ReadyPlanet.com


ปัญหาการครอบครองที่ดิน


       ที่ดินซึ่งชาวบ้านได้บุกร้างป่าทำไร่มากว่า 10 ปี ต่อมาทางการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ปี 2529 ต่อจากนั้นทหาร โดยกองทัพบก ขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ 30 ปี และมอบให้ราษฏร์อาสาช่วยรบเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซึ่งกำหนดให้เฉพาตัวรอส.ห้ามมิให้ซื้อขาย หรือโอนสิทธิให้บุคคลอื่น ในเวลาต่อมารอส.ได้ทำการขายให้บุคคลอื่นซึ่งผิดสัญญาและเงื่อนไขกับทหาร และในปัจจุบันนี้การขอใช้พื้นที่ดังกล่าวครบกำหนดที่กองทัพ ที่ได้ขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้แล้ว แต่ยังมิได้ส่งคืนให้ เนื่องจากสภาพพื้นที่เกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนรีสอร์ท บ้านพัก และสวนเกษตรไปหมดแล้ว  จึงมีปัญหาที่จะรบกวนถามท่านทนายดังนี้ครับ

       1.ในปัจจุบันการขอใช้พื้นที่ของทหารสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังมิได้ส่งมอบคืนกรมป่าไม้ อำนาจในการดูแล ในชั้นส่งเรื่องให้ชั้นสอบสวน/ให้อัยการส่งฟ้อง จะเป็นของทหาร หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้

        2.คดีส่งฟ้องไปแล้วหลายคดี สรุปในคำฟ้องว่ามีความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (บุกรุก ก่อสร้าง แผ้วถางป่า ทำให้ป่าเสื่อมโทรม) โดยข้อเท็จจริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวจำเลยได้ซื้อและครอบครองสิทธิต่อมาจากรอส.ซึ่งได้ทำไร่ข้าว ข้าวโพด มานับ 10 ปีแล้ว และไม่มีต้นไม้เลยแม้แต่ต้นเดียว  จำเลย ที่มีประเด็น หรือแนวทางการต่อสู้อย่างไร ที่ท่านพอจะช่วยชี้แนะนำได้บ้างครับ

         3.บางคดีที่ถูกฟ้อง/ศาลพิพากษาแล้ว จำเลยรับสารภาพ เนื่องจากสำคัญผิดว่าคดีจะได้จบเร็ว และได้รับการลดโทษ จะอุธรณ์ได้หรือไม่ครับ (จำเลยรับสารภาพในชั้นต้นแล้ว)

         ขอขอบพระคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ คนบนดอย :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-22 07:07:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2204741)

1.ในปัจจุบันการขอใช้พื้นที่ของทหารสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังมิได้ส่งมอบคืนกรมป่าไม้ อำนาจในการดูแล ในชั้นส่งเรื่องให้ชั้นสอบสวน/ให้อัยการส่งฟ้อง จะเป็นของทหาร หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้

ตอบ  อำนาจในการดูแล ก็อยู่ในการกำกับดูแลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ มาโดยตลอด แม้ทหารขอใช้พื้นที่ก็ตาม

จำเลย ที่มีประเด็น หรือแนวทางการต่อสู้อย่างไร ที่ท่านพอจะช่วยชี้แนะนำได้บ้างครับ

ตอบ  ไม่มีหรอกครับ เป็นที่ดินของรัฐตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ จะมีต้นไม้หรือไม่ก็ไม่ทำให้เขตป่าสงวนเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่

มาตรา 16 ทวิ ในกรณีที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดหรือบางส่วนมีสภาพเป็นป่าไร่ร้างเก่า หรือทุ่งหญ้า หรือเป็นป่าที่ไม่มีไม้มีค่าขึ้นอยู่เลย หรือมีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นคืนดีตามธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยมีสภาพตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเสื่อมโทรม
ถ้าทางราชการมีความจำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดเขตป่าเสื่อมโทรมทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ
ในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ ถ้าบุคคลใดได้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตดังกล่าวอยู่แล้วจนถึงวันที่ประกาศกำหนดตามวรรคสอง
(1) เมื่อบุคคลดังกล่าวร้องขอ และอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเห็นว่าบุคคลนั้นยังมีความจำเป็นเพื่อการครองชีพ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลดังกล่าวทำประโยชน์และอยู่อาศัยต่อไปในที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้วนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินยี่สิบไร่ต่อหนึ่งครอบครัว และมีกำหนดเวลาคราวละไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่เกินสามสิบปี ทั้งนี้ โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับคราวแรก คราวต่อ ๆ ไปต้องเสียค่าธรรมเนียม
(2) บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตตาม (1) อาจขออนุญาตปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นในที่ที่ตนเคยทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยพิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีความสามารถ และมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะปลูกป่า หรือไม้ยืนต้นตามที่ขอเพิ่มนั้นได้ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือให้ปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบห้าไร่ต่อหนึ่งครอบครัว และมีกำหนดเวลาคราวละไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่เกินสามสิบปี และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดไว้
การได้รับอนุญาตตามวรรคสาม มิให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ให้บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตตามวรรคสาม (1) และ (2) ได้รับยกเว้นค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า สำหรับไม้ที่ได้ปลูกขึ้นภายในที่ดินที่ได้รับอนุญาต
บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตต้องใช้ประโยชน์ในที่ดินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในระเบียบที่อธิบดีกำหนด และจะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมิได้
ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตละทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับอนุญาตติดต่อกันเกินระยะเวลาสองปี หรือยินยอมให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในระเบียบที่อธิบดีกำหนด ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพิกถอนการอนุญาตนั้น

3.บางคดีที่ถูกฟ้อง/ศาลพิพากษาแล้ว จำเลยรับสารภาพ เนื่องจากสำคัญผิดว่าคดีจะได้จบเร็ว และได้รับการลดโทษ จะอุธรณ์ได้หรือไม่ครับ (จำเลยรับสารภาพในชั้นต้นแล้ว)

ตอบ  อุทธรณ์ได้ ในกรณีขอให้ลงโทษสถานเบา แต่จะต่อสู้ข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะขัดต่อคำให้การที่ให้ไว้ต่อศาลว่ารับสารภาพตามฟ้องโจทก์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-10 21:56:16



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล