้าหน้าที่กรมบอกว่าจะโอนในนามให้ไม่ได้เพราะเป็นบริษัทนิติบุคคล แต่โอนให้ภรรยาในนามขายต่อได้   (เรื่องสินสมรสอาจจะเป็นความเข้าใจผิด เรียบเรียงคำพูดผิดค่ะ) ฉันเข้าใจแบบนี้ค่ะเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว สามีต้องเซ็นยืนยันว่าที่ดินที่ซื้อมาเป็นทรัพย์ที่ซื้อมาจากเงินของภริยาแต่เพียงผู้เดียว

1.ตอนนี้กำลังเดินเรื่องเอกสารการโอนที่ดินอยู่ค่ะ ไม่ทราบว่า บริษัทเป็นนิติบุคคล เมื่อทำการปิดบริษัทแล้วโอนที่ดินให้ภรรยา คนไทยที่ถือหุ้น จะต้องเซ็นอำนาจการโอนด้วยหรือไม่ค่ะ หรือสามีเพียงคนเดียว ? ในเอกสารจัดตั้งบริษัทระบุแต่งตั้งให้สามีเป็นประธานมีอำนาจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอมอร วันที่ตอบ 2010-02-08 14:09:28


ความคิดเห็นที่ 3 (2033329)

ในการเลิกกิจการ ต้องจดทะเบียนเลิกบริษ้ทและตั้งผู้ชำระบัญชี การที่จะโอนทรัพย์สินของบริษัทให้ภริยาก็ต้องเป็นการขายและเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของบริษัทก็ต้องนำเข้าบัญชีเพื่อให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่มีผู้ถือหุ้น ดังนั้นในความเป็นจริงผู้เป็นหุ้นส่วนอาจไม่มีใครได้ถือหุ้นจริง ๆ เพราะเป็นการอุปโลกขึ้นมาให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายบังคับ แต่การชำระบัญชีก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนในการชำระบัญชีด้วย

แนะนำว่าให้ผู้สอบบัญชีที่ดำเนินการยื่นงบดุลบัญชีบริษัทมาโดยตลอดนั้นดำเนินการให้จะสะดวกกว่านะครับ เขาจะสามารถตอบประเด็นคำถามของคุณได้ทุกคำถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี รวมตลอดถึงอำนาจในการจัดการแทนนิติบุคคลที่คุณถามมาด้วยครับ

การเลิกบริษัทต้องชำระหนี้ภาษีอากร และหนี้อื่น ๆ ของนิติบุคคลที่เหลือจึงจะดำเนินการแบ่งให้กับผู้ถือหุ้นครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-08 15:20:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล