ReadyPlanet.com


ปัญหาการหย่าร้าง


ดิฉันจดทะเบียน เดือนเมษายน52 ปัจจุบันได้แยกกันอยุ่กับแฟน 2 เดือนแล้ว เนื่องจากฝ่ายชายมีชุ้ ปัญหาการเงินและครอบครัวฝ่ายชายเนืองจากแม่ฝ่ายชายเข้ามามีส่วนรวมปัญหาจำนวนมาก ไม่สามารถอดทนได้ และฝ่ายชายไม่ได้ติดต่อมา มีแต่แม่ติดต่อมา เมือ่นัดหย่า 2 ครั้ง ฝ่ายช่ายไม่มา ดิฉันสามารถเรียกรอ้งสิทธิ ค่าเสียหาย หรือทำอย่างไร จึงจะได้หย่า และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆได้บ้าง ดิฉันกำลังจะเข้ารับราชการหน่วยงานไม่อยากติดปัญหาเรื่องนี้ ต้องยื่นใบทะเบียนต่อหน่วยงานหรือไม่ ในกรณีนี้ที่จะหย่าแต่ยั้งไม่สามารถหย่าได้ อายุ 23 ปีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่ากันได้หรือไม่ ในเรือ่งใด



ผู้ตั้งกระทู้ ณัฐริณีย์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-18 15:34:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1964662)

**การหย่าไม่ได้เกี่ยวกับอายุครับ เพราะคุณจดทะเบี้ยสมรสกันได้ คุณก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จุหย่าได้

แต่ตามกฎหมายการจะหย่ากันนั้น มีข้อกำหนดไว้หลายประการ ลองย้อนดูกระทู้เก่าๆ ของคุณลีนนท์ดูน่ะครับ

**แต่กรณีของคุณยังไม่เข้าเหตุหย่าตามกฎหมายครับ    ฟันธง !!!

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณปู่ยังหนุ่ม วันที่ตอบ 2009-07-19 12:57:40


ความคิดเห็นที่ 2 (1964715)

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-19 15:32:47


ความคิดเห็นที่ 3 (1964718)

ในกรณีของคุณหากพิสูจน์ได้ว่า ฝ่ายชายยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ ทางคุณอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-19 15:37:52


ความคิดเห็นที่ 4 (1964719)

การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ต่อเนื่อง แม้โจทก์ทราบเกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความ

 

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ ถ้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

ก่อนสืบพยาน จำเลยแถลงว่า จำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูนางสุภาพรฉันภริยาตั้งแต่ต้นปี 2531 หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน โจทก์ทราบเรื่องและไม่ติดใจที่จำเลยจะมีนางสุภาพรเป็นภริยาและให้อภัยจำเลยตลอดมา ส่วนโจทก์แถลงว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับนางสุภาพรในปี 2539 แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจำเลยจะจริงจังกับนางสุภาพรหรือไม่ เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคนจนเมื่อเดือนเมษายน 2545 โจทก์จึงทราบว่าจำเลยกับนางสุภาพรมีบุตรด้วยกันโจทก์ไม่เคยให้อภัยจำเลยและรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยมีหญิงอื่น ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ และข้อเท็จจริงคู่ความรับกันแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน จึงให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 นั้น ไม่ชอบ เพราะข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมและให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรตามที่จำเลยให้การต่อสู้หรือไม่ ทั้งการที่มิได้มีการสืบพยานจึงไม่อาจทราบได้ว่าพยานที่งดสืบเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็นอย่างไร เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสืบพยานหลักฐานที่คู่ความประสงค์จะสืบหรือไม่เพียงใด คดีนี้เมื่อพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การและคำแถลงของโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 18 กันยายน 2546 แล้วเห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วว่า มีเหตุฟ้องหย่าประการใดประการหนึ่งตามฟ้องหรือไม่และโจทก์ได้ยินยอมหรือให้อภัยเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยาแล้วหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้จะเป็นเพียงเหตุหย่าเหตุหนึ่งในจำนวนเหตุหย่าหลายเหตุตามฟ้องก็ตาม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยซึ่งถือเสมือนว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยจะนำมาสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า โจทก์ได้ยินยอมและให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยาแล้ว โจทก์จึงจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง และสิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปตามมาตรา 1518 หรือไม่ เห็นว่า การยินยอมและให้อภัยตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแต่แสดงเจตนาให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือจะไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า คดีนี้จำเลยให้การและฎีกาอ้างว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยาแล้ว โจทก์มิได้ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยเสียแต่แรกทั้งยังแสดงกริยาอาการไม่เอาเรื่องเอาความ ยอมรับสถานะการมีสองภริยาของจำเลยจึงถือได้ว่าโจทก์ให้อภัยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว เห็นว่า เพียงพฤติการณ์ของโจทก์ตามข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าว โจทก์มิได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงออกให้ปรากฏโดยชัดแจ้งพอที่จะเห็นเจตนาของโจทก์ว่ายินยอมหรือให้อภัยแล้ว อย่างไรก็ตามปรากฏจากคำแถลงของโจทก์จำเลยในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 18 กันยายน 2546 ว่า โจทก์มิได้ยินยอมและให้อภัยในการกระทำของจำเลย แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับนางสุภาพรเพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนเมื่อปี 2545 โจทก์ทราบว่าจำเลยกับนางสุภาพรมีบุตรด้วยกันจึงได้นำคดีมาฟ้อง อันเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนางสุภาพร เนื่องจากขณะนั้นโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยจะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยา ข้อเท็จจริงจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายมีว่า สิทธิฟ้องร้องของโจทก์โดยอาศัยเหตุหย่าในมาตรา 1516 (1) ระงับไปเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันรู้หรือควรรู้เหตุหย่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 หรือไม่ เห็นว่า การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ที่ต่อเนื่อง ดังนั้นตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางสุภาพรฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529 และคดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาของจำเลยอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกดคีเยาวชนและครอบครัวพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน”

พิพากษายืน

( ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์ - วิชา มหาคุณ - นพวรรณ อินทรัมพรรย์ )

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2549

 

 

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-19 15:45:54


ความคิดเห็นที่ 5 (1964721)

หากพิสูจน์ได้ว่าสามียกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ ภริยาเรียกค่าทดแทนได้ด้วย

 

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516(1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516(1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-19 15:55:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล