ReadyPlanet.com


เราสามารถเอาที่ดินคืนมาเหมือนเดิมได้ไหม


รบกวนหน่อยนะค่ะ

 คือว่าปู่ของดิฉันท่านเสียไปแล้วแต่ได้ทำพินัยกรรมไว้ซึ่งในพินัยกรรมได้มอบอำนาจให้อาเป็นผู้จัดการมรดก และให้แบ่งที่ดินออกเป็น3แปลงคือเป็นของดิฉัน พี่สาว แล้วน้องสาว แต่ปู่เพิ่งเสียไปเมื่อปลายปีที่แล้วและตอนนี้น้องสาวของดิฉันก็อายุ18ปี และเมื่อเดือนที่ผ่านอาได้ไปที่ดินเพื่อขอทำรังวัดโดยทำรังวัดทั้งหมดแบ่งเป็น3แปลงเท่าๆกัน แต่มีปัญหาตรงที่ว่าอาแกเอาใบมอบอำนาจและใบไม่ขอรับมรดกมาให้ดิฉันกับพี่สาวเซ็นชื่อ ซึ่งเป็นเอกสารเปล่าที่ยังไม่มีการเขียนข้อความอะไร อาแกบอกว่าจะแบ่งที่ดินเป็น4แปลง อาแกจะเอาด้วย1แปลง ก็เลยให้เซ็น ตอนนั้นแกขึ้นเสียงก็เลยกลัวจึงเซ็นไป แต่ก็คิดว่าน่าจะนำไปใช้ไม่ได้ แต่เมือวานนี้อาไปทำเรื่องขอทำรังวัดใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อที่จะแบ่งที่ดินเป็น4แปลง ดิฉัน พี่สาวและน้องสาวไม่ได้ยินยอมที่จะให้ที่ดิน ดิฉันจะทำอย่างไรได้บ้าง พนักงานจะมาทำรังวัดภายในเดือนตุลานี้  



ผู้ตั้งกระทู้ พี่น้อง :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-08 18:19:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2197072)

ประเด็นแรกเรื่องเอกสาร

เมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจและใบไม่ขอรับมรดก แม้จะเป็นเอกสารเปล่าที่ยังไม่ได้กรอกข้อความก็ตาม ก็ต้องสันนิษฐานว่าคุณลงลายมือชื่อด้วยความสมัครใจ จะอ้างว่าอาขึ้นเสียงก็เลยกลัวจึงเซ็นไปนั้น ถ้าผมเป็นศาล คงฟังไม่ขึ้นหรือไม่น่าเชื่อถือ เพราะพฤติการณ์ไม่มีการขู่บังคับอะไร ไม่มีอาวุธ และไม่ปรากฏว่า ถ้าไม่ลงชื่อในเอกสาร คุณและพี่สาวจะได้รับอันตรายอย่างไร?

เรื่องมรดก

เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมรดกย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิฟ้องผู้จัดการมรดกได้ ส่วนผู้จัดการมรดกจะมีข้อต่อสู้อย่างไรก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาคดี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-18 20:51:51


ความคิดเห็นที่ 2 (2197091)

พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับพิมพ์ดีดไม่ได้
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 เป็นแบบของพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมแต่เพียงผู้เดียวไม่ประสงค์ให้ผู้ใดล่วงรู้ข้อความในพินัยกรรมที่ตนทำขึ้นนั้นตนยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ใด ดังนั้น กฎหมายจึงไม่ต้องการให้มีพยาน เมื่อไม่มีพยานเช่นนี้จึงต้องมีการพิสูจน์เพื่อให้เห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยการเขียนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมดังกล่าวจริงหรือไม่ และตามมาตราดังกล่าวกำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2102/2551(อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-18 21:27:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล