ReadyPlanet.com


บุคคลอื่นมีอำนาจปกครองผู้เยาว์แทนบิดาหรือมารดา


กรณีที่บิดามารดาหย่าร้างกันและมีการบันทึกเรื่องอำนาจการปกครองผู้เยาว์ระบุว่าให้ยายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น

- ตามกฎหมายสามารถระบุได้หรือไม่

-หากระบุ ว่าผู้เยาว์อยู่กับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่บิดาหรือมารดาแล้วนั้นการทำนิติกรรมต่างๆ เช่นมาทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์ใครเป็นผู้มีอำนาจลงนามให้ผู้เยาว์



ผู้ตั้งกระทู้ จงรักษ์ (jongrakr_noi-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-13 11:08:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1973569)

เมื่อบิดามารดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจะตกลงกันฝ่าฝืนมาตรา 1566 ไม่ได้ครับ

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

การเดินทางไปต่างประเทศหรือการทำหนังสือเดินทางต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา บุตรผู้เยาว์ครับ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็ต้องมีหนังสือยืนยันว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-13 17:06:27


ความคิดเห็นที่ 2 (1978829)

บุคคลไม่ใช่ทรัพย์สิน บุตรจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดาที่จะมอบให้บุคคลอื่นได้

เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ตามเมื่อบิดาถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่ามารดาถูกถอนอำนาจปกครองดังนี้ มารดาก็ยังคงเป็นผู้มีและใช้อำนาจปกครองเหนือเด็กนั้นอยู่ บุคคลอื่นแม้จะได้อุปการะมานานและสิ้นเงินไปเพียงใดก็ตาม หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเด็กนั้นขึ้นมาไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น อำนาจปกครอง วันที่ตอบ 2009-08-30 08:28:03


ความคิดเห็นที่ 3 (1978830)

ผู้ร้อง ร้องต่อศาลคดีเด็กฯ ว่าได้เลี้ยง ด.ญ.มยุรีมาแต่อายุ 3 เดือนจนอายุได้ 13 ปีโดยได้รับมอบหมายไว้จากม.ล.ยิ่งศักดิ์ซึ่งเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของด.ญ.มยุรีผู้ร้องได้ให้อุปการะมารดาของด.ญ.มยุรีเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของม.ล.ยิ่งศักดิ์เลิกร้างไปตั้งแต่ด.ญ.มยุรีอายุได้ 3 เดือนไม่เคยมาติดต่อ ทั้งได้ทำหนังสือมอบอำนาจการปกครองไว้แก่ม.ล.ยิ่งศักดิ์และผู้ร้องว่าจะไม่มาเกี่ยวข้องในการปกครองตลอดจนการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ ด.ญ.มยุรีทั้งสิ้น ตามหนังสือลงวันที่ 22 กันยายน 2484 ท้ายคำร้อง

พ.ศ. 2485 ม.ล.ยิ่งศักดิ์ได้สมรสกับนางศรีอุทัยโดยชอบด้วยกฎหมาย ครั้น พ.ศ. 2496 ม.ล.ยิ่งศักดิ์ถึงแก่กรรม โดยไม่มีบุตรกับนางศรีอุทัย และมีทรัพย์มรดกรวม 2,109,900 บาทโดยมิได้ทำพินัยกรรมและจัดตั้งผู้จัดการมรดก ด.ญ.มยุรีอายุเพิ่งได้ 13 ปียังเป็นผู้เยาว์และไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ทั้งไม่มีญาติคนใดร้องขอเข้าปกครองหรือจัดการทรัพย์สิน

ผู้ร้องจึงขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครอง ด.ญ.มยุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1610 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 8

ศาลคดีเด็กฯ สั่งว่า เมื่อม.ล.ยิ่งศักดิ์ถึงแก่กรรม การใช้อำนาจปกครองย่อมอยู่กับมารดา ตามคำร้องไม่ปรากฏว่ามารดาได้ถูกศาลสั่งเป็นคนสาปสูญ จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1610 จึงให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกาคัดค้านว่า ด.ญ.มยุรีเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของม.ล.ยิ่งศักดิ์ตามมาตรา 1524 ใบมอบอำนาจแม้จะไม่ได้บ่งว่าให้ผู้ร้องเป็นผู้ปกครองโดยตรงก็บ่งว่าจะไม่มาเกี่ยวข้องกับบุตรหรือผู้รับเลี้ยง เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เลี้ยงด.ญ.มยุรีก็ต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนางบุญชูด้วยส่วนที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าใบมอบอำนาจเป็นทำนองซื้อขายเด็กนั้น ผู้ร้องเห็นว่าผู้มอบและผู้รับเป็นสามีภริยากัน การให้เงินระหว่างกันจึงมีลักษณะเป็นการให้ยิ่งกว่าการซื้อขาย ผู้ร้องควรมีสิทธิได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองโดยไม่จำเป็นต้องถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1555

ศาลฎีกาเห็นว่าการมอบกรรมสิทธิ์ในบุคคลให้แก่กันเช่นนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย บุคคลไม่ใช่ทรัพย์สินและบุตรก็ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดาที่มอบแก่บุคคลอื่นได้ ด.ญ.มยุรีจะเป็นบุตรชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของม.ล.ยิ่งศักดิ์ก็ตาม เมื่อม.ล.ยิ่งศักดิ์ถึงแก่กรรมแล้วและไม่ปรากฏว่านางบุญชูถูกถอนอำนาจปกครองนางบุญชูก็ยังคงเป็นผู้มีและใช้อำนาจปกครองเหนือด.ญ.มยุรีอยู่ตามกฎหมาย แม้ผู้ร้องจะอุปการะเลี้ยงดูด.ญ.มยุรีมานานเท่าใดหรือสิ้นเงินเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองด.ญ.มยุรีในขณะนี้ได้

พิพากษายืน

( จักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ - ประมูล สุวรรณศร - ดุลยการณ์โกวิท )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2497

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2497 วันที่ตอบ 2009-08-30 08:30:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล