ReadyPlanet.com


บุตรบุญธรรม


 

คือว่า ในรับรองการเป็นบุตรบุญธรรม ของดิฉันหาย แล้วคุณแม่กับพ่อ ที่ขอรับดิฉันมาก็เสียไปนานแล้ว ดิฉันอยากทราบว่าจะไปทำเรื่องขอใบที่แสดงว่าดิฉันเป็นบุตรบุญธรรมใบใหม่ได้ไหมค่ะ แล้วต้องไปที่ไหน เตรียมหลักฐานอะไรไปบ้าง ดิฉันมีเรื่องจำเป็นต้องใช้ด่วนอ่ะค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ บุตรบุญธรรม :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-20 18:17:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2120986)

ติดต่อกรมประชาสงเคราะห์ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-20 21:18:45


ความคิดเห็นที่ 2 (2120993)

การรับบุตรบุญธรรม (ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
*บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
*กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้
* กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ใน ความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอม ของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว

4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน เว้นแต่
*คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
*คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครได้รับข่าวคราว เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี

5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น

ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
2. ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม และถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือน กับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน
3. บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา


ขั้นตอนการดำเนินงาน

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ
1. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต
2. ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
1. ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร (รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
2. ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
3. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว 4. ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
5. เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามให้ความยินยอม

สถานที่ติดต่อ

      ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร (รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ติดต่อที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์)  ผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด
     ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-20 21:29:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล