ReadyPlanet.com


อยากทราบวิธีกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร และค่าครองชีพ


สามีเงินเดือน+ค่าลวงเวลา รับประมาณ 22,000 บาท ภรรยา รับเงินเดือน 9000 บาท

สามีต้องการหย่า เหตุเพราะภรรยาเข้ากับครอบครัวสามีไม่ได้ (แม่ผัวลูกสะใภ้ทะเลาะกัน)

ตอนนี้มีบุตร 1 คน 2 ขวบ มีภาระคือส่งงวดบ้าน เดือนละ 5700 บาท (เหลืออีก 324 งวด)

คำถามคือ 1.ถ้าหย่า ดิฉํนสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไร กำหนดอย่างไร พิจารณาจากอะไรบ้าง

                    2.การหย่าทำให้ดิฉันยากจนลง (ต้องส่งค่าบ้านเอง+เลี้ยงลูกเอง) ดิฉันสามารถเรียกค่าเลี้ยงชีพได้เท่าไรค่ะ เดือนละเท่าไร

 

ขอรบกวนด้วนะคะ

จักขอบคุณยิ่งค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ หนูนา :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-01 12:29:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2191996)

1.ถ้าหย่า ดิฉํนสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไร กำหนดอย่างไร พิจารณาจากอะไรบ้าง

ตอบ  มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี
 

2.การหย่าทำให้ดิฉันยากจนลง (ต้องส่งค่าบ้านเอง+เลี้ยงลูกเอง) ดิฉันสามารถเรียกค่าเลี้ยงชีพได้เท่าไรค่ะ เดือนละเท่าไร

ตอบ  เป็นค่าเลี้ยงชีพครับ

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สำหรับการเรียกค่าเลี้ยงชีพนั้นต้องปรากฏว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดทำให้ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพยากจนลงศาลจะกำหนดให้โดยพิจารณาถึงฐานะผู้ให้และผู้รับ คดีนี้ภริยาลาออกจากงานมาช่วยสามีจึงถือว่าภริยามีสิทธิเรียกได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เรียกได้นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาไม่ใช่เรียกได้นับแต่วันฟ้อง และการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมายบอกว่าสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-01 15:30:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล