ReadyPlanet.com


ถามค้าน ถามติง ซักถาม


ถามค้าน  ถามติง และซักถาม  ใช้เมื่อใด ยกตัวอย่างให้ด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-25 18:13:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1880898)

การสืบพยานในศาล ถ้าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานของตนเข้าเบิกความ และเมื่อเบิกความเสร็จสิ้นแล้ว คู่ความฝ่ายตรงข้ามก็มีสิทธิที่จะถามค้านได้ครับ

เมื่อฝ่ายที่ถามค้านได้ถามค้านเสร็จสิ้นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบหรือถูกถามค้านก็มีสิทธิที่จะถามติงเพื่อให้การเบิกความแต่แรกไม่เสียกระบวนไปอันเนื่องมาจากการถามค้านของฝ่ายตรงข้ามครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-25 21:01:19


ความคิดเห็นที่ 2 (1881064)

คุณลีนนท์ พอจะยกตัวอย่างการถามค้าน ถามติง ซักถามแบบง่าย ให้ได้ไหมคะ   เคยได้ยินว่า ไม่ให้มีการถามนำ  ไม่แน่ใจว่า เป็นอย่างไร  รบกวนคุณลีนนท์ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2008-12-26 10:21:13


ความคิดเห็นที่ 3 (1881299)

ตัวอย่าง

ซักถาม* ใครเป็นคนเห็นจำเลยฆ่านายสมชาย?

ตอบ* นายสมปองเป็นคนเห็น

-----

ถามค้าน* ที่พยานเบิกความว่านายสมปองเป็นคนเห็นจำเลยฆ่านั้นจะได้เห็นจริงหรือไม่พยานไม่ทราบไม่ยืนยันใช่มั๊ย

-----

ถามติง* ทำไมพยานจึงยืนยันว่านายสมปองเป็นคนเห็นเหตุการณ์

ตอบ* เพราะผู้ตายบอกไว้ก่อนเสียชีวิตว่านายสมปองอยู่ในเหตุการณ์ด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-26 16:43:39


ความคิดเห็นที่ 4 (1881341)

คุณลีนนท์ คะ

 

และห้ามถามนำ  ยกตัวอย่างให้ด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2008-12-26 18:56:23


ความคิดเห็นที่ 5 (1881357)

คำถามนำ * ก็คือถามแล้วต้องได้คำตอบว่า-ใช่ หรือไม่ใช่

เพื่อไม่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบอธิบายข้อเท็จจริงมากนัก แต่ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ตามตัวอย่างข้างบน

ตัวอย่างข้างต้นที่เป็นการ-ซักถาม และถามติง* ห้ามถามนำอยู่แล้วครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-26 19:19:41


ความคิดเห็นที่ 6 (1882620)
 ผมขออนุญาตถามเรื่องหลักการห้ามรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาว่ามีอะไรบ้างครับ?
ผู้แสดงความคิดเห็น เอกชัย วันที่ตอบ 2008-12-30 21:39:52


ความคิดเห็นที่ 7 (1882741)

การห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ

 

มาตรา 135 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น

 

มาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

 

มาตรา 232 ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-31 16:21:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล