ReadyPlanet.com


กู้ซื้อบ้าน


กู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟน (ไม่ได้จดทะเบียน) สัญญา bank และโฉนดที่ดินเป็นชื่อสองคน ต่อมาเลิกกัน

** ต้องการเอาชื่อออกจากการกู้ร่วม แต่ฝ่ายชายไม่ยอม    เหตุผลก็คือ

   - เขาโทร.มาขอให้รอ 3 ปี แล้วค่อย รีไฟแนนซ์ (เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกลง)

  -  เขาต้องการขายบ้าน โดยที่เขาไม่พยายามหาใครมากู้ร่วม  แทนชื่อเรา ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้เค้าก็มีแฟนคนใหม่แล้ว

จะทำอย่างไรดีคะ  ถาม : 

1. ต้องการเอาชื่อออกจากการกู้ร่วมครั้งนี้ (นับจากวันทำสัญญาจนถึงวันนี้รวมระยะเวลา 10 เดือน แล้วค่ะ)

เพราะที่เป็นอยู่เท่ากับเป็นการริดรอนสิทธิส่วนบุคคลของเรา  เราไม่สามารถจะไปกู้เพื่อทำอะไรของเราได้เลย

***ฟ้องได้มั๊ยคะ**  เพราะเคยปรึกษาธนาคารแล้วไม่สามารถทำอะไรได้เลยเพราะตอนเซ็นต์สัญญาเป็นการยิน

ยอมเซ็นต์แต่โดยดีไม่ได้โดนบังคับ  เพราะถ้ารอให้เค้าขายบ้านได้ก้อไม่รู้เมื่อไหร่

และเค้าก็มีเจตนาที่จะไม่หาใครมากู้ร่วมแทนดิฉัน

2. ถ้าเกิดกรณีไฟไหม้บ้านเราจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น (ที่ยังผ่อนกับธนาคารไม่หมด) ด้วย

รึเปล่าคะ   **** แต่ตลอด 10 เดือน เค้าเป็นคนผ่อนบ้านเพียงคนเดียว**

3. ถ้าเราแก้เผ็ดเค้าโดยการ

  3.1 ขนของเข้าไปอยู่ที่บ้านที่ดิฉันมีชื่อด้วยจะเป็นการบุกรุกหรือผิดกฎหมายหรือเปล่า    หรือ

 3.2  เอากุญแจบ้านอีกลูกที่เขาไม่มีกุญแจไขไป ล๊อค ไม่ให้เขาเข้าบ้าน มีความผิดหรือเปล่าคะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ หนุงหนิง :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-07 18:09:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2151589)

1.  โฉนดที่ดินเป็นชื่อสองคน

ตอบ--- ในโฉนดที่ดินมีชื่อคุณเป็นเจ้าของร่วม คุณจึงมีสิทธิใช้ทรัพย์นั้นได้ครับ

2.  ต้องการเอาชื่อออกจากการกู้ร่วม แต่ฝ่ายชายไม่ยอม

ตอบ-- ไม่ใช่ฝ่ายชายไม่ยอมอย่างเดียวครับ แต่เจ้าหนี้ต่างหากที่ไม่ยอมให้เอาชื่อออก เว้นแต่จะได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว หลังจากนั้นคุณจะทำอะไรกัน ธนาคารก็คงไม่สนใจอีกต่อไป

3. เขาต้องการขายบ้าน โดยที่เขาไม่พยายามหาใครมากู้ร่วม  แทนชื่อเรา ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้เค้าก็มีแฟนคนใหม่แล้ว

ตอบ--  ถ้าสามารถขายได้จริงก็จะเป็นประโยชน์กับคุณเพราะจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์จากของคุณและของเขาไปเป็นของผู้ซื้อครับ

เขาไม่พยายามหาใครมากู้ร่วมก็เพราะมันยุ่งยากซิครับ อยู่อย่างนี้ดีกว่า เขาก็คงคิดง่าย ๆ ว่า อย่างไรเสียคุณก็ไม่ได้แบกภาระอะไร?

แม้เขาจะมีแฟนใหม่ก็เป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่จะต้องดำเนินการที่สำนักงานที่ดินด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็เท่ากับมีการขายส่วนกรรมสิทธิ์ของคุณให้กับแฟนใหม่ การโอนในลกัษณะนี้มีค่าเท่ากับการขายซึ่งต้องเสียภาษี อากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการโอน จำนวนไม่น้อยเลยครับ ด้วยเหตุผลดังกล่าวเขาจึงทำเป็นทองไม่รู้ร้อน

4. เพราะที่เป็นอยู่เท่ากับเป็นการริดรอนสิทธิส่วนบุคคลของเรา  เราไม่สามารถจะไปกู้เพื่อทำอะไรของเราได้เลย


ตอบ-- ทางธนาคารก็ตอบคำถามคุณได้ดีครับ ที่เขาบอกว่า ในวันทำสัญญาต่าง ๆ เป็นการทำโดยความสมัครใจของคุณ การทำนิติกรรมแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่คุณคิดในขณะนั้นไม่ทราบว่าคุณคิดอย่างไร จึงตกลงทำในสิ่งที่จะเป็นปัญหาในภายหลัง ขอให้คิดว่ามันพลาดไปแล้วค่อย ๆ คุยกัน เรื่องอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่น่าจะเป็นก็ได้ เมื่อพลาดแล้วก็ต้องยอมรับว่า ยังกู้ที่อื่นไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องริดรอนสิทธิส่วนบุคคลอย่างที่คุณเข้าใจหรอกครับ เป็นเรื่องความสมัครใจของคุณเอง การที่จะเข้าหลักริดรอนสิทธิไม่ใช่เรื่อบงทำนองนี้ครับ

5. ***ฟ้องได้มั๊ยคะ**

ตอบ-- ฟ้องได้ครับ แต่เป็นการฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม นำที่ดินพร้อมบ้าน(ทรัพย์) ออกขายทอดตลาด แต่ต้องทำใจนะครับ อาจเป็นการบีบให้เขาหาคนอื่นมาเปลี่ยนชื่อคุณออกไป คงจะหวังว่าเขาจะแบ่งครึ่งคงยากครับ เพราะเขาก็คงพิสูจน์ว่าคุณมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนเขาเท่านั้น คดีอาจจบลงด้วยการประนีประนอมยอมความ

6.  ถ้าเกิดกรณีไฟไหม้บ้านเราจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น (ที่ยังผ่อนกับธนาคารไม่หมด) ด้วยรึเปล่าคะ 

ตอบ---ตามปกติ ทางธนาคารเจ้าหนี้เขาจะบังคับให้ลูกหนี้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยไว้ทุกรายนะครับ แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ เจ้าหนี้และลูกหนี้ มีหนี้สินต่อกัน ถ้าบริษัทประกันภัยจ่ายค่าเสียหายไม่ครอบถึงจำนวนหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้ก็ต้องรับผิดอยู่ดีครับ

7.  ถ้าเราแก้เผ็ดเค้าโดยการ ขนของเข้าไปอยู่ที่บ้านที่ดิฉันมีชื่อด้วยจะเป็นการบุกรุกหรือผิดกฎหมายหรือเปล่า  

ตอบ-- ผมก็ว่าเป็นวิธีการที่น่าสนใจครับ อย่างไรผมก็ว่าไม่ผิดครับ โฉนดที่ดินที่มีชื่อของคุณอยุ่เตรียมคัดถ่ายเอกสารรับรองสำเนาถูกต้องจากสำนักงานที่ดิน รองดูสักตั้งก็จะได้รู้กัน แน้วโน้มคงจบลงไม่รุนแรงครับ

8.   ถ้าเราแก้เผ็ดเค้าโดยการเอากุญแจบ้านอีกลูกที่เขาไม่มีกุญแจไขไป ล๊อค ไม่ให้เขาเข้าบ้าน มีความผิดหรือเปล่าคะ

ตอบ--- วิธีนี้เป็นวิธีที่เสี่ยงครับ ก็เขามีชื่อเป็นเจ้าของรวม อีกทั้งเป็นที่พักอาศัยของเขา และเขามีสิทธิครอบครองอยู่ ถ้าใช้วิธีนี้คงเข้าข่ายบุกรุกแน่นอนครับ วิธีนี้อย่าเสี่ยงดีกว่าครับ อันตราย เดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสียครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-07 20:02:18



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล