ReadyPlanet.com


ช่วย prove เอกสารขอสละสิทธิ์ในสินสมรส


เนื่องด้วยดิฉันได้เลิกร้างกับสามีทางพฤตินัยแล้วแต่ ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามกฎหมาย  ต่อมาดิฉันตัดสินใจซื้อบ้านของตัวเอง โดยสามีรับทราบว่าเป็นบ้านของครอบครัวดิฉัน (พ่อและพี่สาว) และสามีรับปากว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านหลังนี้  แต่ครอบครัวดิฉันเกรงว่าหากดิฉันเสียชีวิต สามีอาจจะกลับคำพูด จึงต้องการให้สามีเซ็นเอกสารขอสละสิทธิ์ในสินสมรส  ซึ่งเค้าก็ยินยอม จึงอยากเรียนปรึกษาว่าเอกสารฉบับนี้ถูกต้องและเพียงพอที่จะมีผลตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรค่ะ ขอขอบพระคุณในความช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่งค่ะ

เอกสารขอสละสิทธิ์ในสินสมรส

 

 ทำที่…………………วันที่.........................................

 

เรื่อง   ขอสละสิทธิ์แบ่งสินสมรสสำหรับ บ้าน....................

 

                        ข้าพเจ้า นาย กไก่    ชาติไทย    ซึ่งเป็นสามีตามกฎหมายของ นางสาว ข ไข่    รักการดี    ขอสละสิทธิในการแบ่งสินสมรสสำหรับ บ้านเลขที่ 123  ถ.อู่ทองนอก   กรุงเทพ     ซึ่งนางสาว ข ไข่    รักการดี    และนาย จ จาน   รักการดี    บิดาของ นางสาว ข ไข่    รักการดี      ได้ทำการซื้อไว้ระหว่างสมรส และขอรับทราบว่าหากนางสาว ข ไข่    รักการดี      เสียชีวิต ครอบครัวรักการดี (ประกอบด้วยบิดาและพี่สาว)  จะเป็นผู้ชำระเงินค่าผ่อน บ้านดังกล่าว ต่อไป

ข้าพเจ้าขอสละสิทธิ์ในการมีส่วนได้ส่วนเสียกับบ้านหลังดังกล่าว

 

                                                                       

                                                                                                                                                                                                ลงชื่อ...................................................

                                                                                                                      (  นาย กไก่    ชาติไทย    )สามี    

                                                                                                          ลงชื่อ...................................................

                                                                                                                      (  นางสาว ข ไข่    รักการดี    )ภรรยา

                                                                                                              ลงชื่อ...................................................

                                                                                                                      (นาย จ จาน   รักการดี    )พยาน

                                                                                                              ลงชื่อ...................................................

                                                                                                                      (                                             )พยานที่ 1

                                                                                                              ลงชื่อ...................................................

                                                                                                                      (                                             )พยานที่ 2                                                                      

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้หญิงทุกข์ใจ :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-05 10:28:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1898001)

ข้อตกลงสละสิทธิ์ในสินสมรสไม่ผูกพันบุคคลภายนอกครับ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสครับ และไม่น่าจะผูกพันคู่สัญญาเพราะเป็นการทำสัญญาตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมาย หรือเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างได้ครับ

 มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

ในกรณีปัญหาตามที่คุณแจ้งมาว่าจะให้เป็นบ้านของครอบครัว แต่ถ้าคุณเป็นผู้ซื้อผู้จ่ายเงินก็คงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสครับ

ทางที่ดีน่าจะใส่ชื่อให้ทางครอบครัวคุณเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นเสียเลย แต่คุณอาจเป็นแต่เพียงผู้กู้ร่วมแต่ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่สามีคุณคงต้องทำหนังสือให้ความยินยอมด้วย แต่ถ้าซื้อเงินสดก็ไม่มีปัญหาก็ใส่ชื่อครอบครัวคุณได้เลยครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-06 07:39:06


ความคิดเห็นที่ 2 (1913690)

บิดาเกษียณอายุแล้ว แต่มีเงินฝาก และมีทรัพย์สินเป็นบ้านและที่ดินบ้าง  จะใช้ชื่อบิดาเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้แล้วให้ดิฉันเป็นผู้กู้และผู้ผ่อนได้ไม๊ค่ะ ธนาคารเค้าจะยอมไม๊ค่ะ ขอรบกวนปรึกษาอีกครั้งนึงค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้หญิงทุกข์ใจ วันที่ตอบ 2009-03-13 14:53:27


ความคิดเห็นที่ 3 (1913948)

ในเรื่องการกู้ยืมนั้น เจ้าหนี้เขาคงต้องมองว่าผู้กู้จะมีความสามารถผ่อนคืนเงินกู้ยืมเงินได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นหากมีผู้ค้ำประกันที่น่าเชื่อถือและมีหลักทรัพย์จำนองเป็นประกันให้ความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ก็คงได้ แต่ที่คุณจะเป็นผู้กู้และผ่อนเอง น่าจะเอาเป็นว่า ให้บิดาเป็นผู้กู้หลักและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยตัวคุณเป็นเพียงผู้กู้ร่วมคือเป็นลูกหนี้ร่วมแต่ไม่ต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็น่าจะทำได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-14 10:09:43


ความคิดเห็นที่ 4 (2219437)

เจตนาสละสิทธิในสินสมรส
เรื่องการแบ่งสินสมรสยังไม่มีข้อตกลงใดๆระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกไว้ เพียงแต่บันทึกว่า ทรัพย์สินไม่มีเท่านั้นส่วนเอกสารหมายล.5ก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นตั้งแต่วันที่25มกราคม2531ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสัญญาหย่าแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะสละสิทธิในสินสมรสตามที่จำเลยฎีกาศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  333/2538

          ในการตกลงหย่ากันนั้นหากโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสในข้อตกลงหย่าแล้วโจทก์จำเลยก็ชอบที่จะบันทึกข้อตกลงหย่าว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสแทนที่จะบันทึกว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าเป็นโมฆียะก็ตามแต่เรื่องการแบ่งสินสมรสยังไม่มีข้อตกลงใดๆระหว่างโจทก์จำเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะสละสิทธิในสินสมรสศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์ได้ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงินตามขอในทันทีการแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องหากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ขอให้ศาลบังคับขายทอดตลาดที่ดินและบ้านตามฟ้องตลอดจนหุ้นที่จำเลยถือในบริษัทต่างๆเพื่อแบ่งกันตามส่วนดังนี้แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ขอแบ่งหุ้นที่เป็นสินสมรสกึ่งหนึ่งด้วยมิใช่มีคำขอเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวและแม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าหุ้นที่เป็นสินสมรสมีมูลค่าเท่าใดในวันที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยแบ่งหุ้นให้โจทก์กึ่งหนึ่งได้โดยไม่จำต้องพิพากษายกฟ้องเพราะในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ส่วนการที่ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมอันจะต้องบังคับตามมาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากจะมีข้อขัดข้องดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวคำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่เป็นการไม่ชอบและไม่เกินคำขอ
________________________________

          โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภริยาของจำเลยโดยจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่16สิงหาคม2511มีบุตรด้วยกัน3คนระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันมีสินสมรสเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เนื้อที่250ไร่อยู่ที่หมู่ที่9ตำบลหนองตาอุ่นเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรีราคา12,500,000บาทพร้อมบ้าน1หลังราคา10,000,000บาทมีหุ้นที่จำเลยมีชื่อเป็นถือ30บริษัทเป็นเงิน10,284,450บาทหุ้นที่จำเลยเอาเงินของบริษัทศรีคีรีเอนเตอร์ไพร์สจำกัดที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจซื้อหุ้นของบริษัทอื่น14บริษัทเป็นเงิน20,904,200บาทหุ้นที่จำเลยเอาเงินของบริษัทณรงค์คีรินทร์จำกัดที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจซื้อหุ้นของบริษัทอื่น11บริษัทเป็นเงิน16,308,500บาทหุ้นที่จำเลยเอาเงินของบริษัทศรีพี่น้องจำกัดที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจซื้อจากบริษัทอื่น16บริษัทเป็นเงิน59,319,905บาทหุ้นที่จำเลยเอาเงินของบริษัทชัยนรินทร์ธุรกิจจำกัดที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจซื้อจากบริษัทอื่นอีก10บริษัทเป็นเงิน13,884,600บาทโดยหุ้นที่จำเลยเอาเงินของบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจไปซื้อมามีมูลค่าสูงกว่าทุนที่แต่ละบริษัทจดทะเบียนไว้จึงสันนิษฐานว่าเงินที่ซื้อเป็นของจำเลยสินสมรสทั้งหมดเป็นเงิน143,484,855บาท(ที่ถูกน่าจะเป็น143,201,655บาท)ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยามีเรื่องทะเลาะตบตีกันเป็นประจำเมื่อวันที่10มีนาคม2531โจทก์รับประทานยาระงับประสาทและในขณะที่ยายังออกฤทธิ์อยู่จำเลยได้ขู่เข็ญบังคับให้โจทก์ตกอยู่ในความกลัวแล้วนำโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าโดยเจตนาไม่สุจริตจำเลยบันทึกข้อความในหนังสือสัญญาหย่าว่าเรื่องทรัพย์สินไม่มีโจทก์ได้ลงชื่อในบันทึกเพราะตกอยู่ในความหวาดกลัวจากการข่มขู่ของจำเลยความจริงสินสมรสมีจำนวนมากบันทึกที่เกี่ยวกับทรัพย์สินจึงเป็นโมฆียกรรมโจทก์ขอถือเอาคำฟ้องนี้เป็นการบอกล้างโมฆียกรรมดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์เป็นเงิน71,742,427.50บาทหากแบ่งไม่ได้ให้เอาสินสมรสขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งให้โจทก์

          จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ขู่เข็ญบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนหย่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเอาสินสมรสจึงได้บันทึกเกี่ยวกับสินสมรสว่าทรัพย์สินไม่มีการบันทึกข้อความในสัญญาหย่าโจทก์ทราบดีจำเลยกับโจทก์จดทะเบียนหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินและการปกครองบุตรผู้เยาว์ด้วยความสมัครใจโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินโดยมิได้บอกล้างการจดทะเบียนหย่าด้วยเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งหุ้นที่จำเลยมีชื่อถือหุ้นดังต่อไปนี้ให้โจทก์บริษัทละกึ่งหนึ่งของบริษัทเกียรติธานีจำกัดให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์30หุ้นของบริษัทไทยเคมีภัณฑ์จำกัดจดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์5หุ้นบริษัทไดอะกล๊าสจำกัดจดทะเบียนโอนให้โจทก์ครึ่งหนึ่งคือ1/2หุ้นบริษัทโพลิฟรีแฟมจำกัด(ที่ถูกคือบริษัทโพลีปรีแฟบแอนด์กลาสจำกัด)จดทะเบียนโอนให้โจทก์2หุ้นบริษัทณรงค์คีรินทร์จำกัด2,000หุ้นบริษัทเคมีธุรกิจจำกัด1/2หุ้นบริษัทศรีพี่น้องจำกัด1,300หุ้นบริษัทศรีชัยเอเยนซี่จำกัด20หุ้นบริษัทเทพประทานการแร่จำกัด105หุ้นบริษัทร.ส.พ.ประกันภัยจำกัด100หุ้นบริษัทซากาตะไทยคอร์ปอเรชั่นจำกัด3,000หุ้นบริษัทศรีคีรีเอนเตอร์ไพร์สจำกัด5,000หุ้นบริษัทชัยนรินทร์ธุรกิจจำกัด150หุ้นบริษัทศรีคีรินทร์จำกัด24941/2หุ้นบริษัทกระจกไทยและการตลาดจำกัด500หุ้นบริษัทกระจกไทยอาซาฮีจำกัด27,500หุ้นบริษัทไทยเทยินจำกัด150หุ้นธนาคารนครหลวงไทยจำกัด499,647หุ้นบริษัทกู๊ดเยียร์(ประเทศไทย)จำกัด7,500หุ้นบริษัทเอสเต็ดเอนจิเนียริ่งแอนด์ดีเวลเวลลอปเม้นท์จำกัด400หุ้นบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้าจำกัด171/2หุ้นบริษัทมหานครประกันชีวิตจำกัด25หุ้นและหุ้นบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทยจำกัด5421/2หุ้นคำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่16สิงหาคม2511โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันและวันที่10มีนาคม2531โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันมีสินสมรสคือหุ้นของบริษัทเกียรติธานีจำกัด60หุ้นของบริษัทไทยเคมีภัณฑ์จำกัด10หุ้นของบริษัทไดอะกล๊าสจำกัด1หุ้นของบริษัทโพลีปรีแฟบแอนด์กลาสจำกัด4หุ้นของบริษัทณรงค์คีรินทร์จำกัด4,000หุ้นของบริษัทเคมีธุรกิจจำกัด1หุ้นของบริษัทศรีพี่น้องจำกัด2,600หุ้นของบริษัทศรีชัยเอเยนซี่จำกัด40หุ้นของบริษัทเทพประทานการแร่จำกัด210หุ้นของบริษัทร.ส.พ.ประกันภัยจำกัด200หุ้นของบริษัทซากาตะไทยคอร์ปอเรชั่นจำกัด6,000หุ้นของบริษัทศรีคีรีเอนเตอร์ไพร์สจำกัด10,000หุ้นของบริษัทชัยนรินทร์ธุรกิจจำกัด300หุ้นของบริษัทศรีคีรินทร์จำกัด4,989หุ้นของบริษัทกระจกไทยและการตลาดจำกัด1,000หุ้นของบริษัทกระจกไทยอาซาฮีจำกัด45,000หุ้นของบริษัทไทยเทยินจำกัด300หุ้นของธนาคารนครหลวงไทยจำกัด999,294หุ้นของบริษัทกู๊ดเยียร์(ประเทศไทย)จำกัด15,000หุ้นของบริษัทเอสเต็ดเอนจิเนียริ่งแอนด์ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด800หุ้นของบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้าจำกัด35หุ้นของบริษัทมหานครประกันชีวิตจำกัด50หุ้นและของบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทยจำกัด1,085หุ้นปัญหาตามฎีกาจำเลยปัญหาแรกมีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งสินสมรสตามฟ้องจากจำเลยหรือไม่เพียงใดปัญหาที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์เคยสละสิทธิต่างๆในทรัพย์สินปรากฏตามเอกสารหมายล.5เพราะโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยมานานแล้วฉะนั้นเมื่อโจทก์จำเลยตกลงหย่าขาดจากกันจึงได้บันทึกว่าเรื่องทรัพย์สินไม่มีทั้งโจทก์ก็รู้อยู่ว่าจำเลยมีภาระหนี้สินอยู่มากจึงตกลงเรื่องทรัพย์สินในการจดทะเบียนหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"โจทก์จำเลยตกลงหย่าเด็ดขาดแล้วไม่มีอำนาจจะมารื้อฟื้นขอแบ่งสินสมรสอีกโจทก์บรรยายคำฟ้องตั้งสิทธิเรียกร้องว่าสัญญาหย่าเกิดจากการข่มขู่นิติกรรมหย่าเป็นโมฆียกรรมเมื่อศาลฟังว่านิติกรรมหย่าไม่เป็นโมฆียกรรมโจทก์จึงไม่มีสิทธิแบ่งสินสมรสเห็นว่าหากโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสในข้อตกลงหย่าแล้วโจทก์จำเลยก็ชอบที่จะบันทึกข้อตกลงหย่าว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสแทนที่จะบันทึกว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตามแต่เรื่องการแบ่งสินสมรสยังไม่มีข้อตกลงใดๆระหว่างโจทก์จำเลยบันทึกไว้เพียงแต่บันทึกว่าทรัพย์สินไม่มีเท่านั้นส่วนเอกสารหมายล.5ก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นตั้งแต่วันที่25มกราคม2531ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสัญญาหย่าแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะสละสิทธิในสินสมรสตามที่จำเลยฎีกาศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

          ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องโดยไม่มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โอนหุ้นให้โจทก์แต่ขอเป็นตัวเงินที่แน่นอนทั้งโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าในวันที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันนั้นหุ้นมีมูลค่าเท่าใดศาลชอบที่จะยกฟ้องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยโอนหุ้นให้โจทก์ไม่ชอบและเกินคำขอและที่ให้จำเลยโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นไม่ชอบเพราะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นให้เป็นเศษครึ่งหุ้นได้นั้นเห็นว่าโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องข้อ1และข้อ2ว่า"1.ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน71,742,427.50บาทในทันที2.การแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องหากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ขอให้ศาลบังคับขายทอดตลาดที่ดินและบ้านตามฟ้องข้อ2ตลอดจนหุ้นที่จำเลยถือในบริษัทต่างๆเพื่อแบ่งกันตามส่วน"ดังนี้แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ขอแบ่งหุ้นที่เป็นสินสมรสกึ่งหนึ่งด้วยหาได้มีคำขอเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวดังที่จำเลยฎีกาไม่และแม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าหุ้นที่เป็นสินสมรสมีมูลค่าเท่าใดในวันที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยแบ่งหุ้นให้โจทก์กึ่งหนึ่งได้โดยไม่จำต้องพิพากษายกฟ้องเพราะในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ส่วนการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้อาจจะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมอันจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากจะมีข้อขัดข้องดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในส่วนนี้จึงหาได้เป็นการไม่ชอบและเกินคำขอแต่อย่างใดไม่ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งหุ้นในบริษัทกระจกไทยอาซาฮีจำกัดให้โจทก์22,500หุ้นและไม่ต้องแบ่งหุ้นในบริษัทศรีคีรีเอนเตอร์ไพร์สจำกัดบริษัทชัยนรินทร์ธุรกิจจำกัดบริษัทศรีคีรินทร์จำกัดบริษัทกระจกไทยและการตลาดจำกัดและธนาคารนครหลวงไทยจำกัดให้โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์


( ปราโมทย์ ชพานนท์ - อุระ หวังอ้อมกลาง - เสริม บุญทรงสันติกุล ) 
      

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-23 19:17:17


ความคิดเห็นที่ 5 (2219443)

จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 2 คน สามีและภริยาไปลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าตกลงหย่าขาดจากกันและบันทึกข้อตกลงว่าสามียอมจ่ายเงินให้ภริยา 600,000 บาท จ่ายแล้ว 100,000 บาท ส่วนที่เหลือจะผ่อนชำระ แต่สามีไม่ปฏิบัติตาม ภริยามาฟ้องเป็นคดีนี้ ให้สามีจ่ายเงินที่เหลือตามบันทึกข้อตกลง เมื่อสามีและภริยาไม่ได้ไปจดทะเบียนหย่าก็ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นตามบันทึกข้อตกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันระหว่างสมรส เป็นสัญญาระหว่างสมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกล้างได้ภายในเวลาที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ในคดีนี้ภริยาฟ้องหย่าและเรียกเงิน สามีให้การว่าได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว จึงถือได้ว่าคำให้การของสามี(จำเลย)เป็นการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสไปในตัว  ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้สามี(จำเลย) ชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงได้ หากภริยามีสิทธิในทรัพย์สินอันอาจอ้างว่าเป็นสินสมรสก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันตามสิทธิเป็นคดีใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2039/2544

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-23 19:36:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล