ReadyPlanet.com


เกี่ยวกับบุตรคับ


ในบันทึกการหย่า (คร.6)
ข้อ 5 มีใจความว่า"ให้ฝ่ายหญิงมีอำนาจปกครองบุตร

ต้องการแก้ไขในบันทึกการหย่า  (คร.6) เป็นฝ่ายชายปกครองบุตรต้องทำอย่างไรคับ



ผู้ตั้งกระทู้ คนท้องถิ่น (kid-dot-6480-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-22 16:14:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2204745)

ต้องฟ้องขอถอนอำนาจปกครองเท่านั้น และต้องมีเหตุที่ศาลจะอนุญาตด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-10 22:00:22


ความคิดเห็นที่ 2 (2204764)

ถอนอำนาจปกครองตามบันทึกการหย่า(คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4681/2552)
สามีภิริยากันต่อมาจดทะเบียนหย่ากันโดยบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของภริยาแต่ผู้เดียว ให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 60,000 บาท สามีเคยนำเงินฝากเข้าบัญชีของภริยาเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นเงิน 500,000 บาท แต่ภริยาก็ถอนเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจนหมด พฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปไม่สมควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกต่อไป ขอให้ถอนอำนาจปกครอง และแต่งตั้งสามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองกับทั้งให้มีอำนาจหากศาลมีคำสั่งให้สามีเป็นฝ่ายออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูต่อไปเช่นเดิม ขอให้มีคำสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเหลือเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในระหว่างเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมคนละเดือนละ 10,000 บาท ในระดับชั้นมัธยมศึกษาคนละเดือนละ 15,000 บาท ในระดับชั้นอุดมศึกษาคนละเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น  ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน  ฎีกาของภริยาว่าที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองชอบแล้วหรือไม่ เห็นว่า ศาลมีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้เมื่อพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมานั้น จึงเหมาะสมแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-10 22:57:12


ความคิดเห็นที่ 3 (2204767)

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วม
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2971/2544

          บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เดือนละ11,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2537 จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

          จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์และให้จำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายทันตพลเวชวงศ์วาน ผู้เยาว์ให้แก่โจทก์นับถึงวันฟ้องเป็นจำนวน 80,000 บาท และต่อไปให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (8 กุมภาพันธ์ 2539) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 8 กุมภาพันธ์2539) จนกว่าเด็กชายทันตพล เวชวงศ์วาน ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์และจำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2533 มีบุตร 1 คนคือ เด็กชายทันตพล  ผู้เยาว์ ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ล.3 คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นแรกตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์หรือไม่ เห็นว่า ภาระหน้าที่สำคัญของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ได้แก่หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 และภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่าตราบใดที่จำเลยยังมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้เป็นที่ยุติแล้วว่า ตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่า ให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนที่มาตรา 1522 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเงินเท่าใด" นั้น ก็มีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดหากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนด" ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังที่จำเลยฎีกาโต้แย้งแต่อย่างใดไม่ เมื่อพิเคราะห์ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ล.3 ในข้อ 3ที่ว่า "คู่หย่าทั้งสองฝ่ายสาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกันมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ทันตพล  อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" แล้วเห็นว่า ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย ล.3 แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสารดังกล่าวตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยเช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2523 ที่จำเลยยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ให้แก่โจทก์นั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งเป็นปีที่โจทก์อ้างว่า จำเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน80,000 บาท นอกเหนือจากค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันฟ้องเดือนละ5,000 บาท จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้หรือไม่ ข้อนี้ เห็นว่าเมื่อได้วินิจฉัยไว้ในประเด็นแรกแล้วว่า หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ เป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของจำเลยผู้เป็นบิดา ซึ่งมิได้สิ้นสุดลงหลังการจดทะเบียนหย่า แม้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย ล.3 มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็ย่อมกำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้ ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่กำหนดให้ตามสมควรเป็นเงิน 80,000 บาท เพราะทั้งโจทก์จำเลยต่างก็มีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง แต่จำเลยมีอาชีพเป็นทันตแพทย์ ย่อมมีรายได้ดีกว่าโจทก์ที่มีอาชีพเป็นเภสัชกร ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อีก 80,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้นไม่ชอบ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

( วิชา มหาคุณ - ชวลิต ศรีสง่า - สุเมธ ตังคจิวางกูร )

    มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกัน ไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของ บิดามารดาอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-10 23:33:42


ความคิดเห็นที่ 4 (2204774)

การถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2544)

บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระบุให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผุ้เดียว ต่อมามารดาได้ถึงแก่ความตายอำนาจปกครองของมารดานั้นย่อมกลับมาอยู่กับบิดาชอบด้วยกฎหมายแม้บุตรผู้เยาว์จะพักอยู่กับน้าสาวก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่า พฤติการณ์ที่บิดาของผู้เยาว์ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติด และไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โดยให้อยู่ในความดูแลของน้าสาว กรณีถือได้ว่า บิดาของผู้เยาว์ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้ถอนอำนาจปกครองบิดาผู้เยาว์และเมื่อผู้เยาว์ไม่มีผู้ใช้อำนาจปกครองเนื่องจากมารดาถึงแก่ความตายและบิดาถูกถอนอำนาจปกครองประกอบกับผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของน้าสาวตลอดมา การตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-11 00:05:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล