ReadyPlanet.com


สอบถามเกี่ยวกับสินค้าลิขสิทธิ์


ถ้าเราซื้อสินค้าลิขสิทธิ์ เช่น สินค้าดิสนีย์ต่างๆ จากผู้ผลิตที่ได้รับลิขสิทธิ์ให้ผลิตและจำหน่ายได้ หรือซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าตอนลดราคา แล้วนำมาขายต่อในเวบไซต์ของเรา อยากทราบว่าผิดกฎหมายไหมคะ?

หากไม่ผิด การแสดงใบเสร็จที่ซื้อมาหากมีเจ้าหน้าที่มาขอตรวจ เพียงพอหรือไม่คะ?



ผู้ตั้งกระทู้ นิ :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-13 13:59:22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2198846)

สามารถทำได้ครับไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อสินค้าหรือเจ้าของที่ซื้อมา ไม่ใช่สินค้าที่ผลิดโดยลอกเลียนแบบของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่เหมือนกันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-24 21:53:36


ความคิดเห็นที่ 2 (2198850)

 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์

 ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร”


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6380/2553

 พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร     โจทก์
 
 

          การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ต้องเป็นการกระทำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ตามบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

          ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ “เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 5, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 31, 69, 75, 76 ริบของกลาง และให้จ่ายค่าปรับตามคำพิพากษาแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติ นายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นร้านเมมโมรี่คอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดให้ลูกค้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตและเกม โดยมีจำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแล พบข้อมูลเพลงเอ็มพี 3 ซึ่งมีงานเพลงที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์  บันทึกอยู่ในหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง ภายในร้าน  เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า และยึดหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง จอมอนิเตอร์ 1 จอ แผงแป้นอักขระ 1 แผง และเม้าส์ 1 อัน เป็นของกลาง นำส่งเจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินคดี

            มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกแพร่เสียงซ้ำ และจัดให้ประชาชนฟัง โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้าจากบุคคลทั่วไป การกระทำที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ต้องเป็นการกระทำแก่งานลิขสิทธิ์ประเภทงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายความถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกันตามบทนิยามในมาตรา 4 แต่คำฟ้องโจทก์กล่าวเพียงว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับสิ่งบันทึกเสียงเท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวว่าเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเป็นงานแพร่เสียงแพร่ภาพ การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องในส่วนนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้  ส่วนที่โจทก์ฟ้อง จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 บัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” นั้นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายในฟ้องว่า จำเลยนำเพลงซึ่งบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ “เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงออกแพร่เสียง เป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วน ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539  มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อต่อไป  จำเลยกระทำความผิดฐานทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 28 หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์มีนายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย กับสิบตำรวจเอกอนุสรณ์เดินทางไปตรวจสอบที่ร้านพร้อมกับนายสงวนศักดิ์มาเบิกความ ผลการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในร้านพบว่ามีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายบันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานเพลง แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบยืนยัน จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อมูลเพลงของผู้เสียหายโดยนำสิ่งบันทึกเสียงแผ่นซีดีรอมเอ็มพี 3 ซึ่งบันทึกเพลงอันเป็นงานลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง แต่ปรากฏว่าร้านเป็นของนายวุฒินันท์ ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจริงตามฟ้องหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน

( สมควร วิเชียรวรรณ - อร่าม เสนามนตรี - ไมตรี ศรีอรุณ )

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายอภิชาติ เทพหนู

   

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-24 22:00:05


ความคิดเห็นที่ 3 (2200662)

ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 5210/2547 ศาลได้พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยไว้ส่วนหนึ่งว่า
”สำหรับความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหาย โดยการให้นักร้องประจำร้านอาหารของจำเลยขับร้องให้ลูกค้าฟังนั้น สิทธิผูกขาดที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยนั้น อยู่ภายใต้ประโยชน์ที่สาธารณะได้รับจากการสร้างสรรค์ของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ สิทธิผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งมีขึ้นเพื่อจำกัดการเข้าถึงงานลิขสิทธิ์นั้นจึงถูกคานหรือดุลโดยหลักการเข้าถึงซึ่งงานลิขสิทธิ์อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่1 ส่วนที่6 ได้บัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เรียกว่าการใช้อย่างเป็นธรรม (Fair Use) ไว้ในมาตรา32 ถึงมาตรา43 เพื่อให้ใช้ในการคานหรือดุลระหว่างสิทธิผูกขาดของเจ้าของสิทธิกับ สิทธิสาธารณะข้างต้น การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ให้มีความสมดุลและให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลนั้น ต้องมีการชั่งระหว่างประโยชน์ของเจ้าของสิทธิและประโยชน์ของสาธารณะเสมอ และไม่สามารถปรับใช้กฎหมายโดยคำนึงแต่เพียงด้านของประโยชน์เจ้าของสิทธิฝ่ายเดียว การใช้กฎหมายโดยยึดเพียงประโยชน์ของเจ้าของสิทธิฝ่ายเดียวย่อมมีผลเป็นการกันไม่ให้สาธารณเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ อันเป็นการกระทบต่อความสมดุลของระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชนโดยตรง ดังนั้น ในประเด็นของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกฎหมายลิขสิทธิ์ในคดีนี้ แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควร ก็สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา15 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา26
การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟังเพลงที่มีผู้แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง และมีความชื่นชมในคุณค่าของงานดนตรีกรรมนั้น จนแสดงความชื่นชอบหรือการเข้าใจคุณค่าของงานนั้นโดยการนำมาร้องหรือบรรเลงให้ปรากฏขึ้นมาเป็นเพลง ถือเป็นการกระทำโดยทั่วไปของมนุษย์ที่สามารถเข้าใจและชื่นชมงานลิขสิทธิ์ได้ และเป็นประโยชน์สาธารณะพื้นฐานที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาต้องรักษาไว้ โดยต้องคานให้สมดุลกับการรักษาสิทธิผูกขาดของผู้เสียหายที่อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ประกอบกับรายงานการสืบเสาะและพินิจรับฟังเป็นข้อยุติว่า ร้านอาหารของจำเลยเป็นร้านอาหารทั่วไปและข้อเท็จจริงในคำฟ้องปรากฏว่า มีผู้ร้องเพลงของผู้เสียหายเพียงหนึ่งเพลงคือเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในขณะที่ผู้เสียหายเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมดังกล่าว ดังนี้วัตถุประสงค์และลักษณะของการแสวงหาประโยชน์ของจำเลยซึ่งจัดให้มีการร้องเพลงของผู้เสียหายหนึ่งเพลงนั้น น่าจะเป็นไปเพื่อความบันเทิงของลูกค้าในร้านอาหารเท่านั้น ในขณะที่การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนั้น ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้มีการแสวงหาประโยชน์ที่ซ้ำกันหรืออยู่กลุ่มธุรกิจเดียวกันกับจำเลยโดยตรง ส่วนผลกระทบไม่ว่าในด้านของการตลาดหรือคุณค่าของลิขสิทธิ์นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยจัดให้มีการร้องเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในวันเกิดเหตุตามคำฟ้อง สามารถส่งผลกระทบสิทธิของผู้เสียหายจนเกินสมควร ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการร้องเพลงในร้านอาหารตามคำฟ้องขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติและกระทบถึงสิทธิของเจ้าของสิทธิเกินสมควรแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา32 วรรคหนึ่ง”

...และก็โปรแกรม nick karaoke ไม่เข้ากฎหมาย วีดีทัศน์....
นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
-------------------------------------------------------------------------
ชี้แจงว่า “จากที่พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมานั้น ในขณะนี้กฎกระทรวงหรืออนุบัญญัติตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวี ดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียดเพื่อประกาศใช้ ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป ดังนั้นในขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างพ.ร.บ.ฉบับเก่าและฉบับใหม่ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อสงสัยในทางปฏิบัติ จึงขอชี้แจงแนวทางในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ผู้ประกอบกิจการ 4 ประเภท ที่ต้องมาขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ได้แก่
1. ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์
2.ประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์
3.ประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ และ
4.ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยในเบื้องต้นหากผู้ประกอบการใดใบอนุญาตเดิมหมดอายุ กระทรวงวัฒนธรรมจะออก “ใบรับ” ให้ก่อนถือเป็นช่วงของการผ่อนผัน ซึ่งเมื่อกฎกระทรวงประกาศใช้แล้วก็สามารถออก “ใบอนุญาต” ให้ได้ทันที แต่ หากไม่มายื่นขออนุญาตก็จะถูกจับดำเนินคดีในฐานประกอบกิจการให้เช่าแลก เปลี่ยนและจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่มีใบอนุญาตตามมาตรา 38 มีความผิดและโทษตามมาตรา 79 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ (หนัง/สารคดี/การ์ตูน ฯลฯ) หรือวีดิทัศน์ (เกม/คาราโอเกะ) ที่นำไปฉาย ให้เช่า หรือขายตามร้าน แผงลอย และบูทต่างๆ ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แล้ว โดยถ้าเป็นแผ่นวีซีดี ดีวีดี สังเกตได้ง่ายต้องมีสติ๊กเกอร์เป็นเครื่องหมายรูปวงรีพร้อมหมายเลขรหัสกท. ติดอยู่ที่ปกหรือกล่องชัดเจน หากไม่มีสติ๊กเกอร์ หรือมีแต่เป็นการถ่ายซีร็อก ก็ถือว่าเป็นของปลอม ผู้ ขายจะมีความผิดฐานนำภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาไปฉายหรือขาย ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 78 คือ ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท แต่ถ้าขาย/ฉายวีดิทัศน์ทีไม่ผ่านการตรวจพิจารณาจะผิดตามมาตรา 47 มีโทษตามมาตรา 81 คือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
.....ยกเว้น ร้าน หรือแผงลอยที่ขายแต่เทปหรือแผ่นซีดีเพลงที่มีแต่เสียงร้อง รวมถึงตู้เพลงแบบหยอดเหรียญ และคาราโอเกะ แบบที่มีแต่ตัวหนังสือกับเสียงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่มีภาพประกอบ ไม่ต้องขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากไม่อยู่ในความควบคุม… 
 
 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-07-29 19:26:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล