ReadyPlanet.com


ผู้จัดการมรดก


หญิงที่เป็นมารดาไม่ไ้ด้จดทะเบียน สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แทนบุตรทีเกิดจากชาย เจ้ามรดกได้หรือไม่ หรือ จะต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน หรือ ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอแทนบุตรคะ หากมีมาตรากฎหมายเกี่ยวข้อง รบกวนแจ้งให้ด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษากฎหมายรุ่นน้อง :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-18 15:48:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1927069)

มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความ สามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

 มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

ในกรณีของคุณถ้าระหว่างที่เจ้ามรดกมีชีวิตได้เลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรอย่างเปิดเผยหรือยอมให้ใช้นามสกุล หรือเป็นผู้แจ้งเกิดด้วยตนเอง ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ครับ

สำหรับการร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้น กฎหมายห้ามผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นจึงไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเด็กนั้น หากได้ร่วมอยู่กินฉันสามีภริยากันก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้

หากไม่มีผู้ใดเต็มใจจะเป็นผู้จัดการมรดกจะร้องขอให้พนักงานอัยการเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้

การเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่ว่าจะดำเนินการอย่างไรก็ได้  ผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมตามสิทธิของแต่ละคน

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-19 10:04:57


ความคิดเห็นที่ 2 (1927188)

มีปัญญาหาเรื่องผู้จัดการมรดกแม่เสียชีวิตแล้วพ่อได้จดทะเบียนสมรสกับแม่แต่ไม่ค่อยได้มาอยู่ด้วยกันเพราะสาเหตุทางพ่อเค้ามีครอบครัวอยู่อีกทางนึงแล้วบังเอิญว่าตอนเสียชีวิตเงินที่พ่อได้ชาปานะกิตไม่ได้แบ่งลูกเลยแพ่อเค้าจามาเอาเงินส่วนนี้ แม่มีเงินในบัญชีธนาคาร2บัญชี มีลูกสาวเพียงคนเดียวแต่อายุยังไม่ถึง20ปีบริบูรณ์ได้ถามรายละเอียดกับทนายความมาว่าพ่อจะมีสิทธิ์มากกว่าลูกเนื่องจาเค้าจดทะเบียนสมรสกันแล้วพ่อมีสิทธิ์ในเงินตรงนี้มากกว่าลูก ลูกจาได้เงินตรงนี้ใน1ส่วน4  บังเอิญว่าลูกไม่อยากให้พ่อได้เงินในส่วนตรงนี้ของแม่เลย เราสามารถแย้งศาลได้ไหมว่าพ่อก็มีครอบครัวใหม่แต่พ่อกับแม่ก้ไม่ได้อย่าร้างกันแต่พ่อกับแม่ก็ไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว เราสามารถแย้งศาลได้ไหมว่าเงินส่วนนี้พ่อไม่ควรได้รีบสักบาทเดียวหรืออาจจาได้ส่วนที่น้อยกว่า เพราะว่าตอนนี้พ่อรู้แค่เงินในบัญชีเดียวอีกบัญชีพ่อไม่รู้พ่อรู้บัญชีที่มีเงินน้อยกว่าถ้าเราจาไม่ให้ทางพ่อรู้อีกบัญชีนึงจาทามได้ไหม

ผู้แสดงความคิดเห็น 087 วันที่ตอบ 2009-04-19 19:48:29


ความคิดเห็นที่ 3 (1927196)

ตอบความเห็นที่ 2

มาตรา 1599  "เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท"

ทายาทตามกฎหมายคือใคร

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

 ----------- ทายาทอันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดาน หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่า บุตรผู้ตายนั่นเอง รวมถึงคู่สมรสด้วย

มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้าง

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว

สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

 ---------- ทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังสมรส (จดทะเบียนสมรส) ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส

คู่สมรสมีสิทธิในสินสมรสคนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นในกรณีของคุณเมื่อแม่เสียชีวิตทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสต้องแบ่งเป็นสองส่วนก่อน และส่วนหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย

ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท นั่นก็คือบุตร และบิดา (คู่สมรส) คนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นข้อเท็จจริงที่คุณได้สอบถามทนายความมาว่าบุตรจะได้ 1 ใน 4 นั้น ถูกต้องแล้ว เมื่อสินสมรสถูกแบ่งไป 2 ใน 4 ส่วนที่เหลือ 2 ส่วน แบ่งให้บุตร 1 ส่วน

เงินในบัญชีธนาคาร หากไม่มีผู้จัดการมรดกไปดำเนินการให้ทางธนาคารก็จะไม่อนุญาตให้ถอนออกไปได้ หรือสรุปว่า ต้องนำมาแบ่งกันให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่า บิดาจะไปมีภริยาใหม่ก็ตาม ในสายตากฎหมายไม่รับรู้ ถ้ายังไม่ได้หย่ากันทางทะเบียน

ตามปัญหาของคุณน่าจะได้พูดคุยกับพ่อขอให้ยกให้ลูกน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-19 20:32:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล