ReadyPlanet.com


บริษัทหยุดทำการ 20 วัน เดือนเมษานี้และไม่จ่ายค่าทดแทน


บ.แจ้งว่า เดือนเมษานี้ จะขอพักงาน ตั้งแต่วันที่ 1-19 เปิดวันที่ 20 ทั้งนี้เงินเดือนก็จะจ่ายที่ครึ่งเดือน โดยการบอกกล่าวไม่มีลายลักษณ์อักษร อีกทั้งบริษัทมี เพียง 4 คนเป็นพนักงาน 2 กรรมการ 2 เลย ข้าพเจ้าเป็น 1 ใน 3 จะออกเสียงอย่างไรได้ พี่อีกคน เค้าไม่ทุกข์ร้อนด้วยเลย


ผู้ตั้งกระทู้ นภัส (sk-dot-richonline-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-31 09:39:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1921835)

หากนายจ้างมีความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก นายจ้างก็สามารถสั่งหยุดงานได้ หากเป็นการหยุดเพื่อเอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880-8886/2542

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤติการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนกิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นสิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้หยุดงานชั่วครานั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง แต่นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างในระหว่างที่หยุดกิจการชั่วคราวเพียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน แม้กฎหมายจะให้สิทธิแก่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ได้ กฎหมายก็ไม่ยอมให้นายจ้างกระทำไปโดยอิสระ แต่ได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้ในมาตรา 75 วรรคสอง หากปรากฏในภายหลังว่านายจ้างกล่าวอ้างยกเหตุจำเป็นต้องหยุดกิจการตามมาตรา 75 เป็นความเท็จเพื่อเอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างก็ชอบจะใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าเสียหาย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ หากมีตามสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจากนายจ้างได้

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 มีเจตนารมณ์แตกต่างกันอย่างชัดเจนจากบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างโดยเฉพาะให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งจากนายจ้างด้วยการเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของการรมการลุกจ้าง หรือกระทำการใดที่อาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ อันเป็นสถานการณ์ปกติของนายจ้าง ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างประสบวิกฤติการณ์ จนจำเป็นต้องหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวตามมาตรา 75

ที่ผู้ร้องนายจ้างในคดีนี้อ้างว่า มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวโดยสาเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และขอจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับ เป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องด้วยมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ที่จะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน กรณีตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิและไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาล ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องชอบแล้ว

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า

“ ในกรณี ที่ นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสัดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน ” บทบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองนายจ้างในกรณีที่นายจ้างประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไปเพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายของนายจ้างจึงให้นายจ้างรับภาระจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียวแทนที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเต็มจำนวนในระหว่างที่หยุดกิจการนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย เพราะหากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวนายจ้างอาจไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานทั้งหมดได้จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างทำให้ลูกจ้างต้องตกงานขาดรายได้และได้รับความเดือดร้อน สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่วๆไป เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นนอนติดต่อกันอย่างพอสมควร

“ โจทก์ ( นายจ้าง ) มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะๆจำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์ (นายจ้าง)จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ (นายจ้าง) ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์( นายจ้าง )คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอนประกอบกับโจทก์ (นายจ้าง )มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ (นายจ้าง)ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์ (นายจ้าง)ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์ ( นายจ้าง )เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบ้างส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้แต่อย่างใด ”

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960 / 2548)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-01 11:37:33


ความคิดเห็นที่ 2 (1921836)

อ่านบทความเพิ่มเติมที่

 

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538643654&Ntype=13

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-01 11:39:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล