ReadyPlanet.com


การขอคัดค้านการยื่นขอรับรองบุตรบุญธรรม


เรียนถามคุณทนาย

เรื่องมีอยู่ว่าภรรยาสามีแต่งงานกันมีบุตรด้วยกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาเลิกลากันบุตรอยู่กับมารดาโดยที่สามีไม่ได้ส่งเสียค่าเลี้ยงดู (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆก็ตาม) ต่อมามารดาเสียชีวิต พี่ชายของมารดาคือลุงของเด็กต้องการที่จะขออุปการะเลี้ยงดูเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรม โดยการให้พ่อเด็กเซ็นต์ยินยอม แต่พอเด็กไม่ยินยอม

1 อยากทราบว่าลุงมีสิทธิยื่นฟ้องพ่อเด็กหรือไม่

2 ถ้าพ่อเด็กยื่นคัดค้านมีสิทธิจะชนะคดีหรือไม่

3 ถ้าพ่อเด็กไม่ยินยอมเซ็นต์ให้ผู้ยื่นขอจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ได้เด็กมา

 

ขอบคุณค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เพื่อความรู้ :: วันที่ลงประกาศ 2011-04-19 20:02:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2170911)

1 อยากทราบว่าลุงมีสิทธิยื่นฟ้องพ่อเด็กหรือไม่

ตอบ  ไม่มีข้อหาตามกฎหมายรับรองให้ฟ้องได้ครับ

2 ถ้าพ่อเด็กยื่นคัดค้านมีสิทธิจะชนะคดีหรือไม่

ตอบ  ยื่นศาลแล้วหรือครับ ผมขอดูสำนวนก่อนว่าตั้งรูปเรื่องอย่างไรจึงจะตอบให้ได้

3 ถ้าพ่อเด็กไม่ยินยอมเซ็นต์ให้ผู้ยื่นขอจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ได้เด็กมา

ตอบ  คงทำอะไรไม่ได้หรอกครับ เขาเป็นพ่อลูกกันเขาไม่ยอมก็คงมีเหตุผลของเขา และถ้าเขาขอรับรองบุตรในคดีเดียวกัน(ฟ้องแย้ง) โอกาสที่ลุงจะชนะคดีคงไม่มีครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-04-20 15:48:31


ความคิดเห็นที่ 2 (4550829)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2565

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องมิได้ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสาม ก็ชอบที่จะพิพากษาให้ผู้ร้องไปจดทะเบียนรับผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง เป็นการพิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ พ.ร.บ.เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง และให้ผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องพบผู้เยาว์ทั้งสามและรับผู้เยาว์ทั้งสามมาพักอาศัยกับผู้ร้องอย่างน้อยเดือนละ 2 วัน ในวันเสาร์และวันอาทิตย์

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิงสรัลพร เด็กหญิงอัยรดา และเด็กหญิงอารีรดา ผู้เยาว์ทั้งสาม เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสปัญญ์ ผู้ร้อง โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามแต่เพียงผู้เดียว แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องสามารถไปพบผู้เยาว์ทั้งสามที่โรงเรียนได้โดยให้อยู่ในความดูแลของครู และห้ามมิให้ผู้คัดค้านปิดกั้นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ร้องกับผู้เยาว์ทั้งสามไม่ว่าทางโทรศัพท์หรือวิธีการสื่อสารอย่างอื่นตามความเหมาะสม คำขออื่นของผู้ร้องและผู้คัดค้านให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2024-01-09 10:36:26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล